Tel : 0-2680-5800

ชื่อสายไฟแต่ละชนิดมีที่มาอย่างไร?

ชื่อสายไฟฟ้า สายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ (1)

ทราบกันหรือไม่คะว่าชื่อรหัสของชนิดสายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่ช่างไฟฟ้าใช้ในการติดตั้งนั้น ยกตัวอย่างเช่น สาย THW, NYY, VCT, VAF นั้น ตัวอักษรภาษาอังกฤษเหล่านี้นั้นมีความหมาย  เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าและสายเคเบิล คุณภาพสูง มาตรฐานระดับโลก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องสายไฟฟ้ามาอย่างยาวนาน ทีมวิศวกรคุณภาพของเรา จึงขอนำข้อมูลที่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบ และ เคยสงสัยว่าชื่อชนิดสายไฟฟ้าที่เราใช้เรียกกันอยู่นั้น มันมีความหมายหรือไม่ ?

ชื่อสายไฟฟ้าแรงดันต่ำแต่ละชนิดที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปนั้นมีที่มาจากหลากหลายแหล่ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นชื่อรหัสชนิดสายไฟฟ้าที่รับเอามาจากต่างประเทศแทบทั้งหมด ตัวอย่างเช่น สาย THW, NYY, VCT, CV เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะแรกที่ประเทศไทยเริ่มมีการผลิตสายไฟฟ้าใช้เองภายในประเทศนั้น ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสายไฟฟ้าออกมาเป็นมาตรฐานอ้างอิง ดังนั้นในช่วงแรกสายไฟฟ้าจึงผลิตตามมาตรฐานของต่างประเทศและใช้ชื่อเรียกสายไฟฟ้าตามต่างประเทศไปด้วย

ต่อมาเมื่อเศรฐกิจประเทศพัฒนาเติบโตขึ้นมีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมจากต่างประเทศอย่างมาก จึงมีการรับเอาสายไฟฟ้าชนิดต่างๆเข้ามาหลากหลายชนิดจากต่างประเทศ โดยเป็นการใช้สายไฟฟ้าตามประเทศที่เข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม หรือตามประเทศที่ผลิตเครื่องจักรที่นำเข้ามา ซึ่งประเทศต่างๆเหล่านี้ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมัน เป็นต้น

ดังนั้นชื่อเรียกสายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่มีชื่อรหัสชนิดเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ และใช้เรียกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย จึงมักจะมีที่มาจากประเทศต่างๆเหล่านี้ แม้ในภายหลังจะมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงมาเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หรือมีการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดบางส่วนไปจากเดิม แต่สายไฟฟ้าหลายชนิดก็ยังคงใช้ชื่อเรียกเดิมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนปัจจุบัน หากนำสายไฟฟ้าชื่อเดียวกันของไทยมาเปรียบเทียบกับสายชื่อเดียวกันของต่างประเทศ จะพบว่าสายอาจมีโครงสร้างคล้ายคลึงกันอยู่ แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดบางประการ เช่น พิกัดแรงดันไฟฟ้า หรือพิกัดอุณหภูมิใช้งานไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะมาตรฐานสายไฟฟ้าของต่างประเทศเองก็มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปจากเดิมเช่นกัน

นอกจากนี้ ชื่อสายบางชนิดเป็นชื่อที่เรียกกันในท้องตลาดจนเป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนาน แต่ไม่ได้เป็นชื่อสายที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน มอก. อย่างเป็นทางการ ตัวอย่างเช่น สาย THW ซึ่งแม้ว่าภายหลังจะมีการกำหนดชื่อใหม่อย่างเป็นทางการใน มอก.11-2553 ว่าสาย 60227 IEC 01 แต่ในท้องตลาดก็ยังคงนิยมเรียกชื่อสายอย่างไม่เป็นทางการว่า THW เช่นเดิม

ทั้งนี้เฟ้ลปส์ ดอด์จ ได้นำข้อมูลสายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่นิยมใช้ติดตั้งในประเทศไทยมาฝาก เพื่อให้เป็นความรู้กันดังต่อไปนี้

  1. ความหมายของชื่อสาย
  2. ประเทศที่รับเอาชื่อสายมาใช้
  3. ชื่อสายอย่างเป็นทางการตามมาตรฐาน มอก.
  4. มาตรฐานอ้างอิงสำหรับประเทศไทย

แสดงตารางความหมายชื่อของสายไฟฟ้า
THW, NYY, VCT, VAF

แสดงภาพโครงสร้างสายไฟ THW และ NYY

แสดงภาพโครงสร้างสายไฟ VCT และ VAF

สำหรับข้อมูลสายไฟฟ้า Phelps Dodge สามารถเข้าชมได้ที่นี่

https://www.pdcable.com/product-household/


เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต

#สายไฟที่ดีที่สุดต้องเฟ้ลปส์ดอด์จ

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

#PhelpsDodge #ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสายไฟ
#สายไฟคุณภาพสูง #สายไฟที่ดีที่สุด
#มาตรฐานความปลอดภัย
#ระดับโลก #WorldClass #Safety
#Lifeline #ทุกสายคือชีวิต #ชื่อเรียกสายไฟฟ้า
#THW #NYY #VCT #VAF

ลอยกระทงเมื่อไหร่ เรื่องสายไฟ ต้องปลอดภัยไว้ก่อน

เมื่อเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน หนึ่งในเทศกาลรื่นเริงที่เป็นที่นิยมของเมืองไทย นั่นก็คือ วันลอยกระทง  โดยส่วนใหญ่กิจกรรมที่จะต้องมีการจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนานภายในงานนี้ เช่น การประดับประดาด้วยไฟประดับ หลากหลายสีสัน , การปล่อยโคมลอยในบางพื้นที่ เป็นต้น  นอกจากการจัดกิจกรรมที่สนุกสนาน ความรื่นเริงและความบันเทิง จากแสงและสีของไฟที่ประดับประดายามค่ำคืน และความสวยงามของประเพณีไทยแล้ว  สิ่งสำคัญในการเที่ยวชมพระจันทร์และงานเทศกาลของวันนี้ก็คือ การระวังและป้องกันภัยที่อาจจะเกิดจากไฟฟ้า และอัคคีภัยค่ะ 

และรู้หรือไม่คะ ?  ในการปล่อยโคมลอยตามเทศกาล  หากโคมลอยไปติดสายไฟฟ้าแรงดันสูง อาจจะทำให้หม้อแปลงระเบิดส่งผลให้ไฟฟ้าดับในวงกว้างและเป็นอัตรายได้

ดังนั้น ควรปล่อยโคมลอยในสถานที่โล่งไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ และปล่อยในช่วงเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น นอกจากนี้ก็ยังต้องระมัดระวังอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือ ไฟดูด ด้วยนะคะ เนื่องจากในหลายพื้นที่ กิจกรรมจะถูกจัดขึ้นมีสายไฟเข้ามาเกี่ยวข้อง และ ใกล้แหล่งน้ำค่ะ

วันนี้ เฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงขอนำ ข้อปฏิบัติและการระวังภัยเกี่ยวกับสายไฟฟ้า ช่วงเทศกาลลอยกระทงมาฝากค่ะ

#การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า 

1.เมื่อเดินสายไฟแสงสว่าง และ #ไฟประดับตกแต่งชั่วคราวภายนอกอาคาร ควรเลือกใช้ #สายที่มีเปลือกหุ้มชั้นนอก เช่นสาย 60227 IEC 52, 60227 IEC 53, 60227 IEC 10 หรือสาย VCT เนื่องจากสายไฟที่มีฉนวนชั้นเดียวมีโอกาสชำรุดเสียหายได้ง่ายเมื่อติดตั้งภายนอกโดยไม่มีการป้องกันทางกายภาพใดๆ

2.ต้องคำนวนกระแสไฟที่ใช้ในวงจร และเลือกขนาดอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน และเลือกขนาดสายไฟฟ้าให้เหมาะสม

3.จุดต่อสายไฟฟ้าต้องทำด้วยความระมัดระวัง โดยต้องมีความคงทนแข็งแรง สามารถป้องกันน้ำเข้า และป้องกันไฟรั่ว หรือบุคคลสัมผัสได้

4.ตรวจสอบสภาพสายและจุดเชื่อมต่อสายก่อนนำไปติดตั้งใช้งาน

5.หลีกเลี่ยงไม่ให้จุดต่อสายไฟฟ้าสัมผัสน้ำหรือแช่ในน้💦

6.หลีกเลี่ยงการวางสายบนพื้นถนน หรือบริเวณทางคนเดินผ่าน หรือทางรถวิ่งผ่าน ซึ่งสายอาจถูกเหยียบย่ำ หรือถูกกดทับเสียหาย ควรต่อสายจากวงจรที่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินและป้องกันไฟดูด

#ระมัดระวังเมื่อเดินเที่ยวชมงาน 🔌

1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสายไฟฟ้า หลอดไฟ โคมไฟ หรือป้ายไฟ โดยตรง

2.ไม่เข้าใกล้บริเวณที่มีสายไฟฟ้า ดวงโคม หรือป้ายไฟเมื่อฝนตกหรือมีน้ำท่วมขัง

3.ไม่จุดพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟใกล้แนวสายไฟฟ้า

4.ห้ามปล่อยโคมลอยใกล้แนวสายไฟฟ้า

5.แจ้งผู้เกี่ยวข้องหากพบเห็นสายไฟฟ้าชำรุด

📞แจ้งเหตุเกี่ยวกับสายไฟฟ้า 1130 กฟน.,1129 กฟภ.
📞 แจ้งไฟไหม้-ดับเพลิง 199🔥


มั่นใจ ปลอดภัย ติดตั้งด้วยงานคุณภาพ ต้องสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ
#สายไฟที่ช่างมืออาชีพทุกคนเลือกใช้

พบตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ

Phelps Dodge Life Line ทุกสายคือชีวิต
มั่นใจ ปลอดภัย ต้องสายไฟเฟ้ลปส์ ดอด์จ
#ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุ

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

#PhelpsDodge #ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสายไฟ
#สายไฟคุณภาพสูง #สายไฟที่ดีที่สุด
#มาตรฐานความปลอดภัย
#ระดับโลก #WorldClass #SafetyFirst
#Lifeline #ทุกสายคือชีวิต #สายไฟฟ้า
#วันลอยกระทง62 #ลอยกระทง #สายVCT
#ระวังภัยลอยกระทง

คุณสมบัติสายไฟใต้ดิน สำหรับการติดตั้ง

สายไฟใต้ดิน

เมื่อสภาพภูมิอากาศช่วงนี้ไม่เป็นใจ ฝนตกหนัก สภาวะแวดล้อม มีความชื้น และ น้ำท่วม เคยสงสัยกันไหมว่า สายไฟฟ้าที่อยู่ใต้ดินนั้น จะทนสภาวะแวดล้อมแบบนี้ได้อย่างไรกัน

เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงดันสูงนั้นส่วนใหญ่แล้วเราจะพบเห็นในลักษณะที่ติดตั้งอยู่บนเสาไฟฟ้า แต่รู้ไหมว่ายังมี สายไฟฟ้าแรงดันสูงชนิดที่ติดตั้งโดยฝังไว้ใต้ดิน อีกด้วย ซึ่งสายไฟฟ้าสำหรับติดตั้งใต้ดินนั้น จำเป็นต้องมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพความปลอดภัยสูงสุดเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด โดยเฉพาะมาตรฐาน IEC ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันทั่วโลก

โดยสายไฟฟ้า ที่ใช้สำหรับติดตั้งใต้ดิน มี 3 ประเภทคือ

1. สายไฟฟ้าแรงดันสูง คือ สายไฟฟ้าที่ใช้กับระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า 69kV หรือ 115kV
2. สายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง คือ สายไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 1kV ถึง 36kV เช่น แรงดันไฟฟ้า 24kV (การไฟฟ้านครหลวง) และ 22kV หรือ 33kV (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
3. สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ คือ สายไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 1kV

เนื่องจากการนำสายไฟฟ้าติดตั้งใต้ดินนั้น ต้องใช้สายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติที่ต่างกับสายไฟฟ้าที่ติดตั้งบนอากาศ เพื่อให้ทนน้ำและทนความชื้นได้ โดยโครงสร้างของสายไฟฟ้า หรือสายเคเบิลใต้ดิน มีดังต่อไปนี้

1) Conductor (ตัวนำ) ทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้า ทำจากอะลูมิเนียมหรือทองแดง ซึ่งในประเทศไทย จะใช้ตัวนำชนิดทองแดงเป็นหลัก โดยมีหลายลักษณะดังนี้

1.1) Compact Strand Conductor (ตัวนำอัดแน่น) ใช้เป็นตัวนำของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนทั่วๆไปโดยการนำตัวนำตีเกลียว มาบีบอัดให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง เมื่อนำไปใช้ในสายหุ้มฉนวนทำให้ลดความเครียดสนามไฟฟ้า และจะช่วยลดวัสดุที่นำมาหุ้มได้

1.2) Milliken Conductor ใช้ในสายไฟฟ้า หรือสายเคเบิลใต้ดินขนาดใหญ่ที่มีขนาดตัวนำตั้งแต่ 1,000 ตารางมิลลิเมตรขึ้นไป โดยแต่ละ Segment จะประกอบด้วยตัวนำตีเกลียวแล้วอัดให้เป็นรูป Segment โดยแต่ละ Segment จะคั่นด้วยฉนวนบาง ข้อดีของตัวนำชนิดนี้ก็คือมี AC Resistance ต่ำ เนื่องจาก Wire ในแต่ละ Segment มีการ Transpose เข้าออกระหว่างส่วนนอกและส่วนในของตัวนำ ทำให้ Skin Effect Factor ต่ำ ทำให้ตัวนำชนิดนี้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงกว่าตัวนำอัดแน่นแน่นซึ่ง สายไฟฟ้า เฟ้ลปส์ ดอด์จ PhelpsDodge เป็นผู้ผลิตสายไฟฟ้าของไทยรายแรกและรายเดียวในขณะนี้ที่ผลิตตัวนำชนิด Milliken ใช้ในสายไฟฟ้าแรงดันสูงสำหรับติดตั้งใต้ดิน

2) Conductor Screen ทำจากวัสดุกึ่งตัวนำ (Semi-conducting) หุ้มบนตัวนำ ทำหน้าที่กระจายความเครียดสนามไฟฟ้า และผิวสัมผัสของตัวนำกับฉนวนเรียบไม่มีช่องว่างที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงตกคร่อมซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิด Partial Discharge

3) Insulation (ฉนวน) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสายไฟฟ้า หรือสายเคเบิลใต้ดินมีหน้าที่กันไม่ให้กระแสไฟฟ้าเกิดการรั่วไหลหรือลัดวงจรจนเกิดการสูญเสียต่อระบบไฟฟ้า และอาจเกิดอันตรายต่อบุคคลที่ไปสัมผัสสายไฟฟ้าได้ ฉนวนของสายไฟฟ้าที่นิยมใช้ในสายไฟฟ้าใต้ดินคือฉนวนชนิดครอสลิงกด์พอลิเอธิลีน (XLPE) ซึ่งสามารถทนอุณหภูมิใช้งานของตัวนำได้สูงสุดถึง 90 องศาเซลเซียส ส่วนฉนวนชนิดพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) จะใช้กับสายไฟฟ้าแรงดันต่ำเท่านั้น

4) Insulation Screen ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ Conductor Screen คือทำหน้าที่กระจายความเครียดสนามไฟฟ้า และลดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมบริเวณผิวสัมผัสของ Insulation และ Metallic Screen วัสดุที่ใช้ทำ Insulation Screen จะเหมือนกับ Conductor Screen คือวัสดุกึ่งตัวนำ

5) Metallic Screen ทำหน้าที่เป็น Ground สำหรับสายไฟฟ้าแรงสูงและเป็นทางให้กระแสไฟฟ้าไหลกลับในกรณีที่เกิดการลัดวงจร บางครั้ง Metallic ยังทำหน้าที่เป็น Mechanical Protection หรือทำหน้าที่เป็นชั้นกันน้ำในกรณีของสายไฟฟ้าหรือสายเคเบิลใต้น้ำ (Submarine Cable) อาจเป็น Tape หรือ Wire ทำด้วยทองแดงหรืออะลูมิเนียมหรืออาจจะเป็น Lead Sheath (ปลอกตะกั่ว) หรือ Corrugate Aluminium Sheath (ปลอกอะลูมิเนียมลูกฟูก)

6) Water Blocking Tape เป็นชั้นที่เสริมขึ้นมาในกรณีของสายไฟฟ้าหรือสายเคเบิลใต้ดินแรงสูงที่ใช้ในบริเวณที่ชื้นแฉะเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าไปตามแนวสายสายไฟฟ้าหรือเคเบิลในกรณีที่ Jacket ของสายไฟฟ้าหรือสายเคเบิล มีการชำรุดจากการลากสายทำให้ส่วนที่เป็นฉนวนสัมผัสกับน้ำเป็นระยะทางยาว สายไฟฟ้าและสายเคเบิลจึงมีโอกาสชำรุดสูง Water Blocking Tape นี้ทำจากสารสังเคราะห์และมี Swellable Powder (สารที่ดูดซึมน้ำเข้าไปแล้วขยายตัวมีลักษณะเป็นผงคล้ายแป้ง) โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่างชั้น Insulation Screen กับ Jacket

7) Laminated Sheath เป็นชั้นกันน้ำตามแนวขวางในสายไฟฟ้าหรือสายเคเบิลแรงสูงมีลักษณะเป็นเทปโลหะหุ้มด้วย Plastic ทั้งสองหน้าจากนั้นนำมาห่อรอบ Ground Screen โดย Plastic ที่ผิวนอกและผิวในของเทปจะถูกละลายให้ติดกันเป็นเนื้อเดียวทำให้สามารถป้องกันไม่ให้โมเลกุลของน้าแพร่ผ่านเข้าไปยังฉนวนของสายไฟฟ้าได้

9) Non Metallic Sheath หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Jacket ทำหน้าที่ป้องกันแรงกระแทกเสียดสีต่างๆขณะติดตั้งสายไฟฟ้าหรือสายเคเบิล และป้องกันน้ำเข้าสู่ชั้นฉนวนของสายไฟฟ้าวัสดุที่ใช้ทำเป็น Jacket คือ พอลิเอธิลีน (PE) หรือ พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ซึ่งสายไฟฟ้าที่ติดตั้งใต้ดินส่วนมากจะเลือกใช้ Jacket ชนิด PE ซึ่งมีคุณสมบัติการกันน้ำได้ดีกว่า PVC

โครงสร้างสายไฟใต้ดินของเฟ้ลปส์ ดอด์จ

1. Low Voltage Cable

สายไฟฟ้า

โครงสร้างสายไฟใต้ดินของเฟ้ลปส์ ดอด์จ

2. Medium Voltage Cable

สายไฟฟ้า

โครงสร้างสายไฟใต้ดินของเฟ้ลปส์ ดอด์จ

3. High Voltage Cable

สายไฟ สายไฟฟ้า

สำหรับ ลูกค้าท่านใดที่กำลังมีงานprojectติดตั้งสายไฟใต้ดิน สามารถสอบถามรายละเอียด เพื่อให้ทีมวิศวกรจากเฟ้ลปส์ ดอดจ์ ดูแลและให้คำปรึกษา

โดยสามารถลงรายละเอียดไว้ได้ที่ http://www.pdcable.com/register-online/ 

หรือ Line OA : @phelpsdodge_th
เพราะเรื่องของสายไฟไม่ใช่อะไรก็ได้ มั่นใจ ปลอดภัย


เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต
Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line: @phelpsdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Catalog    Price List 

High Voltage Cable 

Medium Voltage Cable 

Building Wire and Bare Conductor

Low voltage Power and Control Cables

การติดตั้งสายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับเป็นสายเมน (สายประธาน) ภายในโรงงาน

การติดตั้งสายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับเป็นสายเมน (สายประธาน) ภายในโรงงาน เป็นสิ่งสำคัญ

เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยภายในโรงงานมาเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้กระบวนการผลิตในทุกๆ ขั้นตอนมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุดต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพิจารณาเลือกใช้สายไฟฟ้าภายในโรงงานให้ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามค่ะ

สายเมน (สายประธาน) คือสายไฟฟ้าที่เดินจากมิเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาที่แผงเมนสวิตช์ (ตู้เมนไฟฟ้าหรือตู้ MDB) ของโรงงานนั่นเอง โดย…

  1. สายเมนต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับโหลดทั้งหมดได้
  2. สายเมนที่จ่ายไฟฟ้าให้กับอาคารหลังหนึ่งๆ หรือผู้ใช้ไฟฟ้ารายหนึ่งต้องมีชุดเดียว
  3. อาจเป็นสายเมนเข้าอาคารระบบสายอากาศ หรือสายเมนเข้าอาคารระบบสายใต้ดินก็ได้
  4. ควรเลือกใช้สายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับลักษณะการติดตั้งตามมาตรฐานการติดตั้งของ วสท.
  5. สายเมนที่เดินเข้าในอาคารต้องเป็นชนิด #ตัวนำทองแดงเท่านั้น
  6. สายหุุ้มฉนวน XLPE ที่เดินในอาคาร เช่น #สายCV ต้องเดินในช่องเดินสายที่ปิดมิดชิด เช่น เดินร้อยท่อเป็นต้น ยกเว้นสายมีคุณสมบัติ Flame Retardant (ต้านเปลวเพลิง) ตามมาตรฐาน IEC 60332-3 category C ซึ่งได้แก่สายชนิด CV-FD

ทั้งนี้สายเมนรวมทั้งสายที่จ่ายไฟไปตามตู้ Load center จุดต่างๆในโรงงาน นิยมใช้เดินบนรางเคเบิลหรือเดินร้อยท่อ ได้แก่

1.สาย CV : มีข้อดีคือสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าสาย NYY ที่มีขนาดตัวนำเท่ากัน

ข้อควรระวัง: กรณีติดตั้งในอาคารต้องเดินในช่องเดินสายที่ปิดมิดชิด เช่น เดินร้อยท่อ ยกเว้นใช้สายชนิด CV-FD ที่ผ่านการทดสอบต้านเปลวเพลิงตามมาตรฐาน IEC 60332-3 category C แทน

2.สาย NYY และ 60227 IEC 10 : มีเปลือก PVC ที่หนากว่าสายชนิดอื่นๆ ช่วยปกป้องสายจากสภาพแวดล้อมได้มากกว่า จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งที่ไม่มีการป้องกันทางกายภาพ เช่นเดินบนรางเคเบิลที่ไม่มีฝาปิด

ข้อควรระวัง: สาย NYY สามารถใช้ติดตั้งฝังดินได้ แต่สาย 60227 IEC 10 ไม่สามารถใช้ฝังดินได้

3.สาย 60227 IEC 01 (THW) :  ตัวนำหุ้มฉนวนชั้นเดียว ไม่มีเปลือกนอกที่ช่วยเสริมการป้องกันจากสภาพแวดล้อม จึงควรติดตั้งโดยร้อยท่อหรือเดินในราง wire way

ข้อควรระวัง: ไม่สามารถใช้ติดตั้งฝังดินได้ ไม่สามารถติดตั้งบนรางเคเบิลได้ เว้นแต่ใช้เป็นสายดิน

Price List Download

https://www.pdcable.com/wp-content/uploads/2019/09/Phelps-Dodge-PriceList-2019-for-web-1.pdf


เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย
#ระดับโลก #WorldClass #Safety
#Lifeline #ทุกสายคือชีวิต #สายไฟโรงงาน
#สายcv #สายnyy #โรงงานอุตสาหกรรม

 

PD Insulated Tape
เทปพันสายไฟ ปลอดภัยทุกการติดตั้ง ลดความเสี่ยงไฟรั่วทุกรอยต่อ

เมื่อสายไฟในบ้าน หรือ สายไฟที่ต่อเข้ากับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดฉีกขาดชำรุด เทปพันสายไฟช่วยคุณได้

แต่ก่อนที่เราจะลงมือซ่อมแซมด้วยเทปพันสายไฟนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด เมื่อมีอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ สายไฟชำรุด คือเราต้องหยุดการใช้งานสายไฟฟ้านั้นทันที และทำการตรวจเช็คสภาพเพื่อประเมินว่าจำเป็นต้องซ่อมแซมโดยเทปพันสายไฟตรงจุดใดบ้าง หรือจำเป็นต้องเปลี่ยนสายไฟใหม่ทั้งหมดเลยหรือไม่ เพราะการใช้งานสายไฟที่ชำรุด อาจทำให้เกิดไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจรได้ ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นกระแสไฟที่ไหลผ่านได้ด้วยตาเปล่า เราจึงควรหมั่นตรวจสอบสภาพและสังเกตการชำรุดของสายไฟอยู่เสมอและที่สำคัญควรมีเทปพันสายไฟติดบ้านไว้ด้วยในกรณีที่ต้องซ่อมแซมค่ะ 

โดยสายไฟที่ชำรุดอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ อาทิเช่น ฉนวนหรือเปลือกชำรุดฉีกขาดจากการถูกสัตว์กัดแทะ ถูกบาด ถูกกระแทก หรือ ถูกกดทับ  สำหรับตัวช่วยสารพัดประโยชน์ หนึ่งในอุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้านไว้ สำหรับการซ่อมสายไฟ หรือเดินสายต่อเติมระบบไฟฟ้า นั่นก็คือ เทปพันสายไฟ PDInsulatedTape จาก Phelps Dodge เทปพันสายไฟที่มีประสิทธิภาพสูงจากเฟ้ลปส์ ดอดจ์ ที่เป็นที่นิยมสำหรับช่างไฟฟ้า และ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ควรมีไว้ติดบ้าน


สุดยอดเทปฟันสายไฟ PDtape ติดทนนาน ไม่เยิ้ม ไม่เป็นเชื้อไฟ พร้อมประโยชน์การใช้งาน ดังนี้

1.ใช้พันเป็นฉนวนของจุดต่อสายไฟ
2.ใช้พันป้องกันฉนวนหรือเปลือกหุ้มสายไฟ
3.ทนแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 1000 โวลต์
4.ทนอุณหภูมิสูงถึง 80 องศาเซลเซียส
5.ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก.386-2531
6.ขนาด 0.125 มม. x 19 มม. x 10 ม.

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.facebook.com/PhelpsDodgeThailand/photos/a.250853898435814/1137789689742226/?type=3&theater

ร้านค้าตัวแทนจำหน่าย http://www.pdcable.com/distribution-2/

———————————————————————————-

Line@ : @phelpsdodge_th
Tel.: 02-680-5800 ติดต่อฝ่ายขาย
🌏https://www.pdcable.com/en/product-household-2/

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย #ระดับโลก
#WorldClass #Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต
#เทปพันสายไฟ #สายไฟฟ้า

โครงสร้างสาย CV  และ CV-FD แตกต่างกันอย่างไร

ตารางเปรียบ สาย CV & CV-FD
ตารางเปรียบ สาย CV & CV-FD

โครงสร้างสาย CV  และ CV-FD แตกต่างกันอย่างไรจากตารางเปรียบเทียบให้จำกันง่ายๆ นะคะ
จะเห็นว่า สายไฟ CV กับ สาย CV-FD มีมาตรฐานการผลิตทีเหมือนกันค่ะ คือ ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502-1

แต่สายทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความแตกต่างกันในเรื่องดังต่อไปนี้ค่ะ

1.ชนิดของเปลือก โดยสาย CV เปลือกของสายเป็นวัสดุ PVC สำหรับ CV-FD เปลือกจะเป็นวัสดุ FRPVC ที่มีคุณสมบัติพิเศษ Flame Retardant ต้านเปลวเพลิง (หน่วงไฟ)  โดยสาย CV-FD จะผ่านการทดสอบคุณสมบัติต้านเปลวเพลิงตามมาตรฐาน IEC 60332-3 Category C

2.ข้อจำกัดการติดตั้งใช้งาน สาย CV ในการติดตั้งในอาคารต้องเดินในช่องเดินสายที่ปิดมิดชิด เช่น ร้อยท่อ เป็นต้น
สาย CV-FD สามารถติดตั้งในอาคารได้โดยไม่ต้องเดินในช่องเดินสายที่ปิดมิดชิด เนื่องจากเปลือกมีคุณสมบัติพิเศษ ต้านเปลวเพลิง (Flame retardant) ค่ะ

สำหรับคุณสมบัติอื่นๆของสายไฟฟ้าทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกัน และการติดตั้งใช้งานรูปแบบอื่นๆ ก็สามารถใช้ได้เหมือนกันค่ะ

https://www.pdcable.com/en/category/product-by-voltage/low-voltage/

 

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้

📢 อย่าลืม Subscribe YouTube สำหรับ VDO ดีๆ จาก Phelps Dodge กันนะคะ ที่… https://goo.gl/Bvg7dS

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย #WorldClass
#ระดับโลก #Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

โครงสร้างสาย CV-FD

 

 

 

โครงสร้างสาย CV-FD
โครงสร้างสาย CV-FD

 

 

สาย CV-FD หรือชื่ออื่นๆ ที่นิยมเรียกกันได้แก่ สาย XLPE / FRPVC , #สายหน่วงไฟ สาย CV-FD มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 0.6/1 kV อุณหภูมิตัวนำสูงสุด 90 องศาเซลเซียส มีทั้งสายแกนเดียวและหลายแกน  https://www.pdcable.com/en/category/product-by-voltage/low-voltage/

1.สำหรับสายแกนเดียว มีขนาดตัวนำตั้งแต่ 1.5 ตร.มม. ไปจนถึง 630 ตร.มม.

2.ส่วนสายหลายแกน จะมีขนาดตัวนำตั้งแต่ 1.5 ตร.มม. ไปจนถึง 400 ตร.มม.

โดยโครงสร้างสายจะผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502-1 แต่จะ #เพิ่มเติมการทดสอบคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง
ตามมาตรฐาน IEC 60332-3 Category C  ทั้งนี้ โครงสร้างสายจะมีความแตกต่างกับสาย CV เพียงเล็กน้อยที่ชั้นเปลือกนอก

โครงสร้างของสาย CV-FD ประกอบไปด้วย

1. ตัวนำทองแดงตีเกลียว โดย เฟ้ลปส์ ดอด์จ เลือกใช้วัตถุดิบทองแดงคุณภาพสูงเกรด A ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.99% จากผู้ผลิตที่ขึ้นทะเบียนในตลาดซื้อขายโลหะ London Metal Exchange (LME) ของประเทศอังกฤษ ทองแดง บริสุทธิ์ 99.99% คือ ทองแดงเกรดที่มีความบริสุทธิ์ของทองแดงสูง โดยเป็น Electrical conductor grade สำหรับใช้ผลิตเป็นตัวนำไฟฟ้าโดยเฉพาะ ทองแดงของเฟ้ลป์ส ดอดจ์ จึงมีค่าการนำไฟฟ้าสูงมากกว่า 101% ตามมาตรฐาน IACS สามารถรีดเป็นเส้นลวดตัวนำขนาดเล็กมาก และดัดโค้งงอได้โดยไม่เปราะหักและขาดง่าย

2.หุ้มด้วยฉนวน XLPE โดยฉนวน XLPE นั้นผลิตโดยการทำให้ โพลีเอททีลีน (PE) เกิดปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนเป็นครอสลิงค์ โพลีเอททีลีน (XLPE) ซึ่งมีความแข็งแรงและทนความร้อนได้มากขึ้น ฉนวน XLPE ใช้กับสายไฟฟ้าที่มีพิกัดอุณหภูมิตัวนำสูงสุด 90 oC นิยมใช้เป็นฉนวนสายไฟฟ้ากำลัง โดยเฉพาะสายไฟฟ้าแรงดันสูง ฉนวน XLPE มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า PVC ได้แก่ ทนอุณหภูมิได้สูงกว่า มีความแข็งแรงมากกว่า ความต้านทานไฟฟ้าสูงกว่า ป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดีกว่า

3.เปลือก เป็นวัสดุ FRPVC มีความนิ่มและอ่อนตัวได้ดี และมีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง (Flame retardant) ซึ่งจะช่วยให้เปลวไฟไม่ลุกลามไปตามสายไฟฟ้าอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

สำหรับการติดตั้งใช้งาน มีดังนี้

  • วางบนรางเคเบิล ร้อยท่อ
  • ร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรง
  • เดินเป็นสายเมนของอาคาร เดินในโรงงาน
  • สามารถใช้สาย CV-FD ติดตั้งในอาคารโดยวางบนรางเคเบิลได้

สายไฟแรงดันต่ำ คุณภาพสูง คลิก
https://www.pdcable.com/en/category/product-by-voltage/low-voltage/

 

 

โครงสร้างสายไฟฟ้า CV

จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ

โครงสร้างสายไฟฟ้า CV

สายไฟฟ้า CV หรือชื่ออื่นๆ ที่นิยมเรียกกัน ได้แก่ สาย XLPE/PVC , สาย XLPE เป็นสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 0.6/1 kV อุณหภูมิตัวนำสูงสุด 90 องศาเซลเซียส มีทั้งสายแกนเดียวและหลายแกน

– สำหรับสายแกนเดียว มีขนาดตัวนำตั้งแต่ 1.5 ตร.มม. ไปจนถึง 630 ตร.มม.

– ส่วนสายหลายแกน จะมีขนาดตัวนำตั้งแต่ 1.5 ตร.มม. ไปจนถึง 400 ตร.มม.

โครงสร้างของสาย CV ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502-1 ประกอบไปด้วย

1. ตัวนำทองแดง โดย เฟ้ลปส์ดอด์จ เลือกใช้วัตถุดิบทองแดงคุณภาพสูงเกรด A ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.99% จากผู้ผลิตที่ขึ้นทะเบียนในตลาดซื้อขายโลหะ London Metal Exchange (LME) ของประเทศอังกฤษ ทองแดง บริสุทธิ์ 99.99% คือ ทองแดงเกรดที่มีความบริสุทธิ์ของทองแดงสูง โดยเป็น Electrical conductor grade สำหรับใช้ผลิตเป็นตัวนำไฟฟ้าโดยเฉพาะ

ทองแดงของเฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงมีค่าการนำไฟฟ้าสูงมากกว่า 101% ตามมาตรฐาน IACS สามารถรีดเป็นเส้นลวดตัวนำขนาดเล็กมาก และดัดโค้งงอได้โดยไม่เปราะหักและขาดง่าย

2.หุ้มด้วยฉนวน XLPE โดยฉนวน XLPE นั้นผลิตโดยการทำให้ โพลีเอททีลีน (PE) เกิดปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนเป็นครอสลิงค์ โพลีเอททีลีน (XLPE) ซึ่งมีความแข็งแรงและทนความร้อนได้มากขึ้น ฉนวน XLPE ใช้กับสายไฟฟ้าที่มีพิกัดอุณหภูมิตัวนำสูงสุด 90 องศาเซลเซียส นิยมใช้เป็นฉนวนสายไฟฟ้ากำลัง โดยเฉพาะสายไฟฟ้าแรงดันสูง ฉนวน XLPE มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า PVC ได้แก่ ทนอุณหภูมิได้สูงกว่า มีความแข็งแรงมากกว่า ความต้านทานไฟฟ้าสูงกว่า ป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดีกว่า

3.เปลือก เป็นวัสดุ PVC มีความนิ่มและอ่อนตัวได้ดี ป้องกันสายไฟฟ้าจากสภาพแวดล้อมที่สายติดตั้ง

สำหรับการติดตั้งใช้งานนั้น สามารถติดตั้งได้หลายรูปแบบดังนี้

  1. วางบนรางเคเบิล ร้อยท่อ
  2. ร้อยท่อฝังดิน หรือ ฝังดินโดยตรง
  3. เดินเป็นสายเมนของอาคาร เดินในโรงงาน

ข้อจำกัด ใช้ติดตั้งในอาคารต้องเดินในช่องเดินสายที่ปิดมิดชิด เช่น ร้อยท่อ หรือ เดินในราง wire way แบบปิดเท่านั้น

สายไฟแรงดันต่ำ คุณภาพสูง คลิก
https://www.pdcable.com/en/category/product-by-voltage/low-voltage/

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Catalog    Price List 

Building Wire and Bare Conductor

พบตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ ได้ที่ http://www.pdcable.com/distribution-2/

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

สายไฟฟ้าชนิด CV และ CV-FD

ต่างกันอย่างไร

สายไฟฟ้า CV

สายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่มีฉนวนสายไฟ XLPE หรือที่รู้จักกันในชือสายไฟฟ้าชนิด CV เป็นสายไฟฟ้าที่นิยมใช้งานงานอย่างแพร่หลายอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะในโรงงาอุตสาหกรรม อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่โดยทั่วไป  เนื่องจากมีข้อดีที่เหนือกว่าสายไฟฟ้าฉนวน PVC หลายประการ อาทิเช่น

  1. มีพิกัดอุณหภูมิใช้งานสูงกว่า สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้สูงกว่าที่ขนาดตัวนำเท่ากัน
  2. ฉนวนมีความต้านทานทางไฟฟ้าสูงกว่า สามารถใช้ติดตั้งได้หลากหลายรูปแบบซึ่งรวมถึงการร้อยท่อฝังดินและฝังดินโดยตรง เป็นต้น

ดังนั้นสายไฟฟ้าชนิด CV จึงเป็นที่นิยมใช้เป็นสายเมนเข้าอาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป

อย่างไรก็ตาม นอกจากสายไฟฟ้าชนิด CV แล้ว ยังมีสายไฟฟ้าชนิด CV-FD ซึ่งเป็นสายไฟฟ้าฉนวน XLPE และมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันกับสาย CV ให้เลือกใช้อีกชนิดหนึ่ง

แล้วสายไฟฟ้า CV-FD คือสายอะไร? เหมือนหรือต่างจากสาย CV อย่างไร?
วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับสาย CV และ CV-FD กันค่ะ ตามไปเก็บข้อมูลกันได้เลยค่

คลิก ความแตกต่างระหว่างสายไฟฟ้าชนิด CV และ สายไฟฟ้าชนิด CV-FD

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Price List-ข้อมูลราคา

Extra high – high voltage Power cablesMedium voltage power cables
Fire Resistant and Low Smoke Halogen Free cables 
Building Wire and Bare Conductor
Telecommunication Cables
Low Voltage Power and Control Cables

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

เหตุผลที่ควรเลือกซื้อสายไฟฟ้าจาก
เฟ้ลป์ส ดอดจ์ | Phelps Dodge

ทองแดงคุณภาพสูงสุดเกรดA
ทองแดงคุณภาพสูงสุดเกรดA

เหตุผลที่ควรเลือกซื้อสายไฟจากเฟ้ลป์ส ดอดจ์ เพราะว่าเราเลือกใช้วัตถุดิบทองแดงคุณภาพสูงเกรด A ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.99% จากผู้ผลิตที่ขึ้นทะเบียนในตลาดซื้อขายโลหะ London Metal Exchange (LME) ของประเทศอังกฤษ

ทำไมจึงควรเลือกใช้ตัวนำ ทองแดง ความบริสุทธิ์ 99.99% ?
เพราะ ทองแดง บริสุทธิ์ 99.99% คือ ทองแดงเกรดที่มีความบริสุทธิ์ของทองแดงสูง

สำหรับใช้ผลิตเป็นตัวนำไฟฟ้าโดยเฉพาะ (Electrical conductor grade) โดยการหลอมแผ่นทองแดง (Copper cathode) ที่มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 99.99% โดยไม่มีส่วนผสมอื่นเจือปน เพื่อให้ได้แท่งทองแดง (Copper r rod) ที่มีค่าการนำไฟฟ้าสูงมากกว่า 101% ตามมาตรฐาน IACS สามารถรีดเป็นเส้นลวดตัวนำขนาดเล็กมาก และดัดโค้งงอได้โดยไม่เปราะหักและขาดง่าย

สายไฟฟ้าที่ตัวนำทองแดงมีความบริสุทธิ์ต่ำ จะมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำ เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเต็มพิกัด #จะทำให้เกิดความร้อนสูง#ทำให้ฉนวนและส่วนประกอบอื่นเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วและสายไฟจะมีอายุการใช้งานสั้นลง อีกทั้งความร้อนที่เกิดขึ้นอาจสูงจนทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์ หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นได้ อย่างเช่น ฉนวนไหม้ หลอมละลาย และเกิด ไฟฟ้าลัดวงจร 🔥🏠

ดังนั้น จึงควรคำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตไว้ก่อนอันดับหนึ่งด้วยการเลือกใช้สายไฟฟ้าที่มีคุณภาพดีค่ะ

📢อย่าลืม Subscribe YouTube สำหรับ VDO ดีๆ จาก Phelps Dodge กันนะคะ ที่… https://goo.gl/Bvg7dS

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย
#ระดับโลก #Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

เฟ้ลป์ส ดอดจ์ | Phelps Dodge สายไฟฟ้าคุณภาพสูงที่

ช่างไฟฟ้าระดับมืออาชีพเลือกใช้

สายไฟคุณภาพสูง
สายไฟคุณภาพสูง

 

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช้อะไรก็ได้ #เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่เรานึกไม่ถึงจนอาจมองข้ามไป แต่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยในชีวิตของเราอย่างมาก สายไฟฟ้านั้น อยู่รอบตัวเราแทบจะตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ในบ้านที่เราอาศัย ที่ทำงาน ตลอดจนอาคารสถานที่ต่างๆทุกหนแห่ง แต่ในบ้านของเราเอง คงมีเพียงไม่กี่คนที่จะทราบได้ว่าสายไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่ในบ้านมีคุณภาพเป็นอย่างไร? เลือกชนิดสายและขนาดตัวนำเหมาะสม และติดตั้งได้ถูกวิธีตรงตามาตรฐานหรือไม่? เนื่องจากสายไฟฟ้ามักติดตั้งในลักษณะซ่อนจากสายตาเพื่อความเรียบร้อยสวยงาม จึงยากต่อการตรวจสอบ จะรู้ว่าสายไฟฟ้ามีปัญหาก็เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดเพลิงไหม้ขึ้นแล้ว

วันนี้ เฟ้ลป์ส ดอดจ์ | Phelps Dodge จะมาบอกเหตุผลที่ทำให้สายไฟฟ้า เฟ้ลป์ส ดอดจ์ | Phelps Dodge เป็นสายที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ไว้วางใจของช่างไฟฟ้ามืออาชีพมายาวนานกว่า 50 ปี นอกจากสุดยอดเทคโนโลยีการออกแบบ และผลิตสายไฟฟ้าแรงดันสูง ที่ทาง เฟ้ลป์ส ดอดจ์เคยเล่าให้ฟังไปแล้วนั้น

เหตุผล ที่ สายไฟ Phelps Dodge เป็นสายไฟฟ้าที่ช่างไฟฟ้าระดับมืออาชีพมั่นใจเลือกใช้กันค่ะ
#ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของชีวิต

 

  1. ทองแดงคุณภาพเกรด A นำเข้าจากผู้ผลิตที่ขึ้นทะเบียนในตลาดซื้อขายโลหะที่ใหญ่ที่สุดของโลก London Metal Exchange (LME) 
  2. ฉนวนและเปลือกผลิตจากเม็ดพลาสติก PVC, PE และ XLPE คุณภาพสูง จากผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชั้นน
  3. มีห้องปฏิบัติการทดสอบ และอุปกรณ์ทดสอบสายไฟฟ้าที่พรั่งพร้อม
  4. ผลิตด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ด้วยทีมงานมากประสบการณ์และควบคุมโดยวิศวกรมืออาชีพ

 

หลังจากทราบข้อมูลเรื่องสายไฟดีๆ แล้ว ต่อไปนี้ สามารถเดินเข้าร้านขายสายไฟฟ้า หรือแจ้งช่างมืออาชีพที่รับงานติดตั้ง ให้เลือกใช้สายไฟจาก  เฟ้ลป์ส ดอดจ์ | Phelps Dodge ได้เลยค่ะ เพื่อความปลอดภัยของชีวิตในการใช้งาน


อย่าลืม Subscribe YouTube สำหรับ VDO ดีๆ จาก Phelps Dodge กันนะคะ ที่… https://goo.gl/Bvg7dS

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย
#ระดับโลก #Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

สายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับสายดิน🔌

สายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับสายดิน มีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. สายดินต้องเป็นสายตัวนำทองแดง ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า
  2. สายดินอาจเป็นสายตัวนำทองแดงมีฉนวนหุ้มหรือไม่มีฉนวนหุ้ม (สายเปลือย) ก็ได้
  3. ตัวนำอาจเป็นตัวนำเส้นเดี่ยวหรือตีเกลียวก็ได้
  4. สีของฉนวนหรือเปลือกของสายดินต้องเป็นสีเขียวหรือสีเขียวแถบเหลือง
  5. โดยทั่วไปนิยมใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) สีเขียวหรือเขียวแถบเหลืองเป็นสายดิน
  6. หรืออาจใช้สายไฟฟ้าชนิดหลายแกนที่มีสายดินรวมอยู่ด้วยก็ได้ เช่นสาย VAF-G, 60227 IEC 10, VCT-G หรือ NYY-G เป็นต้น

สายไฟฟ้าสำหรับสายดิน

สำหรับขนาดของสายดินตามมาตรฐานกำหนดของ วสท. มีดังต่อไปนี้

1.มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้ากำหนดขนาดตัวนำต่ำสุดโดยพิจารณาจากขนาดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ตามตารางที่ 4-2 ของ วสท.

ขนาดของสายดินบริภัณฑ์ไฟฟ้า

ยกเว้น สายอ่อนพร้อมปลั๊กเต้าเสียบของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีสายดินเป็นแกนหนึ่งของสาย ซึ่งใช้ไฟจากวงจรที่มีเครื่องป้องกันกระแสเกินขนาดไม่เกิน 20 แอมแปร์ อาจมีขนาดสายดินเล็กกว่าที่กำหนดในตารางได้แต่ต้องไม่เล็กกว่าขนาดตัวนำของแกนสายเส้นไฟและไม่เล็กกว่า 1.0 ตร.มม.

2.ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน พิจารณาจากขนานตัวนำสายเมน (ตัวนำทองแดง)

#อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านที่ต้องต่อลงดิน

1.อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ยึดติดกับที่และต่ออยู่กับสายไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวร ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งซึ่งปกติไม่มีไฟฟ้า แต่อาจมีไฟฟ้ารั่วถึงได้ต้องต่อลงดิน เช่น เครื่องปรับอากาศที่มีส่วนโลหะสามารถสัมผัสได้ และอยู่ในสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ต้องต่อลงดิน

พื้นฐานการต่อลงดิน
  • อยู่ห่างจากพื้นหรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 2.4 เมตร ในแนวตั้ง หรือ 1.5 เมตร ในแนวนอน ซึ่งเป็นระยะห่างที่บุคคลเอื้อมถึงและอาจสัมผัสได้ ยกเว้นมีวิธีการติดตั้ง หรือการป้องกันอย่างอื่นที่ป้องกันบุคคลสัมผัสโดยไม่ตั้งใจได้ ก็ไม่ต้องต่อลงดิน
  • สัมผัสทางไฟฟ้ากับโลหะอื่นที่บุคคลอาจสัมผัสได้เช่น โครงสร้างโลหะของอาคาร อยู่ในสถานที่เปียก หรือชื้น และไม่ได้มีการแยกให้อยู่ต่างหาก
  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปลั๊กเต้าเสียบในบ้านพักอาศัย ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งปกติไม่มีไฟฟ้าไหลผ่านแต่จำเป็นต้องต่อลงดิน เช่น ตู้เย็น ,เครื่องซักผ้า ,กระติกน้ำร้อน เป็นต้น ยกเว้นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นชนิดฉนวน 2 ชั้น (Double Insulation) ซึ่งสังเกตได้จากสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน ที่ไม่จำเป็นต้องต่อลงดิน  ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดมีการเดินสายดินมาให้พร้อมเต้าเสียบแบบ 3 ขา ซึ่งสามารถใช้กับเต้ารับ 3 รูที่มีการเดินสายดินไว้ได้เลย แต่ก็มีเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกหลายชนิดที่ต้องติดตั้งสายดินแยกออกมาต่างหาก ซึ่งผู้ใช้อาจต้องซื้อสายไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อใช้สำหรับเป็นสายดิน

#ตัวอย่างการต่อลงดินที่ไม่ถูกต้อง

  1. การปักหลักดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้าโดยไม่เดินสายดินกลับมาที่แผงเมนสวิตช์ การต่อลงดินลักษณะนี้มักเป็นที่เข้าใจผิดว่าเป็นวิธีการต่อลงดินที่สามารถทำได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแม้ว่าจะสามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดได้ แต่อาจทำให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินไม่ทำงานหรือทำงานช้า เพราะในกรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดลัดวงจรมีไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลลงหลักดินที่ปักไว้ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าและไหลผ่านทางดินกลับไปต้นทาง แต่ความต้านทานของดินจะมีความต้านทานสูงกว่าการใช้สายไฟฟ้าเป็นสายดินมาก กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านได้น้อย เครื่องป้องกันกระแสเกินจึงอาจไม่ทำงานปลดวงจร หรืออาจใช้เวลานานมากกว่าจะปลดวงจร
  2. การใช้สายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อฝากกับตะปูที่ตอกอยู่กับผนัง หรือต่อกับโครงสร้างโลหะของอาคาร ให้ผลเช่นเดียวกับข้อ 1 แต่ความต้านทานของการต่อลงดินอาจยิ่งสูงกว่าการต่อกับหลักดินที่อุปกรณ์โดยตรง ซึ่งจะยิ่งทำให้การทำงานของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินไม่สมบูรณ์มากขึ้นกว่าการต่อแบบในข้อ 1.
  3. การใช้ท่อโลหะหรือส่วนของรางเคเบิลแทนสายดิน โดยทั่วไปแล้วท่อโลหะหรือรางเคเบิลมักทำจากเหล็ก ซึ่งเป็นโลหะที่มีค่าความต้านทานสูงกว่าทองแดงที่เป็นตัวนำไฟฟ้าของสายดิน จึงอาจทำให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินทำงานไม่สมบูรณ์เช่นกัน ดังนั้นมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าจึงไม่อนุญาตให้ใช้ท่อโลหะหรือรางเคเบิลแทนสายดิน
  4. การเลือกใช้สายดินขนาดเล็กเกินไป สายดินขนาดเล็กเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดอาจมีความต้านทานสูงเกินไปทำให้ไม่สามารถนำกระแสไฟรั่วปริมาณมากได้เต็มที่ อาจทำให้ยังคงมีอันตรายจากไฟรั่วอยู่

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้🔌

โดยเฉพาะเรื่องของกระแสไฟรั่ว..เพราะเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า..

เสริมความปลอดภัยด้วยสายดิน

เรื่องของสายไฟฟ้า ที่ทุกคนควรรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือ การติดตั้งสายดินและการต่อลงดิน เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับชีวิตเราและคนในครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะหากบ้านเราไม่มีการต่อลงดิน หากเกิดกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟรั่ว แล้วเราไปสัมผัสส่วนที่มีไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลจากอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านตัวเราลงสู่พื้นดิน ทำให้เราถูกไฟดูดได้และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากมีกระแสไฟรั่วปริมาณมาก แต่ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการติดตั้งสายดินอย่างถูกต้อง #กระแสไฟฟ้าที่รั่วก็จะไหลผ่านสายดินแทน จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตค่ะ

ดังนั้น เฟ้ลป์ส ดอดจ์ | Phelps Dodge จึงนำความรู้เรื่องสายดินและการต่อลงดินที่ถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับบ้านพักอาศัยมาแนะนำกัน ตามไปชมกันเลยค่ะ

👨‍🔧ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการต่อลงดินกันก่อน การต่อลงดินเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าอย่างมาก 

การต่อลงดินสำหรับระบบสายไฟฟ้าภายในอาคารประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

🔌การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า คือการต่อระบบไฟฟ้าลงดินที่แผงเมนสวิตช์ (ตู้เมนไฟฟ้า) ซึ่งมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้ากำหนดให้ต่อสายเส้นนิวทรัลลงดินโดยใช้สายต่อหลักดินผ่านลงไปที่หลักดินซึ่งฝังลงไปในดิน โดยให้ทำที่แผงเมนสวิตช์เพียงจุดเดียวและไม่ให้มีการต่อสายนิวทรัลเข้ากับสายดินที่จุดอื่นใดอีก

🔌การต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า คือการเดินสายดินจากอุปกรณ์ไฟฟ้าไปต่อลงดินที่แผงเมนสวิตช์ โดยใช้หลักดินเดียวกันกับการต่อลงดินของระบบไฟฟ้าในข้อ1 สายดินเป็นสายที่เดินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้นจากสายเส้นไฟและสายนิวทรัล โดยต่อจากโครงหรือส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ด้านหลังของตู้เย็น , เครื่องปรับอากาศ , ไมโครเวฟ เป็นต้น ผ่านสายดินกลับไปที่แผงเมนสวิตช์และต่อลงดินที่หลักดิน ซึ่งในภาวะปกติสายดินจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เว้นแต่กรณีที่มีไฟรั่วที่อุปกรณ์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสายดินไปลงดิน ทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อตัวบุคคลที่ไปสัมผัสบริเวณที่มีไฟรั่ว

ความสำคัญของการต่อลงดินอย่างถูกต้อง

เพื่อความปลอดภัยของบุคคล กรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้ามีไฟรั่ว หากไม่มีการต่อลงดิน เมื่อบุคคลไปสัมผัสจุดที่มีไฟรั่วกระแสไฟจะไหลผ่านร่างกายลงดิน 
ทำให้ถูกไฟดูดและเป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ แม้กระแสไฟรั่วไม่ถึง 1 แอมแปร์ 

แต่หากมีการต่อลงดิน กระแสไฟที่รั่วจะไหลผ่านสายดินแทนเพราะสายดินมีความต้านทานทางไฟฟ้าต่ำกว่าความต้านทานของร่างกายคนอย่างมาก 
การต่อลงดินจึงสามารถป้องกันอันตรายจากการถูกไฟดูดได้

เพื่อให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (เซอร์กิตเบรกเกอร์) ทำงานได้อย่างสมบูณ์ กรณีที่เกิดการลัดวงจรและมีไฟรั่วปริมาณมากที่อุปกรณ์ไฟฟ้า หากมีการต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกต้องจะทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านสายดินที่มีความต้านทานต่ำกลับไปครบวงจรที่แผงเมนสวิตช์ได้อย่างสะดวก เมื่อกระแสไฟลัดวงจรปริมาณมาก อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินจึงทำงานตัดวงจรได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว

https://www.pdcable.com/product-household/

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย #ระดับโลก
#Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

วงจรไฟฟ้าภายในบ้านที่มีหลายวงจร

วงจรไฟฟ้าภายในบ้านหลายวงจร

สายวงจรย่อย

สายวงจรย่อย คือสายไฟฟ้าที่เดินจากอุปกรณป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้าย (เซอร์กิตเบรคเกอร์ตัวลูกย่อย) ไปยังจุดจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า เต้ารับ หรือดวงโคม ข้อมูลที่สำคัญ สำหรับวงจรย่อย มีดังต่อไปนี้

  1. สายวงจรย่อยต้องใช้สายตัวนำทองแดงมีฉนวนหุ้ม เช่นสาย 60227 IEC 01 (THW) หรือ VAF เป็นต้น
    สายไฟชนิดต่างๆ สามารถดูได้ที่ https://www.pdcable.com/product-building-and-construction/
  2.  ต้องคำนวณโหลดของวงจรย่อยแต่ละวงจรเพื่อหาขนาดตัวนำสายวงจรย่อย แต่ทั้งนี้ขนาดต้องไม่เล็กกว่า 2.5 ตร.มม.
  3. ขนาดตัวนำสายวงจรย่อยที่แนะนำสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปเป็นดังนี้                                                                                                                                                                               3.1 วงจรย่อยสำหรับเต้ารับ ที่จ่ายให้เต้ารับหลายจุด ควรใช้ขนาดตัวนำ 4 ตร.มม. ขึ้นไป
    3.2 วงจรย่อยสำหรับดวงโคม ขนาดตัวนำ 2.5 ตร.มม. ขึ้นไป ควรกำหนดวงจรย่อยแยกสำหรับเครื่องปรับอากาศ
    และเครื่องทำน้ำอุ่นแต่ละเครื่อง
  4.  สีฉนวนของสายวงจรย่อยกรณีใช้สาย 60227 IEC 01 (THW)
    4.1 สายเส้นไฟ : ไม่บังคับ สามารถใช้สีแตกต่างกันสำหรับแต่ละวงจรย่อยเพื่อความสะดวกในการแยกวงจร แต่ห้ามใช้สีฟ้า สีเขียว และสีเขียวแถบเหลือง
    4.2 สายนิวทรัล : สีฟ้า
    4.3สายดิน : สีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง
    ข้อมูลสีฉนวนของสายไฟสามารถดูได้ที่https://goo.gl/oZoNZQ
  5. กรณีบ้านสองชั้นขึ้นไป ต้องแยกวงจรย่อย อย่างน้อยชั้นละ 1 วงจร
  6. สำหรับวงจรย่อยของชั้นล่าง แนะนำให้แบ่งวงจรย่อยอย่างน้อยดังนี้ 
    6.1 ไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร
    6.2 เต้ารับภายในอาคาร
    6.3 เต้ารับภายนอกอาคาร

    ตางรางขนาดสายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับวงจรภายในบ้าน

    ขนาดของสายไฟฟ้าสำหรับวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน

ขนาดของสายไฟฟ้าสำหรับวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน

7. สายที่แยกจากจุดต่อสายวงจรย่อยเข้าดวงโคมแสงสว่างแต่ละดวง ควรใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.มม.

8.สายที่แยกจากจุดต่อสายวงจรย่อยเข้าเต้ารับแต่ละจุด  ควรใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 2.5 ตร.มม.

9. สายนิวทรัลใช้สีฟ้า และเลือกขนาดเท่ากับสายเฟส
(สายเส้นไฟ)

10. ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดินพิจารณาจากขนาดของสายเมนตามที่กำหนดตาราง

11..ขนาดต่ำสุดของสายดินของวงจรย่อยพิจารณาจากขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ตามที่กำหนดในตารา

อย่างไรก็ตาม การเลือกขนาดสายไฟฟ้าสำหรับแต่ละวงจรต้องเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดพิกัดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ด้วย 

โดยต้องคำนึงเสมอว่า พิกัดกระแสไฟฟ้าของสายที่เลือกต้องไม่ต่ำกว่าขนาดพิกัดของเซอร์กิตเบรคเกอร์

เพราะเมื่อเกิดภาวะโหลดเกินเซอร์กิตเบรคเกอร์ต้องตัดวงจรก่อนที่กระแสจะเกินกว่าพิกัดที่สายไฟฟ้าจะรับได้   เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟฟ้าเสียหายนะคะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Line@ :@phelpsdodge_th
www.pdcable.com
YouTube : https://goo.gl/UXr3eF

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย #ระดับโลก
#Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต

ความรู้ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้

เคยทราบกันไหมคะ ว่าบ้านที่เราอยู่ทุกวันนั้น…
มีการเดินสายไฟอย่างไร

ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

ความรู้ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 🏠 #ระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ค่ะ เนื่องจากปัจจุบันจะนิยมติดตั้งสายไฟฟ้าโดยเดิน #ซ่อนสายไว้ในผนังหรือฝ้าเพดาน ทำให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านแทบไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าตาของสายไฟฟ้า และ ขนาดของสายไฟฟ้าที่ติดตั้งในบ้านได้เลย นอกจากพี่ๆช่างไฟฟ้าที่เป็นผู้ติดตั้ง หรือเมื่อเจ้าของบ้านต้องทำการแก้ไขต่อเติมระบบไฟฟ้าในบ้าน ดังนั้นหากมีโอกาสที่ต้องเดินสายไฟฟ้าในบ้านเมื่อใด #ควรต้องแน่ใจว่าได้เลือกใช้สายไฟฟ้าอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย ด้วยค่ะ

วันนี้ Phelps Dodge จะขอแบ่งปันความรู้ #เรื่องการเลือกใช้สายไฟฟ้าและการติดตั้งสายไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย ที่ถูกต้องและปลอดภัยตามมาตรฐานค่ะ
โดยสามารถดูได้จากภาพประกอบนะคะ ตามไปชมกันเลย

ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

1.สายเมน (สายประธาน) คือสายไฟฟ้าที่เดินจากมิเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาที่แผงเมนสวิตช์ (ตู้เมนไฟฟ้าหรือตู้คอนซูเมอร์) ของบ้านนั่นเอง โดย…

  • สายเมนต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับโหลดรวมของทุกวงจรย่อยได้
  • ตัวนำสายเมนต้องรับกระแสได้ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของโหลดสูงสุดของมิเตอร์ไฟฟ้า และต้องไม่เล็กกว่าขนาดตามที่ระบุในตาราง
  • สายเมนควรเลือกใช้สายตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน เช่น สาย 60227 IEC 01 (THW)   https://www.pdcable.com/product-household/
  • สายเมนชนิดตัวนำอลูมิเนียมหุ้มฉนวน เช่นสาย THW-A อนุญาตให้ใช้ได้สำหรับการเดินสายลอยในอากาศภายนอกอาคารในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น และขนาดต้องไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม. แต่สายเมนส่วนที่เดินในอาคารต้องใช้สายตัวนำทองแดง
  • สีของสายเมน อยู่ในข้อยกเว้น ไม่จำเป็นต้องใช้สีน้ำตาลและฟ้า อาจใช้สายสีดำแล้วทำเครื่องหมายสำหรับสายเส้นไฟและนิวทรัลได้  https://goo.gl/oZoNZQ

ข้อมูลบนสายไฟฟ้า cable marking

อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

สายไฟ สายไฟฟ้า

การอ่าน Marking Cable ของสายไฟฟ้านั้น อ่านอย่างไรให้เข้าใจได้ถูกต้อง เนื่องจากหน้าตาของสายไฟฟ้า ถ้าเราไม่ได้ปอกเปลือกออก หากมองภายนอกทั่วๆ ไป เราก็จะเห็นสายไฟฟ้า ที่ถูกหุ้มด้วยฉนวนสายไฟหรือเปลือกสายไฟที่ทำจากพลาสติกชนิดต่างๆ และถูกจำแนกด้วยสีของฉนวนสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก.ใหม่ ที่ทาง สายไฟฟ้า เฟ้ลป์ส ดอดจ์  ได้เคยบอกเล่าไปแล้วก่อนหน้านี้ สามารถคลิกเข้าชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

นอกจากนี้วิศวกรและช่างไฟฟ้าระดับมืออาชีพทุกท่าน ก็จะใช้วิธีอ่านข้อความบนสายไฟ เพื่อให้ทราบชนิดของสายไฟฟ้าและการใช้งานสายไฟฟ้าได้ ซึ่งเราเรียกข้อความเหล่านี้ว่า Cable Marking

ข้อมูล หรือ ข้อความที่ปรากฏตามมาตรฐานกำหนด ที่ได้ระบุลงบนสายไฟฟ้านั้น มีรายละเอียดดังนี้

  1. ชื่อผู้ผลิตสายไฟฟ้า หรือ ยี่ห้อของผู้ผลิตสายไฟฟ้า
  2. ระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุดในการใช้งานสายไฟฟ้า
  3. โครงสร้างสายไฟฟ้าหรือชนิดของสายไฟฟ้า
  4. จำนวนแกนของสายไฟฟ้าและขนาดตัวนำของสายไฟฟ้า
  5. อุณหภูมิสูงสุดของตัวนำของสายไฟฟ้าบนสายไฟฟ้า
  6. มาตรฐานของสายไฟฟ้า ที่สายไฟฟ้าผลิตและทดสอบ

ดังนั้น ข้อมูลต่างๆ บนสายไฟที่ทางบริษัท ได้ผลิตและสกรีนไว้นั้น เป็นข้อมูลทางเทคนิคที่สำคั เพื่อให้ช่างไฟฟ้าระดับมืออาชีพทุกท่าน สามารถนำสายไฟฟ้าไปใช้งานหรือติดตั้งในระบบสายไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง ตรงตามมาตรฐานกำหนด

ข้อมูล cable marking  สายไฟฟ้า

ชนิด 60227 IEC 01 (THW)

marking cable สายไฟฟ้า thw

ลักษณะที่ใช้งานของสายไฟฟ้า 60227 IEC 01 สำหรับการติดตั้ง มีดังนี้

  1.  ร้อยท่อฝังผนังคอนกรีต
  2. ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าอาคาร
  3. เดินบนฉนวนลูกถ้วย
  4. เดินในช่องเดินสายชนิด wire-way ที่ปิดมิดชิด

 

ข้อมูล Marking บนสายไฟฟ้า ชนิด 60227 IEC 01 (THW) 

1.ผลิตโดย PHELPS DODGE

2.  สายไฟฟ้าชนิดนี้ สามารถรับแรงดันไฟฟ้าระหว่างตัวนำกับดินไม่เกิน 450V และ แรงดันไฟฟ้าระหว่างตัวนำกับตัวนำไม่เกิน 750V

3.  ชื่อของชนิดสายไฟคือ 60227 IEC 01 (THW)

4.  จำนวนแกนสายไฟฟ้าและขนาดของพื้นที่หน้าตัดสายไฟฟ้า คือ 1 x A ตารางมิลลิเมตร (สาย 1 แกน ขนาด A ตารางมิลลิเมตร)

5.   วัสดุที่ใช้ห่อหุ้มสายไฟฟ้า คือ PVC สามารถทนความร้อนได้สูงสุด 70 องศาเซลเซียส

6.    มาตรฐานสายไฟฟ้า ที่ใช้ในการผลิตคือ มอก.11-2553 เล่ม 3

ข้อมูล cable marking

สายไฟฟ้า ชนิด 0.6/1 kV CV

สายไฟฟ้า CV marking cabble

ลักษณะที่ใช้ในการติดตั้งสายไฟฟ้าชนิด 0.6/1 kV CV    สำหรับการติดตั้ง ดังนี้

  1. ฝังดินโดยตรง
  2. ร้อยท่อฝังดิ
  3. ร้อยท่อฝังผนังคอนกรีต
  4. ร้อยท่อฝังดินใต้อาคาร
  5. เดินเกาะผนัง
  6. เดินบนฉนวนลูกถ้วย
  7. เดินในช่องเดินสายชนิด wire-way ที่ปิดมิดชิด

 

ข้อมูล Marking บนสายไฟฟ้า ชนิด 0.6/1 kV CV 

1. ผลิตโดย PHELPS DODGE

2.สายไฟฟ้าชนิดนี้สามารถรับแรงดันไฟฟ้าระหว่างตัวนำกับดินไม่เกิน 0.6kV (600V) และ แรงดันไฟฟ้าระหว่างตัวนำกับตัวนำไม่เกิน 1kV (1000V)

3. ชื่อของชนิดสายไฟฟ้า คือ สาย CV (สาย CV มีโครงสร้างเป็น CU/XLPE/PVC หรือตัวนำทองแดงหุ้มด้วยฉนวน XLPE และเปลือกนอก PVC)

4.จำนวนแกนของสายไฟฟ้า และขนาดของพื้นที่หน้าตัดสายไฟฟ้า คือ AxB+C ตารางมิลลิเมตร โดยหมายความว่า สายขนาด B ตารางมิลลิเมตร จำนวน A แกน กรณีที่มีสายไฟฟฟ้าที่เป็นสายดิน  C คือขนาดพื้นที่หน้าตัดของสายดิน

5. มาตรฐานสายไฟฟ้า ที่ใช้ในการผลิตและทดสอบคือ IEC 60502-1

ข้อมูล cable marking  สายไฟฟ้า

ชนิด 600/1000 V*
FIRE RESISTANT LOW SMOKE & HALOGEN FREE หรือ สายทนไฟ

สายทนไฟ marking cable

สำหรับสายไฟชนิดนี้ จะมีข้อมูล marking มากกว่าสายไฟชนิดอื่น โดยลักษณะการติดตั้งคือ

1. ร้อยท่อฝังผนังคอนกรีต

2. ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าอาคาร

3. เดินในช่องเดินสายชนิด Wire – way ที่ปิดมิดชิด

 

 

ข้อมูล Marking บนสายไฟชนิด 600/1000V* FIRE Resistant low Smoke & Halogen free  มีดังนี้

1.ผลิตโดย PHELPS DODGE

2.ชนิดของสายไฟฟ้า คือ FRC (FIRE RESISTANT CABLE)

3.สายไฟฟ้าชนิดนี้สามารถรับแรงดันไฟฟ้าระหว่างตัวนำไฟฟ้ากับดินไม่เกิน 0.6kV (600V) และ แรงดันไฟฟ้าระหว่างตัวนำกับตัวนำไฟฟ้าไม่เกิน 1kV (1000V)

4.โครงสร้างสายไฟ เป็นแบบ MICA/XLPE/SWA/LSHF หรือ สายไฟ FRC ชนิดมี Mica Tape, ฉนวน XLPE , เกราะลวดเหล็ก Steel Wire Armour และ เปลือกนอก Low Smoke Halogen Free

5.ขนาดของหน้าตัดสายไฟคือ AxB+C ตารางมิลลิเมตร โดยหมายความว่า สายขนาด B ตารางมิลลิเมตร จำนวน A แกน กรณีที่มีสายดิน C คือขนาดพื้นที่หน้าตัดของสายดิน

6.มาตรฐานที่ใช้ในการผลิตสายไฟฟ้าและทดสอบสายไฟฟ้าคือ IEC 60502-1
นอกจากนี้ยังผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน BS6387 CWZ, IEC 60332-3-24 CAT C, IEC 60754-1&-2, IEC 61034-2

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต
#สายไฟที่ดีที่สุดต้องเฟ้ลปส์ดอด์จ

ตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ

ตารางมาตรฐานสายไฟฟ้า

สายไฟ

เรื่องมาตรฐานสายไฟฟ้าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย  สายไฟฟ้า เฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงได้นำข้อมูลเรื่องมาตรฐานสายไฟฟ้า มาสรุปเป็นภาพตารางเพื่อให้เข้าใจและจำง่ายยิ่งขึ้น โดยเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง มาตรฐานสายไฟฟ้าแบบเก่า และ มาตรฐานสายไฟฟ้าแบบใหม่ ว่ามีการปรับเปลี่ยนในเรื่องใดบ้าง

1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์

2. มาตรฐานสายไฟฟ้า มอก.11-2553 นี้ การแบ่งชนิดของสายไฟฟ้า จะอ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 60227 โดยใช้เป็นรหัสเลข 2 ตัว ตามหลังมาตรฐาน IEC เช่น 60227 IEC 01 ซึ่งตัวเลขสองตัวหลังนี้จะบอกชนิดของสายไฟฟ้า แต่ก็จะยังมีสายไฟฟ้าบางชนิดในมาตรฐานเดิม ที่ยังคงไว้และใช้ชื่อเดิมที่คุ้นเคยกัน ได้แก่ VAF, NYY และ VCT

3. พิกัดแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้ามีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยจากมาตรฐานเก่าระบุเพียงแค่ค่าแรงดันที่กำหนดค่าเดียว เปลี่ยนเป็นระบุค่าแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดเป็นตัวเลขสองค่าในรูป U0/U ตามมาตรฐาน IEC  โดยตัวเลขตัวแรก U0 คือแรงดันไฟฟ้า (r.m.s.) ระหว่างตัวนำกับดิน และ ตัวเลขตัวหลัง U คือแรงดันไฟฟ้า (r.m.s.) ระหว่างตัวนำกับตัวนำ

4. อุณหภูมิของสายไฟฟ้าที่ใช้งานก็มีการเปลี่ยนแปลง คือ จากเดิมกำหนดไว้ที่ค่าเดียวสำหรับสายไฟฟ้าทุกชนิด คือ สูงสุดไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส  แต่สำหรับสายมาตรฐานใหม่ นอกจากพิกัดอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสสำหรับสายทั่วไปแล้ว ยังมีสายชนิดทนความร้อนที่มีพิกัดอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสอีกด้วย ได้แก่สาย 60227 IEC 07, 60227 IEC 08, 60227 IEC 56 และ 60227 IEC 57

5. ประเภทและขนาดตัวนำของสายไฟฟ้า  มาตรฐานฉบับใหม่เปิดให้มีตัวนำสายไฟฟ้าที่หลากหลายมากขึ้นสำหรับตัวนำสายไฟฟ้าแบบตีเกลียว ซึ่งอนุญาตให้เป็นแบบตีเกลียวกลมแบบอัดแน่นและตีเกลียวรูปทรงอื่น (shaped conductor) นอกเหนือจากแบบตีเกลียวกลมได้อีกด้วย (แต่ในท้องตลาดยังไม่มีผลิตออกมาจำหน่าย)

ในส่วนของขนาดตัวนำสายไฟฟ้า สายนิวทรัลและสายไฟฟ้าที่เป็นสายดินก็ปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งาน

โดยที่ขนาดตัวนำของสายไฟฟ้าที่เป็นสายเฟสจะมีขนาดเท่ากับขนาดตัวนำของสายไฟฟ้าที่เป็นสายนิวทรัล

สำหรับสายไฟฟ้าที่เป็นสายดินจะมีขนาดเท่ากับสายไฟฟ้าที่เป็นสายเฟสในกรณีที่ตัวนำสายไฟฟ้าที่เป็นสายเฟสมีขนาดไม่เกิน 16 ตร.มม. แต่ถ้าตัวนำสายไฟฟ้าที่เป็นสายเฟสมีขนาดใหญ่กว่า 16 ตร.มม. สายไฟฟ้าที่ใช้เป็นสายดินจะมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของสายไฟฟ้าที่ใช้เป็นเฟส

6.สีของฉนวนสายไฟฟ้ามาตรฐานฉบับใหม่กำหนดให้สายไฟฟ้าที่ใช้เป็นสายดินเป็นสีเขียวแถบเหลือง สายไฟฟ้าที่ใช้เป็นสายนิวทรัลเป็นสีฟ้า สำหรับ สายเส้นไฟฟ้าจะใช้สีน้ำตาล สีดำ และสีเทา สำหรับเฟสที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต
#สายไฟที่ดีที่สุดต้องเฟ้ลปส์ดอด์จ

ตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ

สีฉนวนสายไฟฟ้า

สายไฟฟ้า เฟ้ลปส์ ดอด์จ แสดงตารางสีฉนวนสายไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ตามมาตรฐาน มอก.11-2553 ซึ่งสอดคล้องกับการกำหนดสีของสายไฟฟ้าสำหรับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของ วสท. ฉบับปี 2556

 

การที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงสีของสายไฟฟ้าก็เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานIEC ที่เป็นมาตรฐานสากลที่นานาชาติยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

 

ซึ่งประเทศเรารับเอามาใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงทั้งสำหรับสายไฟฟ้าหลายๆชนิดและสำหรับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า  ซึ่งมีข้อดีคือ

 

  1. ข้อกำหนดในมาตรฐานมีที่มาที่ไปในการอ้างอิงทางวิชาการที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับ
  2. ช่างไฟฟ้าและวิศวกรไฟฟ้าในทุกประเทศทั่วโลกที่อ้างอิงมาตรฐาน IEC เหมือนกัน ต่างก็ทำงานอยู่บนพื้นฐานข้อกำหนดและมาตรฐานของสายไฟฟ้าเดียวกัน หากต้องทำงานร่วมกันก็สามารถทำได้โดยสะดวก
สายไฟฟ้า สีฉนวนสายไฟ

ตารางแสดงสีของฉนวนสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11-2553 โดยกำหนดดังนี้

  1. สายไฟฟ้า แกนเดี่ยว ไม่กำหนดสี
  2. สายไฟฟ้า 2 แกน สีฟ้า และน้ำตาล
  3. สายไฟฟ้า 3 แกน (แบบมีสายดิน) สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล
  4. สายไฟฟ้า 3 แกน (แบบไม่มีสายดิน) สีน้ำตาล ดำ เทา
  5. สายไฟฟ้า 4 แกน (แบบมีสายดิน) สีเขียวแถบเหลือง น้ำตาล ดำ เทา
  6. สายไฟฟ้า 4 แกน (แบบไม่มีสายดิน) สีฟ้า น้ำตาล ดำ เทา
  7. สายไฟฟ้า 5 แกน สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล ดำ เทา

ข้อกำหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนแรงดันต่ำ ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของ วสท. ดังนี้

  1. สายไฟฟ้านิวทรัล (สายศูนย์) ใช้สีฟ้า 
  2. สายไฟฟ้าสำหรับสายดิน ใช้สายสีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง หรือเป็นสายเปลือย
  3. สายไฟฟ้าสำหรับเส้นสายไฟของระบบไฟฟ้า 1 เฟส ใช้สีอื่นใดที่ต่างจากสายนิวทรัลและสายต่อลงดิน
  4. สายไฟฟ้าสำหรับเส้นสายไฟของระบบไฟฟ้า 3 เฟส ใช้สายที่มีสีฉนวนหรือทำเครื่องหมายเป็นสีน้ำตาล สีดำ และสีเทา สำหรับเฟส 1, 2 และ 3 ตามลำดับ 
  5. สายไฟฟ้าแกนเดียวขนาด 16 ตร.มม. ขึ้นไปสามารถใช้วิธีทำเครื่องหมายที่ปลายสายไฟฟ้าแทนการกำหนดสีได้

ข้อกำหนดข้างต้น ยกเว้นสายไฟฟ้าที่ใช้เป็นสายไฟเมนเข้าอาคาร (สายออกจากมิเตอร์ไฟฟ้าถึงเมนสวิตช์) โดยจะเห็นว่าในระบบไฟฟ้า 1 เฟส มาตรฐานการติดตั้งไม่ได้กำหนดให้สายเส้นไฟต้องใช้แต่เฉพาะสายสีน้ำตาลเท่านั้น

ดังนั้นในระบบไฟฟ้า 1 เฟสตามบ้านเรือนทั่วไป สามารถเลือกใช้สายไฟฟ้าโดยเส้นไฟเป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีฟ้า, สีเขียว และสีเขียวแถบเหลืองได้

ตัวอย่างเช่น ใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) สีดำสำหรับวงจรเต้ารับ ใช้สีขาวสำหรับวงจรแสงสว่าง และใช้สีแดงสำหรับเครื่องปรับอากาศ เพื่อความสะดวกในการแยกวงจรได้ แต่สายนิวทรัลของทุกวงจรต้องใช้สีฟ้า และสายดินต้องใช้สีเขียวหรือเขียวแถบเหลืองเท่านั้น

สายไฟฟ้า

ข้อมูลสีฉนวนสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก.11-2553

 

สายไฟฟ้า 60227 IEC 01 (THW)

  • ขนาด 1.5 – 10 ตร.มม. มีสีฉนวนสายไฟฟ้ามาตรฐาน 10 สี ได้แก่
    สีฟ้า,สีน้ำตาล,สีดำ,สีเทา,สีแดง,สีเหลือง,สีน้ำเงิน,สีขาว,สีเขียว และ สีเขียวแถบเหลือง
  • ขนาด 16 ตร.มม. มีสีฉนวนสายไฟฟ้า โดยใช้ สีดำ เป็นมาตรฐาน

VAF และ VAF-G

  • สายไฟฟ้า 2 แกน ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า คือ สีฟ้า และ สีน้ำตาล
  • สายไฟฟ้า 3 แกน (รวมสายดิน) ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า คือ สีน้ำตาล,สีเขียวแถบเหลือง และ สีฟ้า
  • เปลือกของสายไฟฟ้าต้องเป็นสีขาวเท่านั้น

 

สายไฟฟ้า NYY, สายไฟฟ้า 60227 IEC 10, สายไฟฟ้า 60227 IEC 53 หลายแกน  ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า ดังนี้

  • สายไฟฟ้า 2 แกน ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า สีฟ้า และ สีน้ำตาล
  • สายไฟฟ้า 3 แกน (รวมสายดิน) ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า สีเขียวแถบเหลือง , สีฟ้า และ สีน้ำตาล
  • สายไฟฟ้า 3 แกน (ไม่มีสายดิน) ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้าสีน้ำตาล,สีดำ และ สีเทา
  • สายไฟฟ้า 4 แกน (รวมสายดิน) ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้าสีเขียวแถบเหลือง,สีน้ำตาล,สีดำ และ สีเทา
  • สายไฟฟ้า 4 แกน (ไม่มีสายดิน) ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้าสีฟ้า,สีน้ำตาล,สีดำ และ สีเทา
  • สายไฟฟ้า 5 แกน (รวมสายดิน) ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้าสีเขียวแถบเหลือง,สีฟ้า,สีน้ำตาล,สีดำ และ สีเทา
สายไฟฟ้า

ข้อมูลสีฉนวนสายไฟฟ้า ตามมาตรฐาน มอก.11-2553  และ สายไฟฟ้าหุ้มฉนวน XLPE  ตามมาตรฐาน IEC

สายไฟฟ้า NYY และ VCT 1 แกน

  • สายไฟฟ้าแกนเดี่ยว ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า คือ สีดำ และ เปลือกสีดำ

สายไฟฟ้า 0.6/1 kV CV และ 0.6/1 kV CV-FD

สายไฟฟ้า 1 แกน ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า สีขาว (สีธรรมชาติของ XLPE)
สายไฟฟ้า 2 แกน ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า สีฟ้า และ สีน้ำตาล
สายไฟฟ้า 3 แกน (รวมสายดิน) ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า สีเขียวแถบเหลือง,สีฟ้า และสีน้ำตาล
สายไฟฟ้า 3 แกน (ไม่มีสายดิน) ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้าสีน้ำตาล,สีดำ และสีเทา
สายไฟฟ้า 4 แกน (ไม่มีสายดิน) ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า สีฟ้า,น้ำตาล,สีดำ และสีเทา
สายไฟฟ้า 5 แกน (รวมสายดิน) ใช้สีฉนวนสายไฟฟ้า สีเขียวแถบเหลือง,สีฟ้า,สีน้ำตาล,สีดำ และสีเทา

สีฉนวนสายไฟฟ้า

สีของฉนวนสายไฟตามมาตรฐาน มอก.11-2553

สายไฟฟ้า เฟ้ลปส์ ดอด์จ จะขอทบทวนข้อมูลเรื่องสีของฉนวนสายไฟ เพื่อให้ช่างไฟฟ้า ที่ใช้งานสายไฟฟ้า หรือ บุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องสายไฟฟ้า ได้ทราบและอัพเดทข้อมูลตามมาตรฐานกำหนดในเรื่องของสีฉนวนสายไฟฟ้า ซึ่งเป็นเนื้อหาที่สอดคล้องกับการกำหนดสีของสายไฟฟ้า สำหรับงานติดตั้งระบบสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ของ วสท. ฉบับปี 2556

แล้วทำไมต้องมีการเปลี่ยนสีของฉนวนสายไฟฟ้า
การที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงสีของสายไฟฟ้าก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน IEC ที่เป็นมาตรฐานสากลที่นานาชาติยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในการติดตั้งสายไฟฟ้า  ซึ่งประเทศเรารับเอามาใช้เป็นมาตรฐานสายไฟฟ้าอ้างอิงทั้งสำหรับสายไฟฟ้าหลายๆชนิดและสำหรับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า

มีข้อดีคือ 
1.ข้อกำหนดในมาตรฐานสายไฟฟ้ามีที่มาที่ไปในการอ้างอิงทางวิชาการที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับ
2.ช่างไฟฟ้าและวิศวกรไฟฟ้าในทุกประเทศทั่วโลกที่อ้างอิงมาตรฐาน IEC เหมือนกัน ต่างก็ทำงานอยู่บนพื้นฐานข้อกำหนดและมาตรฐานการติดตั้งสายไฟฟ้าเดียวกัน หากต้องทำงานร่วมกันก็สามารถทำได้โดยสะดวก

3.ลองนึกภาพ ช่างไฟฟ้าของไทยไปปฏิบัติงานต่างประเทศ เมื่อเห็นสายไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในตู้ไฟฟ้า ก็รู้ได้ทันทีว่าสายไฟฟ้าเส้นใดคือเส้นไฟ เส้นนิวทรัล และเป็นสายไฟ้าเส้นสายดิน จึงไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้งานและลดโอกาสเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานงานติดตั้งระบบไฟฟ้าอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของสายไฟฟฟ้า รวมถึงสีของฉนวนสายไฟฟ้าก็สร้างความสับสนแก่ผู้ปฏิบัติงานในบ้านเราอย่างมาก  โดยเฉพาะในช่วงแรกที่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึง

ดังนั้นเราจึงต้องคอยติดตามข่าวสารความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ ซึ่ง สายไฟฟ้า เฟ้ลปส์ ดอด์จ ก็จะนำความรู้ดีๆแบบนี้ ที่เกี่ยวข้องกับสายไฟฟ้า ชนิดสายไฟ การติดตั้งสายไฟฟ้า งานระบบสายไฟฟ้า มานำเสนอบ่อยๆ เพื่อให้ทุกคนใช้งานสายไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต
#สายไฟที่ดีที่สุดต้องเฟ้ลปส์ดอด์จ

ตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ

We use cookies to improve performance. and good experience in using your website You can study the details at Privacy Policy and you can manage your own privacy by clicking Setting

Privacy Preferences

You can set your cookies preferences on our website except the necessity cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessity Cookies
    Always Active

    These cookies are necessary for website to operate. To ensure that you can use and visit the website normally, you cannot turn off these cookies on our website.

  • Functionality Cookies

    Allow Functionality Cookies to remember your setting on the platform e.g. username, language, fonts, and platform.

  • Performance Cookies

    Allow Performance Cookies to analyse the performance of each part of our website for improvement purpose.

  • Advertising Cookies

    Allow the website to use Advertising Cookies for increasing the product or service presentation be more accurate

Save your setting