Tel : 0-2680-5800

สายทนไฟ เฟ้ลปส์ ดอด์จ

มาตรฐานการทนไฟ ระดับสูงสุด

สายทนไฟ

Fire Resistance หรือ Circuit Integrity สำหรับสายทนไฟ คือความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่งในขณะที่สายถูกเพลิงไหม้โดยไม่เกิดการลัดวงจร 

ซึ่งสายทนไฟมีความจำเป็นสำหรับใช้กับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตหรือวงจรไฟฟ้าฉุกเฉินที่มีผลต่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ในณะที่สายไฟฟ้าธรรมดาทั่วไปไม่สามารถใช้แทนสายทนไฟได้ เพราะฉนวนไม่สามารถทนต่อเปลวไฟที่อุณหภูมิสูงได้นานเพียงพอและไม่สามารถจ่ายไฟได้เมื่อถูกเพลิงไหม้

การประเมินคุณสมบัติการทนไฟนี้มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยกำหนดให้ใช้วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน BS 6387 หรือ IEC 60331 แต่โดยทั่วไปแล้ว จะนิยมอ้างอิงมาตรฐาน BS 6387 มากกว่า IEC 60331 เนื่องจากประกอบด้วยการทดสอบย่อยที่ใช้ประเมินความสามารถในการทนไฟภายใต้สภาพการทดสอบที่ครอบคลุมมากกว่า

การทดสอบการทนไฟตามมาตรฐาน BS 6387 จะถูกแบ่งเป็น 3 การทดสอบย่อยดังนี้

  1. มาตรฐานทดสอบการทนไฟ (Resistance to Fire Alone) แบ่งตามระดับของอุณหภูมิเปลวไฟและเวลาที่ใช้ทดสอบได้เป็น   

 

       1.1   650°C  เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร 

       1.2   750 °C เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร  B 

       1.3   950 °C เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร  C

       1.4  950°C  เป็นเวลา 20 นาที ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร    S 

   2. มาตรฐานทดสอบการทนไฟและน้ำ (Resistance to Fire with Water) มีระดับของอุณหภูมิเปลวไฟและเวลาที่ใช้ทดสอบแบบเดียวคือ

        2.1  650 °C  เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นพ่นสเปรย์น้ำพร้อมเผาไฟ 650°C ต่อเป็นเวลา 15 นาที ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร W

  3. มาตรฐานทดสอบการทนไฟและแรงกระแทก (Resistance to Fire with Mechanical Shock) แบ่งตามระดับของอุณหภูมิเปลวไฟและเวลาที่ใช้ทดสอบได้เป็น

        3.1 650°C พร้อมแรงกระแทก เป็นเวลา 15 นาที ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร

        3.2 750°C พร้อมแรงกระแทก เป็นเวลา 15 นาที ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร

        3.3 950°C พร้อมแรงกระแทก เป็นเวลา 15 นาที ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร Z

ในระหว่างการทดสอบทั้ง 3 การทดสอบย่อย สายไฟฟ้าจะถูกต่อวงจรเข้ากับหลอดไฟและฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของวงจรไฟฟ้า และจ่ายแรงดันไฟฟ้าเท่ากับพิกัดแรงดันของสาย จากนั้นจึงเผาสายไฟฟ้าด้วยเปลวไฟตามอุณหภูมิและเวลาทดสอบที่กำหนด ซึ่งสายไฟฟ้าต้องสามารถรักษาสภาพวงจรไฟฟ้าไว้ได้โดยไม่เกิดการลัดวงจร โดยหลอดไฟที่ต่ออยู่ต้องไม่ดับ และฟิวส์ต้องไม่ขาดหรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ต้องไม่ตัดวงจรตลอดระยะเวลาการทดสอบที่กำหนด

สายไฟฟ้าที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานตามข้อ 1.1 และ 2.1 และ 3.1 จะเรียกว่า Category AWX

สายไฟฟ้าที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานตามข้อ 1.3 และ 2.1 และ 3.3 จะเรียกว่า Category CWZ

ซึ่ง สายทนไฟ เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผ่านตามมาตรฐาน BS 6387 Category CWZ ซึ่งเป็นระดับการทนไฟที่สูงที่สุด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง สายทนไฟ สายไฟคุณสมบัติพิเศษ จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ คลิกเลย

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Price List-ข้อมูลราคา

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

สายไฟฟ้าแต่ละชนิดใช้งานต่างกันอย่างไร?

“จำง่ายๆ สายไฟฟ้า แต่ละชนิดใช้งานต่างกันอย่างไร?”  วันนี้เฟ้ลปส์ ดอด์จ #รวมชนิดสายไฟฟ้า ที่ต้องใช้ติดตั้งใน #งานระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไป มาให้ทราบกันค่ะ ว่าในการติดตั้งงานระบบไฟฟ้าแต่ละรูปแบบนั้น ช่างไฟฟ้าจะเลือกใช้สายไฟฟ้าชนิดใดบ้าง? ซึ่งจะเป็นชนิดสายไฟฟ้า ที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดโดยทั่วไป หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งสามารถเลือกซื้อได้ทั้งแบบม้วน  หรือ สายไฟฟ้าแบบแบ่งตัด ตามวัตถุประสงค์และจำนวนขนาดที่ต้องการของช่างไฟฟ้าที่ต้องทำการติดตั้งหน้างานค่ะ  มีสายไฟฟ้าชนิดใดกันบ้างนั้น มีข้อมูลดังนี้ค่ะ

สายไฟฟ้า

โดยทั่วไป ชนิดสายไฟฟ้าหลักๆ ที่ใช้ติดตั้งในงานระบบ มีด้วยกันดังนี้ค่ะ 🔌

 

1. 60227 IEC 01 (THW) สายไฟร้อยท่อ สำหรับบ้านและอาคารทั่วไป สายไฟสำหรับเป็นสายเมนเดินลอยในอากาศ (ขนาด 1.5 – 400 ตร.มม.)

 

2. THW-A   สายไฟฟ้าสำหรับเป็นสายเมนเดินลอยในอากาศนอกอาคาร

(ขนาด 10 – 300 ตร.มม.)

 

3. NYY  สายไฟฟ้าสำหรับสายเมน สายไฟสนาม สายไฟถนน สายไฟสำหรับวางบนรางเคเบิล ร้อยท่อ หรือฝังดิน

(1 แกน ขนาด 1 – 500 ตร.มม. , 2 – 4 แกน ขนาด 50 – 300 ตร.มม.)

(NYY-G 2 – 4 แกน + สายดิน ขนาด 25 – 300 ตร.มม.)

 

4. CV  สายไฟฟ้าสำหรับสายเมน สายไฟวางบนรางเคเบิลนอกอาคาร ร้อยท่อ หรือฝังดิน 

(1 แกน ขนาด 1.5 – 630 ตร.มม. , 2 – 4 แกน ขนาด 1.5 – 400 ตร.มม.)

สายไฟฟ้า

5. CV-FD สายไฟฟ้าสำหรับสายเมน สายไฟวางบนรางเคเบิลในอาคาร ร้อยท่อ

(1 แกน ขนาด 1.5 – 630 ตร.มม. , 2 – 4 แกน ขนาด 1.5 – 400 ตร.มม.)

 

6. PdfireTec (FRC) สายทนไฟสำหรับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต วงจรไฟฉุกเฉิน

(1 แกน ขนาด 1.5 – 630 ตร.มม.)

 

7. VAF สายไฟฟ้าสำหรับเดินเกาะผนัง (ตีกิ๊บ) ในบ้านและอาคารทั่วไป

(ขนาด 1 – 16 ตร.มม.) , (VAF-G ขนาด 1 – 16 ตร.มม.)

สายไฟ

8. Station wire  สายโทรศัพท์ในอาคาร  (2-6 แกน ขนาด 0.5 – 0.65 มม.)

 

9. VCT  สายไฟฟ้าสำหรับต่อเข้ามอเตอร์ เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า

(1-4 แกน ขนาด 4 – 35 ตร.มม.) , (VCT-G 2-4 แกน + สายดิน ขนาด 4 – 35 ตร.มม.)

 

10. PdsolarTec (PV Cable) สายไฟฟ้าสำหรับโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ

(ขนาด 2.5 – 240 ตร.มม.)

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้
เฟ้ลปส์ ดอด์จ Life Line ทุกสายคือชีวิต
#สายไฟที่ดีที่สุดต้องเฟ้ลปส์ดอด์จ

มั่นใจ ปลอดภัย ติดตั้งด้วยงานคุณภาพ ต้องสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ
#สายไฟที่ช่างมืออาชีพทุกคนเลือกใช้

พบตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ ทั่วประเทศ ได้ที่ http://www.pdcable.com/distribution-2/

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตั้งค่าทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่เกี่ยวกับดำเนินการฟังก์ชัน

    ยินยอมให้ใช้ Functionality Cookies ที่ทำหน้าที่จดจำการตั้งค่าบนแพลตฟอร์ม เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ ภาษา ฟ้อนต์ และรูปแบบแพลตฟอร์ม

  • คุกกี้ประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์

    ยินยอมให้ใช้ Performance Cookies เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละส่วนของเว็บไซต์เพื่อการปรับปรุง

  • คุกกี้วิเคราะห์สำหรับการโฆษณา

    ยินยอมให้ใช้ Advertising Cookies เพื่อการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจได้มากขึ้น

บันทึก