แล้วสายไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าต้นทางมาจนถึงปลายทางผู้ใช้งาน ใช้สายไฟฟ้าชนิดใดบ้าง?
วันนี้ Phelps Dodge จะมาอธิบายการเดินทางของพลังงานไฟฟ้าและสายไฟฟ้าที่ใช้ในระบบส่งจ่ายไฟฟ้าของเรา ตามมาดูกันเลยค่ะ การเดินทางระยะไกลของพลังงานไฟฟ้าระดับหลายร้อยหลายพันเมกกะวัตต์จากโรงผลิตไฟฟ้าเริ่มจาก
💡การเพิ่มระดับแรงดันไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้า 10 – 40 กิโลโวลต์ให้สูงขึ้นถึงระดับ 230 หรือ 500 กิโลโวลต์ เพื่อลดความสูญเสียในสายส่ง แล้วส่งไฟฟ้าผ่านสายส่งแรงดันสูง (Transmission line) ที่เป็นตัวนำอลูมิเนียมเปลือยเสริมแกนเหล็กชนิด ACSR (Aluminium Conductor Steel Reinforced) ติดตั้งบนเสาสูงโครงสร้างโลหะ เดินทางข้ามจังหวัดเป็นระยะทางไกลจากโรงไฟฟ้ามาถึงเขตชุมชนเมือง
💡จากนั้นสถานีไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่จะแปลงแรงดันไฟฟ้าให้ต่ำลงเป็นไฟฟ้าแรงดันสูง 115 หรือ 69 กิโลโวลต์ แล้วส่งจ่ายไฟฟ้าต่อไปโดยใช้สายตัวนำอลูมิเนียมเปลือย AAC (All Aluminum Stranded Conductor) ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าคอนกรีต
💡เมื่อถึงสถานีไฟฟ้าย่อยจะแปลงไฟฟ้าแรงดันสูงเป็นแรงดันปานกลาง 22, 24 หรือ 33 กิโลโวลต์ (ขึ้นอยู่กับระบบการจ่ายไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่) แล้วส่งผ่านสายอลูมิเนียมหุ้มฉนวนและเปลือกชนิด SAC (Spaced Aerial Cable) ซึ่งติดตั้งบนเสาไฟฟ้าคอนกรีต
💡เมื่อใกล้ถึงผู้ใช้งานก็จะแปลงแรงดันไฟฟ้าลงอีกครั้งเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำแล้วจ่ายผ่านสายอลูมิเนียมหุ้มฉนวนชนิด WPC (Weather Proof Cable) ส่งมาที่อาคารบ้านเรือนของเราค่ะ
สำหรับลูกค้าที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก เช่น โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน หรือห้างสรรพสินค้า จะซื้อไฟฟ้าแรงดันสูง 115 หรือ 69 กิโลโวลต์ หรือแรงดันปานกลาง 22, 24 หรือ 33 กิโลโวลต์จากการไฟฟ้าโดยตรงโดยมีหม้อแปลงของตัวเองสำหรับแปลงเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำเพื่อใช้งานภายใน
ที่กล่าวมานั้นเป็นการส่งจ่ายไฟฟ้าผ่านระบบสายอากาศ คือส่งผ่านสายไฟฟ้าที่ติดตั้งแขวนลอยในอากาศบนเสาไฟฟ้าซึ่งเป็นวิธีหลักที่ใช้ส่งจ่ายไฟฟ้าในบ้านเราและสามารถพบเห็นได้ทั่วไป
#แต่นอกจากนี้แล้วยังมีการส่งจ่ายไฟฟ้าผ่านระบบสายใต้ดิน ซึ่งปัจจุบันมีใช้ในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่หรือเมืองท่องเที่ยวที่ต้องการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามปราศจากเสาและสายไฟฟ้าที่รกรุงรัง
ซึ่งสายไฟฟ้าใต้ดินจะเป็นสายตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน XLPE (Cross-linked Polyethylene) มีชิลด์โลหะสำหรับสายแรงดันปานกลางและแรงดันสูง มีชั้นของวัสดุกันน้ำกันความชื้น และมีเปลือกชั้นนอกที่ทำจาก PE (Polyethylene) หรือ PVC (Polyvinyl Chloride) ซึ่งทำให้สายไฟฟ้าใต้ดินมีความปลอดภัยสูง มีความแข็งแรง กันน้ำและความชื้นได้ดี สามารถติดตั้งในท่อร้อยสายที่ฝังใต้ดินหรือฝังดินได้โดยตรง โดยสายไฟฟ้าใต้ดินนี้สามารถผลิตให้ครอบคลุมการใช้งานได้ทั้งระดับแรงดันสูง แรงดันปานกลาง และแรงดันต่ำ Phelps Dodge สามารถผลิตสายใต้ดินได้ถึงระดับแรงดัน 245 กิโลโวลต์ และ Phelps Dodge ยังมีห้องทดสอบแรงดันฟ้าผ่า (Lightning Impulse Voltage Test) ที่สามารถสร้างแรงดันทดสอบได้สูงถึง 1050 กิโลโวลต์
#ทุกการเดินทางของพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย #สายไฟฟฟ้าPhelpsDodge
มีส่วนร่วมในหน้าที่ที่สำคัญนี้มายาวนานกว่า 50 ปี
#สายไฟฟ้า Phelps Dodge เป็นอุปกรณ์สำคัญในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า จากระบบสายส่งไฟฟ้าแรงดันสูงครอบคลุมไปจนถึงสายไฟฟ้าในระบบจำหน่ายแรงดันปานกลางและแรงดันต่ำที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม พาณิชย์และครัวเรือน
ในทุกๆ จุดของการเดินทางของพลังงานไฟฟ้าที่แสนไกลนั้น สายไฟฟ้ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำหน้าที่เป็นตัวส่งผ่านพลังงานไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพราะฉะนั้น #มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกใช้สายไฟฟ้าที่มีการออกแบบและผลิตได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพสูงสุดตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน มีความแข็งแรง ทนทาน และมี ความปลอดภัยสูงสุด ดังนั้น Phelps Dodge จึงเลือกใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงในการผลิตสายไฟฟ้า อาทิเช่น ทองแดงบริสุทธิ์เกรด A ที่มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 99.99% เพื่อให้สายไฟฟ้านำกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุด ฉนวนและเปลือกสายไฟฟ้าผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงจากผู้ผลิตชั้นนำ และเราใช้วัตถุดิบที่เป็นของใหม่ทั้งหมดโดยไม่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลเพื่อให้แน่ใจว่าสายไฟ Phelps Dodge ทุกเส้นมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด
เพราะฉะนั้นการเลือกใช้สายไฟฟ้าจึงไม่ใช่…อะไรก็ได้ เนื่องจาก #สายไฟฟ้าเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราตลอดเวลาคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกในการเลือกใช้สายไฟฟ้า เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยของชีวิตเราตลอดจนผู้คนที่อยู่รอบข้างและคนที่เรารักค่ะ
#แล้วสายไฟที่เดินอยู่ที่บ้านของคุณใช้สายไฟPhelpsDodge หรือเปล่าคะ ^^
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
www.pdcable.com
Tel.02-680-5800
Line@ : @phelpsdodge_th
#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย #ระดับโลก
#Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต