Tel : 0-2680-5800

ติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินต้องฝังดินลึกเท่าไร?

ปัจจุบันการติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินได้รับความนิยมนำมาใช้กับการติดตั้งสายไฟฟ้าแรงดันต่ำในบ้านพักอาศัยมากขึ้น เช่น การเดินสายเมนจากมิเตอร์ไฟฟ้าเข้ามายังตัวบ้าน หรือการเดินสายไปยังจุดใช้งานภายนอกบ้าน เช่น การเดินสายเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า การเดินสายสำหรับปั๊มน้ำหรือไฟแสงสว่างในสวน ซึ่งแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าและมีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าวิธีการเดินสายเหนือดิน แต่ก็แลกมาด้วยความเรียบร้อยสวยงามของพื้นที่เพราะไม่มีเส้นสายไฟฟ้าหรือท่อร้อยสายรบกวนทัศนียภาพ นอกจากนี้สายไฟฟ้าใต้ดินยังมีโอกาสเกิดความเสียหายเนื่องจากลมพายุและอุบัติเหตุที่สายไฟถูกเกี่ยวดึงน้อยกว่าการเดินสายลอยในอากาศอีกด้วย

การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินสามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งการติดตั้งในท่อร้อยสายใต้ดินและการติดตั้งสายฝังดินโดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถวางแผ่นคอนกรีตบนแนวสายไฟเพื่อเสริมการป้องกันทางกายภาพได้อีกด้วย

ทั้งนี้ ความลึกในการติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินรูปแบบต่างๆที่เป็นที่นิยมตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยมีรายละเอียดดังรูป

หมายเหตุ :
1.การติดตั้งสายใต้อาคาร ไม่บังคับเรื่องความลึก
2.ความลึกของการฝังสายไฟฟ้าหรือท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินวัดจากส่วนบนของสายไฟหรือท่อถึงพื้นผิวบนสุดของส่วนปกคลุม

การติดตั้งสายไฟใต้ดินสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป แนะนำให้เดินสายร้อยท่อฝังดินเนื่องจากท่อร้อยสายไฟจะช่วยป้องกันสายไฟจากสภาพแวดล้อมและอุบัติเหตุต่างๆได้ดีกว่าการติดตั้งสายแบบฝังดินโดยตรง เช่น การป้องกันน้ำและความชื้นใต้ดิน การช่วยป้องกันไม่ให้สายไฟถูกเจาะ ดึง กระแทก หรือกดทับโดยตรง ซึ่งอาจเกิดจากการทรุดตัวของชั้นดิน หรืออุบัติเหตุจากการขุดเจาะพลาดไปโดนสายไฟโดยไม่ตั้งใจ

อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่


ติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม


การระบุสัญลักษณ์ของตัวนำ หรือ สีของสายไฟฟ้า มีความสำคัญต่อความปลอดภัยในการติดตั้งระบบไฟฟ้าอย่างมาก เพราะหากไม่ทำให้ถูกต้องตามมาตรฐานอาจทำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดในการแยกแยะการต่อวงจรของตัวนำ เช่น ต่อตัวนำสลับเฟส หรือต่อวงจรผิดจนมีกระแสไฟไหลในสายดิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นได้ 

การติดตั้งระบบไฟฟ้าในประเทศไทย โดยทั่วไปจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ที่ออกโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ซึ่งมาตรฐานล่าสุดคือฉบับปี พ.ศ.2564 ได้มีการกำหนดวิธีการระบุสัญลักษณ์ตัวนำด้วยการใช้สีและการทำเครื่องหมายเป็นตัวอักษรไว้ในหัวข้อ 5.1.11 การระบุสัญลักษณ์ตัวนำสำหรับระบบแรงต่ำ (กระแสสลับ) ที่มีการต่อลงดิน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

สีของสายไฟฟ้า และการระบุสัญลักษณ์ตัวนำ ตามมาตรฐานกำหนด

ข้อสังเกตจากมาตรฐานการติดตั้ง ฯ

1. สำหรับสายแกนเดียวขนาดใหญ่กว่า 16 ตร.มม. โดยทั่วไปแล้วผู้ผลิตสายไฟฟ้าจะผลิตสายเป็นสีดำเป็นมาตรฐานของโรงงาน จึงมีการอนุญาตให้ใช้สายสีดำยาวตลอดทั้งเส้นและใช้วิธีทำเครื่องหมายเป็นสีหรือตัวอักษรแทนการทำฉนวนเป็นสีได้

2. สำหรับสายแกนเดียวที่ใช้เป็นสายดิน นอกจากจะใช้สายหุ้มฉนวนแล้ว ยังสามารถใช้สายตัวนำเปลือยได้

3. สีฉนวนสายดิน แม้จะอนุโลมให้ใช้สีเขียวได้สำหรับสายไฟฟ้าแกนเดียว แต่มาตรฐานต้องการให้ใช้สีเขียวแถบเหลืองเป็นทางเลือกแรกมากกว่า เช่นเดียวกับกรณีการทำเครื่องหมายเป็นตัวอักษรที่มาตรฐานต้องการให้ใช้อักษร PE เป็นทางเลือกแรกมากกว่าการใช้ตัวอักษร G หรือ E ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล IEC ที่กำหนดให้ใช้สีเขียวร่วมกับสีเหลือง หรือใช้ตัวอักษร PE เป็นสัญลักษณ์สำหรับ Protective Conductor ซึ่งก็คือสายดินป้องกันหรือสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้านั่นเอง

สำหรับสายไฟฟ้าแกนเดียว โดยเฉพาะสาย 60227 IEC 01 (THW) ซึ่งเป็นสายที่ใช้เดินในบ้านและอาคารโดยทั่วไป ในท้องตลาดจะมีสีสายไฟฟ้าให้เลือกหลากหลายสีสำหรับสายขนาดไม่เกิน 16 ตร.มม. การเลือกใช้จึงต้องเลือกสีสายไฟฟ้าให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ดังที่กล่าวมา ส่วนสายแกนเดียวขนาดใหญ่กว่า 16 ตร.มม. ที่มักจะผลิตเป็นสีดำ ก็จำเป็นต้องทำเครื่องหมายเป็นสี หรือตัวอักษรบริเวณที่มีจุดต่อสายและทุกปลายสายให้ถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ ด้วยเช่นกัน

สำหรับสายไฟฟ้าชนิดหลายแกน ผู้ผลิตจะผลิตให้มีสีฉนวนเป็นไปตามมาตรฐานอ้างอิงอยู่แล้ว แต่ก็มีข้อควรระวังในการเลือกสายไฟฟ้าดังนี้

สีของสายไฟฟ้า กรณีเลือกสายที่มีตัวนำ 3 แกน จะมีสีฉนวนให้เลือกสองแบบด้วยกันคือ 

  • แบบที่หนึ่ง ฉนวนน้ำตาล, สีฟ้า และสีเขียวแถบเหลือง สำหรับใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟสที่มีสายดิน และ
  • แบบที่สอง ฉนวนสีน้ำตาล. สีดำ และสีเทา สำหรับใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟสที่ไม่มีทั้งสายนิวทรัลและสายดิน
สีของสายไฟฟ้า แบบหลายแกน

สีของสายไฟฟ้ากรณีเลือกสายที่มีตัวนำ 4 แกน จะมีสีฉนวนให้เลือกสองแบบด้วยกันคือ 

  • แบบที่หนึ่ง ฉนวนสีน้ำตาล. สีดำ, สีเทา และสีเขียวแถบเหลือง สำหรับใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟสที่มีสายดิน แต่ไม่มีสายนิวทรัล
  • แบบที่สอง ฉนวน สีน้ำตาล, สีดำ, สีเทา และสีฟ้า สำหรับใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟสที่มีสายนิวทรัลแต่ไม่มีสายดิน 
สีของสายไฟฟ้า แบบหลายแกน

ทั้งนี้ การใช้สายไฟฟ้าที่ระบุสีฉนวนถูกต้องตามมาตรฐาน จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดในการแยกแยะตัวนำสายไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการแก้ไขหรือต่อเติมระบบไฟฟ้าในภายหลัง

มาตรฐาน IEC ที่ว่าด้วยเรื่อง การระบุสัญลักษณ์ตัวนำด้วยการใช้สีหรือตัวอักษร คือมาตรฐาน IEC 60445 ซึ่งสามารถสรุปการแนะนำในการระบุสัญลักษณ์ของตัวนำไว้ ดังตาราง

จะเห็นได้ว่า โดยหลักแล้ว การระบุสัญลักษณ์ตัวนำตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย มีพื้นฐานมาจากมาตรฐาน IEC 

อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างบางประการที่พบระหว่างมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย และมาตรฐาน IEC 60445 ดังนี้

  1. มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยอนุโลมให้ใช้สีเขียวสำหรับสายดิน กรณีที่เป็นสายไฟฟ้าแกนเดียวได้ แต่มาตรฐาน IEC กำหนดให้ต้องใช้สีเขียวและสีเหลืองร่วมกันเท่านั้น และไม่ให้ใช้สีเขียวหรือสีเหลืองร่วมกับสีอื่น ในการระบุสัญลักษณ์ตัวนำอื่น ๆ เพื่อป้องกันความสับสนด้วย นอกจากนี้ มาตรฐาน IEC ยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้สีเขียวหรือสีเหลืองสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวในการระบุสัญลักษณ์ตัวนำ เว้นแต่กรณีที่แน่ใจว่าจะไม่เกิดความสับสนในการแยกแยะตัวนำ
  1. สำหรับตัวนำสายนิวทรัล มาตรฐาน IEC กำหนดสีด้วยคำภาษาอังกฤษว่า Blue ซึ่งให้ความหมายครอบคลุมทั้งสีน้ำเงินและสีฟ้าในภาษาไทย โดยมาตรฐานแนะนำให้ใช้สีฟ้า (Unsaturated colour blue หรือ Light blue) เพื่อป้องกันความสับสนกับสีอื่น ๆ แต่ก็ไม่ได้ห้ามใช้สีน้ำเงิน ส่วนมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย กำหนดให้สายนิวทรัลใช้สีฟ้าเท่านั้น
  2. นอกจากนี้ มาตรฐาน IEC ยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้สีเขียวหรือสีเหลืองสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวในการระบุสัญลักษณ์ตัวนำ เว้นแต่กรณีที่แน่ใจว่าจะไม่เกิดความสับสนในการแยกแยะตัวนำ
  3. การใช้สีเขียวและสีเหลืองร่วมกันสำหรับสายดิน มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยกำหนดให้เป็นสีเขียวแถบเหลือง ซึ่งตีความได้ว่าพื้นที่ผิวส่วนที่เห็นเป็นสีเขียวจะมีมากกว่าพื้นที่ผิวส่วนเส้นแถบที่เห็นเป็นสีเหลือง แต่ในมาตรฐาน IEC ไม่ได้เจาะจงลงไปว่าต้องใช้สีใดเป็นสีพื้นและสีใดเป็นเส้นแถบ แต่กำหนดโดยให้พื้นที่ผิวของสีใดสีหนึ่งอยู่ระหว่าง 30% – 70% และพื้นที่ผิวที่เหลือเป็นอีกสีหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าจะใช้เป็นสีเขียวแถบเหลือง หรือสีเหลืองแถบเขียวก็ได้ หรืออาจใช้เป็นสีเขียวและสีเหลืองที่มีพื้นที่เท่า ๆ กันสีละ 50% ก็ได้
  4. การกำหนดสีของตัวนำเส้นไฟในระบบไฟฟ้า 3 เฟส มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย กำหนดให้ เฟส 1 ใช้สีน้ำตาล, เฟส 2 ใช้สีดำ และเฟส 3 ใช้สีเทา แต่ในมาตรฐาน IEC ระบุว่าควรใช้ สีดำ, สีน้ำตาล และสีเทา โดยไม่ได้กำหนดเจาะจงลงไปว่าต้องใช้สีใดสำหรับเฟสใด หรือมีการเรียงลำดับอย่างไร ดังนั้นในต่างประเทศจึงอาจพบเจอการใช้สีฉนวนเรียงสลับเฟสแตกต่างไปจากที่ประเทศไทยใช้ได้ เช่น เฟส 1 ใช้สีดำ, เฟส 2 ใช้สีน้ำตาล และเฟส 3 ใช้สีเทา เป็นต้น

และสุดท้ายนี้ เฟ้ลปส์ ดอด์จ หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สีของสายไฟฟ้า และการระบุสัญลักษณ์ตัวนำ ตามมาตรฐานที่ประเทศไทยกำหนด รวมทั้งที่มาจากมาตรฐานสากล IEC แล้วอย่าลืมติดตามว่า เฟ้ลปส์ ดอด์จ จะนำบทความดี ๆ อะไรมาแชร์ให้ทุกท่านได้อ่านกันอีกนะคะ

อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่


ติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม


More Catalog

Price List

Extra high – high voltage Power cables

Medium voltage power cables

Low Voltage Power and Control Cables

Fire Resistant and Low Smoke Halogen Free cables 

Telecommunication Cables

Building Wire and Bare Conductor

สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป มีชนิดอะไรบ้าง

สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด ซึ่งสายไฟฟ้าแต่ละชนิดต่างก็มีการออกแบบโครงสร้างและคุณสมบัติต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะการนำไปติดตั้งใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป 

การเลือกใช้สายไฟฟ้า จึงต้องเลือกชนิดสายให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน และวิธีการติดตั้งสายไฟฟ้าตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ฯ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า

โดยทั่วไป เราอาจแบ่งกลุ่มสายไฟฟ้าตามระดับแรงดันไฟฟ้าใช้งานได้เป็น สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ, สายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง, สายไฟฟ้าแรงดันสูงและสูงพิเศษ

นอกจากนี้ ยังมีสายไฟฟ้าที่ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น สายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ หรือสายไฟฟ้าสำหรับวงจรควบคุม เป็นต้น ซึ่ง สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป ชนิดที่นิยม ได้แก่

1. สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low voltage cables)

1.1 สายไฟฟ้ามาตรฐาน มอก.11 (สาย Building Wire)

เป็นสายไฟฟ้าที่มีตัวนำเป็นทองแดง มีฉนวนเป็น PVC และบางชนิดอาจมีเปลือก PVC หุ้มชั้นนอก สายที่ใช้โดยทั่วไปมีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 300/500V หรือ 450/750V และมีพิกัดอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส สายไฟฟ้ามาตรฐาน มอก.11 มีด้วยกันหลายชนิด แต่ชนิดที่นิยม สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป ได้แก่

60227 IEC 01 (THW) เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน PVC ชั้นเดียว มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 450/750V เป็นสายที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป ใช้เดินร้อยท่อฝังผนังหรือบนฝ้าเพดานภายในอาคาร เดินร้อยท่อเกาะผนัง เดินในราง wire-way หรือเดินลอยในอากาศภายนอกอาคาร

 

60227 IEC 02 (THW-F) เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน PVC ชั้นเดียว มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 450/750V ต่างจากสาย 60227 IEC 01 (THW) ตรงที่ตัวนำเป็นทองแดงเส้นฝอย จึงอ่อนตัวได้ดี ติดตั้งในพื้นที่แคบได้สะดวก นิยมใช้เดินในตู้ควบคุมไฟฟ้า สามารถใช้เดินร้อยท่อ หรือเดินในราง wire-way ได้

  

 

NYY และ NYY-G เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC พิกัดแรงดันไฟฟ้า 450/750V มีตัวนำตั้งแต่ 1 แกน ถึง 4 แกน โดยสาย NYY-G จะมีสายดินแกนสีเขียวแถบเหลืองเพิ่มมาอีก 1 แกน

สาย NYY และสาย NYY-G เป็นสายที่มีความแข็งแรงทนทาน เนื่องจากมีเปลือก PVC หุ้มหนากว่าสายชนิดอื่นๆ ทำให้สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อฝังดินและฝังดินโดยตรงได้ดี และยังสามารถใช้เดินลอยในอากาศ เดินร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล และราง wire-wayได้อีกด้วย

 

60227 IEC 10 เป็นสายไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างเหมือนสาย NYY ชนิดหลายแกน ทำให้ผู้ใช้งานมักสับสนกับสาย NYY ในแง่การติดตั้งใช้งาน ความแตกต่างระหว่างสายไฟสองชนิดนี้คือ สาย 60227 IEC 10 มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 300/500V มีฉนวนและเปลือกบางกว่าสาย NYY และมีขนาดตัวนำสูงสุด 35 ตร.มม. การใช้งานสามารถเดินลอยในอากาศ เดินร้อยท่อ เดินเกาะผนัง วางบนรางเคเบิลและราง wire-way แต่ไม่สามารถติดตั้งร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรงได้เหมือนสาย NYY

 

VCT และ VCT-G เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 450/750V มีตัวนำตั้งแต่ 1 แกน ถึง 4 แกน โดยสาย VCT-G เป็นสายหลายแกนพร้อมแกนสายดินสีเขียวแถบเหลือง สาย VCT และ VCT-G มีจุดเด่นคือตัวนำเป็นทองแดงเส้นฝอยสายมีความนิ่มและอ่อนตัวได้ดี เหมาะกับงานติดตั้งในที่แคบ หรืองานที่สายมีการขยับเคลื่อนที่บ่อยหรือมีความสั่นสะเทือน สาย VCT และ VCT-G ใช้เดินร้อยท่อ เดินลอยในอากาศ เดินเกาะผนัง วางบนรางเคเบิลและราง wire-way รวมทั้งเดินร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรงได้

60227 IEC 53 เป็นสายไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างเหมือนสาย VCT ชนิดหลายแกน คือตัวนำทองแดงเส้นฝอย หุ้มฉนวนและเปลือก PVC แต่มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 300/500V และมีขนาดตัวนำสูงสุด 2.5 ตร.มม. เป็นสายไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหยิบยกเคลื่อนที่ได้ นอกจากนี้ยังใช้เดินลอยในอากาศ เดินร้อยท่อ เดินเกาะผนัง วางบนรางเคเบิลหรือราง wire-way แต่ไม่สามารถติดตั้งร้อยท่อฝังดิน และฝังดินโดยตรงได้เหมือนสาย VCT

VAF และ VAF-G เป็นสายไฟฟ้าแบนที่มีตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC มีพิกัดแรงดัน 300/500V สาย VAF มีตัวนำ 2 แกน และสาย VAF-G มีตัวนำ 2 แกนพร้อมกับสายดินอีกหนึ่งแกน ใช้เดินเกาะผนังด้วยเข็มขัดรัดสาย (ตีกิ๊ป) ห้ามเดินร้อยท่อและห้ามเดินฝังดิน

1.2 สายอะลูมิเนียม

  

THW-A หรือ WPC (Weather Proof Cable) เป็นสายไฟฟ้าตัวนำอะลูมิเนียมตีเกลียวหุ้มฉนวน PVC ชั้นเดียว ผลิตตามมาตรฐาน มอก.293-2541 มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 750V ใช้เดินลอยในอากาศภายนอกอาคาร ไม่สามารถใช้เดินภายในอาคารได้

1.3 สายไฟฟ้าฉนวน XLPE

เป็นสายไฟฟ้าที่ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502-1 หรือ มอก.2143-2546 พิกัดแรงดันไฟฟ้า 0.6/1 kV มีตัวนำเป็นทองแดงตีเกลียว หุ้มฉนวน XLPE (Cross-linked polyethylene) และหุ้มเปลือกนอก PVC ซึ่งฉนวน XLPE สามารถทนอุณหภูมิได้ 90 องศาเซลเซียส สายไฟฟ้าฉนวน XLPE จึงมีพิกัดกระแสไฟฟ้าสูงกว่าสายหุ้มฉนวน PVC ที่มีขนาดตัวนำเท่ากัน

นอกจากนี้ ฉนวน XLPE ยังมีความต้านทานไฟฟ้าสูงกว่า มีความแข็งแรงมากกว่า และป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดีกว่าฉนวน PVC จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นฉนวนของสายไฟฟ้ากำลัง

CV หรือ 0.6/1 kV XLPE/PVC เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE และหุ้มเปลือกนอก PVC มีทั้งชนิดตัวนำแกนเดี่ยว และหลายแกน สามารถใช้ติดตั้ง เดินร้อยท่อ เดินเกาะผนัง วางบนรางเคเบิลและราง wire-way เดินร้อยท่อฝังดิน และฝังดินโดยตรงได้ แต่หากใช้เดินในอาคาร ต้องเดินในช่องเดินสายที่ปิดมิดชิด เช่น เดินร้อยท่อ หรือในราง wire-way ไม่สามารถใช้เดินเกาะผนังโดยตรงหรือวางบนรางเคเบิลภายในอาคารได้ หากต้องการเดินสายหุ้มฉนวน XLPE วางบนรางเคเบิลภายในอาคาร ต้องใช้สายชนิด CV-FD ที่ผ่านการทดสอบต้านเปลวเพลิงตามมาตรฐาน IEC 60332-3 category C

CV-FD หรือ 0.6/1 kV XLPE/FRPVC เป็นสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE ที่มีโครงสร้างเหมือนกันกับสาย CV ยกเว้นเปลือกนอกเป็น FRPVC ซึ่งเป็น PVC เกรดที่ติดไฟได้ยากกว่า PVC ปกติและไม่ลามไฟ มีทั้งชนิดตัวนำแกนเดี่ยว และหลายแกน สามารถใช้ติดตั้ง เดินร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล ร้อยท่อฝังดิน และฝังดินโดยตรง สามารถใช้เดินบนรางเคเบิลภายในอาคารได้ เนื่องจากผ่านการทดสอบต้านเปลวเพลิงตามมาตรฐาน IEC 60332-3 category C

1.4 สายควันน้อย ไร้ฮาโลเจน (Low Smoke Halogen Free cables: LSHF cables)

สายควันน้อย ไร้ฮาโลเจน ( Low smoke halogen free : LSHF ) เป็นสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งในอาคารหรือสถานที่เฉพาะ ที่ต้องการความปลอดภัยสูงกว่าปกติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ เช่น อาคารใต้ผิวดิน อาคารเพื่อการสาธารณะต่าง ๆ อาคารผู้โดยสารสนามบิน

สถานีรถไฟฟ้า โรงมหรสพ โรงภาพยนต์ โรงแรม สถานบริการ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า  0.6/1 kV พิกัดอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส มีทั้งแบบสายแกนเดี่ยวและสายหลายแกน

สายควันน้อย ไร้ฮาโลเจนผลิตโดยใช้วัสดุที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการในด้านความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่

  • ต้านเปลวเพลิง (Flame retardant): หน่วงเหนี่ยวการลุกลามไฟ ต้านทานเปลวไฟไม่ให้ลุกลามไปตามสายไฟฟ้า ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60332-1 และ IEC 60332-3
  • ควันน้อย (Low smoke): ปริมาณควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้สายไฟน้อย ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 61034-2
  • ไม่ปล่อยก๊าซกรด (No acid gases emission): สายไฟฟ้าปราศจากสารประกอบของธาตุฮาโลเจน (Halogen free หรือ Zero halogen) จึงไม่ปล่อยก๊าซพิษที่เป็นกรดเมื่อถูกไฟไหม้ ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60754-1 และ IEC 60754-2

สายควันน้อย ไร้ฮาโลเจนสามารถผลิตให้มีโครงสร้างเหมือนกับสายแรงดันต่ำทั่วไป แต่จะไม่ใช้ PVC เป็นส่วนประกอบของสาย เนื่องจากธรรมชาติของ PVC จะปล่อยควันไฟหนาทึบปริมาณมาก และมีส่วนประกอบของสารฮาโลเจนที่ก่อให้เกิดก๊าซพิษที่มีฤทธิ์เป็นกรดเมื่อถูกไฟไหม้

·         0.6/1 kV LSHF-XLPE สายไฟฟ้าแกนเดี่ยว ตัวนำทองแดงตีเกลียว หุ้มฉนวนชั้นเดียว ไม่มีเปลือกนอก ฉนวนทำจากวัสดุครอสลิงกด์ชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ควันน้อย และไม่ปล่อยก๊าซกรด สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อภายในอาคารได้เหมือนสาย 60227IEC01 (THW) 

·         0.6/1 kV XLPE/LSHF สายไฟฟ้าตัวนำทองแดงตีเกลียว หุ้มฉนวนครอสลิงกด์และมีเปลือกนอกที่มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ควันน้อย และไม่ปล่อยก๊าซกรด มีทั้งชนิดแกนเดี่ยวและหลายแกน มีโครงสร้างสายเหมือนกับสาย CV สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อ และวางบนรางเคเบิลได้เหมือนสาย CV

1.5 สายทนไฟ (Fire Resistant Cables: FRC)

เป็นสายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติทนไฟ (Fire resistance) คือความสามารถในการรักษาความสมบูรณ์ของวงจรไฟฟ้า (Circuit integrity) ไว้ได้ในขณะที่เกิดเพลิงไหม้ สายทนไฟสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องแม้ในขณะที่สายถูกไฟไหม้ เนื่องจากโครงสร้างสายมีชั้นเทปไมก้าพันบนตัวนำทองแดงทำหน้าที่ป้องกันไฟ (Fire barrier) สายทนไฟใช้สำหรับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตหรือวงจรฉุกเฉินต่างๆที่ต้องสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุที่ต้องอพยพหนีภัย เช่น ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้และระบบสื่อสารฉุกเฉิน ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ระบบลิฟต์ดับเพลิง ระบบเครื่องสูบน้ำและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เป็นต้น สายทนไฟมีพิกัดแรงดันไฟฟ้า  0.6/1 kV พิกัดอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส มีทั้งแบบสายแกนเดี่ยวและสายหลายแกน

นอกจากจะมีคุณสมบัติทนไฟแล้ว สายทนไฟยังมีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ควันน้อย และไม่ปล่อยก๊าซกรด เช่นเดียวกับสายควันน้อย ไร้ฮาโลเจนอีกด้วย สายทนไฟมีคุณสมบัติพิเศษดังนี้

  • ทนไฟ (Fire resistance) สายไฟสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เป็นปกติเมื่อถูกไฟไหม้ ทดสอบตามมาตรฐาน BS 6387 หรือ IEC 60331
  •  ต้านเปลวเพลิง (Flame retardant) หน่วงเหนี่ยวการลุกลามไฟ ต้านทานเปลวไฟไม่ให้ลุกลามไปตามสายไฟฟ้า ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60332-1 และ IEC 60332-3
  • ควันน้อย (Low smoke) ปริมาณควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้สายไฟน้อย ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 61034-2
  • ไม่ปล่อยก๊าซกรด (No acid gases emission) สายไฟฟ้าปราศจากสารประกอบของธาตุฮาโลเจน (Halogen free หรือ Zero halogen) จึงไม่ปล่อยก๊าซพิษที่เป็นกรดเมื่อถูกไฟไหม้ ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60754-1 และ IEC 60754-2

·         0.6/1 kV MICA/LSHF-XLPE สายไฟฟ้าทนไฟแกนเดี่ยว ตัวนำทองแดงตีเกลียวและพันด้วยเทปกันไฟไมก้า หุ้มฉนวนชั้นเดียว ไม่มีเปลือกนอก ฉนวนทำจากวัสดุครอสลิงกด์ชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ควันน้อย และไม่ปล่อยก๊าซกรด สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อภายในอาคารได้เหมือนสาย 60227IEC01 (THW)

·         0.6/1 kV MICA/XLPE/LSHF สายไฟฟ้าตัวนำทองแดงตีเกลียวและพันด้วยเทปกันไฟไมก้า หุ้มฉนวนครอสลิงกด์และมีเปลือกนอกที่มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ควันน้อย และไม่ปล่อยก๊าซกรด มีทั้งชนิดแกนเดี่ยวและหลายแกน มีโครงสร้างสายเหมือนกับสาย CV สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อ และวางบนรางเคเบิลได้เหมือนสาย CV

2. สายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง (Medium voltage cables)

สายไฟฟ้าพิกัดแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 1 kV ขึ้นไปถึง 36 kV มีโครงสร้างสายหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการติดตั้งใช้งาน โดยทั่วไปเป็นสายหุ้มฉนวน XLPE โดยสายตัวนำอะลูมิเนียมใช้สำหรับการติดตั้งเดินลอยในอากาศ และสายตัวนำทองแดงใช้สำหรับการติดตั้งรูปแบบอื่นๆ เช่น ติดตั้งฝังดิน เดินร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล เป็นต้น ซึ่งสายไฟฟ้าแรงดันปานกลางก็เป็น สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป เช่นกัน

SAC (Spaced Aerial Cable) เป็นสายไฟฟ้าอากาศตัวนำอะลูมิเนียม หุ้มฉนวนและเปลือก Cross-linked polyethylene (XLPE) ผลิตตามมาตรฐาน มอก.2341-2564 มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 25kV และ 35kV สาย SAC เป็นสายไฟฟ้าชนิดหุ้มฉนวนไม่เต็มพิกัด (Partial insulated cable) และไม่มีชิลด์โลหะที่ต่อลงดิน ดังนั้นสาย SAC จึงต้องติดตั้งเดินลอยในอากาศบนฉนวนลูกถ้วยหรือ Cable Spacer ไม่สามารถเดินร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล หรือวางสัมผัสกับพื้นหรือสิ่งก่อสร้างต่างๆได้ และไม่สามารถสัมผัสกับสายเฟสข้างเคียงได้

·         MXLP เป็นสายไฟฟ้าแรงดันปานกลางที่มีตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีสกรีนโลหะที่ทำจากเทปทองแดงหรือเส้นลวดทองแดง และมีเปลือกนอกเป็น PE หรือ PVC มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 1.8/3(3.6) kV, 3.6/6(7.2) kV, 6/10(12) kV, 8.7/15(17.5) kV, 12/20(24) kV และ 18/30(36) kV ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502 หรือ มอก.2143-2546 มีทั้งชนิดสายแกนเดี่ยวและสาย 3 แกน ใช้ติดตั้งร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล ร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรง โครงสร้างสายที่นิยมใช้ได้แก่

  • Cu/XLPE/CWS/PE 1-Core สายแกนเดี่ยว ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีสกรีนโลหะชนิดลวดทองแดง หุ้มเปลือกนอก PE
  • Cu/XLPE/CTS/PE 3-Core สาย 3 แกน ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีสกรีนโลหะชนิดเทปทองแดง หุ้มเปลือกนอก PE
  • Cu/XLPE/CWS/PVC 1-Core สายแกนเดี่ยว ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีมีสกรีนโลหะชนิดลวดทองแดง หุ้มเปลือกนอก PVC
  • Cu/XLPE/CTS/PVC 3-Core สาย 3 แกน ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีมีสกรีนโลหะชนิดเทปทองแดง หุ้มเปลือกนอก PVC

นอกจากนี้ยังสามารถผลิตโดยเพิ่มชั้นป้องกันพิเศษ เช่น เกราะอาร์เมอร์ หรือเปลือกตะกั่ว เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ต้องการการปกป้องสายมากเป็นพิเศษ เช่น การติดตั้งฝังดินโดยตรง การติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม โรงกลั่น และปิโตรเคมี เป็นต้น

3. สายไฟฟ้าแรงดันสูงและแรงดันสูงพิเศษ (High and Extra-high voltage cables)

สายไฟฟ้าแรงดันสูงที่ใช้ติดตั้งใต้ดินในประเทศไทยเป็นสายไฟฟ้าพิกัดแรงดัน 69 kV และ 115 kV เป็นส่วนใหญ่ โดยมีใช้สายพิกัดแรงดันไฟฟ้า 230 kV หรือสูงกว่าในระบบสายส่งไฟฟ้าใต้ดินบางส่วนรวมถึงในโรงไฟฟ้า สายไฟฟ้าแรงดันสูงเหล่านี้ มีตัวนำเป็นทองแดง หุ้มฉนวน XLPE มีสกรีนโลหะ มีชั้นป้องกันน้ำ และหุ้มเปลือกนอกด้วย PE, PVC หรือ FRPVC

·         69 kV และ 115 kV HXLP สายไฟฟ้าใต้ดินแรงดันสูง 69 kV และ 115 kV ผลิตตามมาตรฐาน มอก.2202-2547 มีตัวนำเป็นทองแดงตีเกลียว หุ้มฉนวน XLPE มีชิลด์เป็นลวดทองแดง (Copper Wire Shield) มีชั้นป้องกันน้ำที่ทำจาก Laminated Aluminium Tape และ Water blocking tape เพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำ มีเปลือกนอกเป็น PE (ชนิด Cu/XLPE/CWS/LAT/PE) ซึ่งเปลือกนอกจะทำเป็นสันโดยรอบ (Ribbed Oversheath) เพื่อช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างลากสาย นอกจากนี้ยังมีสายชนิดที่ผ่านการทดสอบต้านเปลวเพลิงตามมาตรฐาน IEC 60332-3 category A ซึ่งมีเปลือกนอกเป็น FRPVC (ชนิด Cu/XLPE/CWS/LAT/FRPVC) สำหรับใช้ติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัยมากกว่าปกติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

·         230 kV EHXLP สายไฟฟ้าใต้ดินแรงดันสูง 230 kV ตัวนำทองแดงตีเกลียว หุ้มฉนวน XLPE มี Corrugated Aluminium Sheath ที่ทำหน้าที่เป็นชิลด์โลหะและยังช่วยในการป้องกันน้ำ ความชื้น และปกป้องสายจากแรงกระแทกกดทับจากภายนอกได้ด้วย มีเปลือกนอกเป็น PE (ชนิด Cu/XLPE/CAS/PE) หรือ PVC (ชนิด Cu/XLPE/CAS/PVC)

4. สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไปสำหรับวงจรควบคุม (Control Cable)

มีลักษณะเป็นสายหลายแกนที่มีตัวนำขนาดเล็ก โดยทั่วไปไม่เกิน 10 ตร.มม. แต่อาจมีจำนวนแกนมากถึง 30 แกนในสายเคเบิลเส้นเดียว โดยทั่วไปผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502-1, JIS C-3401 หรือ มอก.838-2531 มีตัวนำเป็นทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC พิกัดแรงดันไฟฟ้า 600V มีทั้งชนิดที่มีและไม่มีชิลด์

CVV เป็นสายไฟฟ้าสำหรับวงจรควบคุม มีตัวนำเป็นทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC โดยทั่วไปตัวนำเป็นทองแดงตีเกลียว แต่สามารถผลิตตัวนำทองแดงเส้นฝอยกรณีที่ต้องการความอ่อนตัวของสายมากเป็นพิเศษได้

CVV-S เป็นสายไฟฟ้าสำหรับวงจรควบคุม มีตัวนำเป็นทองแดง หุ้มฉนวนและเปลือก PVC เหมือนกันกับสาย CVV แต่เพิ่มชิลด์เทปทองแดง (Copper tape shield) เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน สามารถผลิตเป็นตัวนำทองแดงเส้นฝอยกรณีที่ต้องการความอ่อนตัวของสายมากเป็นพิเศษได้

สุดท้ายแล้วนั้นจะเห็นได้ว่า สายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป มีหลากหลายชนิดแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นการเลือกใช้สายไฟฟ้า จึงต้องเลือกให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน และรูปแบบวิธีการติดตั้งต้องถูกต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าด้วย เพราะการเลือกใช้และติดตั้งสายไฟฟ้าให้ถูกต้องเหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนที่ใช้งานหรือปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้านั้น


สายไฟฟ้าสำหรับอาคารและที่อยู่อาศัยทั่วไป

More Catalog

Price List

Extra high – high voltage Power cables

Medium voltage power cables

Low Voltage Power and Control Cables

Fire Resistant and Low Smoke Halogen Free cables 

Telecommunication Cables

Building Wire and Bare Conductor


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Line official :  @phelpsdodge_th
  • Tel. ‭02 680 5800‬
  • E-mail : marketing@pdcable.com , export@pdcable.com

www.pdcable.com

สายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับสายดิน🔌

สายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับสายดิน มีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. สายดินต้องเป็นสายตัวนำทองแดง ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า
  2. สายดินอาจเป็นสายตัวนำทองแดงมีฉนวนหุ้มหรือไม่มีฉนวนหุ้ม (สายเปลือย) ก็ได้
  3. ตัวนำอาจเป็นตัวนำเส้นเดี่ยวหรือตีเกลียวก็ได้
  4. สีของฉนวนหรือเปลือกของสายดินต้องเป็นสีเขียวหรือสีเขียวแถบเหลือง
  5. โดยทั่วไปนิยมใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) สีเขียวหรือเขียวแถบเหลืองเป็นสายดิน
  6. หรืออาจใช้สายไฟฟ้าชนิดหลายแกนที่มีสายดินรวมอยู่ด้วยก็ได้ เช่นสาย VAF-G, 60227 IEC 10, VCT-G หรือ NYY-G เป็นต้น

 

สายไฟฟ้าสำหรับสายดิน

สำหรับขนาดของสายดินตามมาตรฐานกำหนดของ วสท. มีดังต่อไปนี้

1.มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้ากำหนดขนาดตัวนำต่ำสุดโดยพิจารณาจากขนาดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ตามตารางที่ 4-2 ของ วสท.

 

ขนาดของสายดินบริภัณฑ์ไฟฟ้า

ยกเว้น สายอ่อนพร้อมปลั๊กเต้าเสียบของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีสายดินเป็นแกนหนึ่งของสาย ซึ่งใช้ไฟจากวงจรที่มีเครื่องป้องกันกระแสเกินขนาดไม่เกิน 20 แอมแปร์ อาจมีขนาดสายดินเล็กกว่าที่กำหนดในตารางได้แต่ต้องไม่เล็กกว่าขนาดตัวนำของแกนสายเส้นไฟและไม่เล็กกว่า 1.0 ตร.มม.

2.ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน พิจารณาจากขนานตัวนำสายเมน (ตัวนำทองแดง)

#การต่อลงดินของระบบไฟฟ้าในบ้าน

การต่อลงดินของระบบไฟฟ้าในบ้าน

 

การต่อลงดินของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นเรื่องสำคัญต่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าอย่างมาก การต่อลงดินที่ถูกต้องตามมาตรฐานนอกจากจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยต่อบุคคลในกรณีที่สัมผัสกับส่วนที่มีไฟรั่วแล้ว ยังมีความสำคัญในการทำให้อุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้าทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้อีกด้วย

การต่อลงดินสำหรับบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

  1. การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า คือการต่อสายนิวทรัล (N) ลงดินที่ตู้เมนสวิตช์ (ตู้ควบคุมไฟฟ้าหลัก) เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าอ้างอิงเป็นศูนย์เท่ากับดิน และช่วยให้อุปกรณ์ป้องกันในระบบไฟฟ้าทำงานได้สมบูรณ์ โดยสายนิวทรัลและสายดินจะต่อร่วมกันที่จุดต่อลงดินของตู้เมนสวิตช์เพียงจุดเดียวเท่านั้น และไม่มีการต่อร่วมกันที่จุดอื่นอีก การต่อลงดินของระบบไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปเป็นดังรูปที่ 1

 

การต่อลงดินของระบบไฟฟ้าในบ้าน

 

                 สิ่งสำคัญในการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า

    • จุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (จุดต่อสายนิวทรัลลงดิน) ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรก (เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์) ของตู้เมนสวิตช์
    • ไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่าหนึ่งจุดภายในบ้านหรืออาคารหลังเดียวกัน
    • สายดินและสายนิวทรัลสามารถต่อร่วมกันได้เพียงแห่งเดียวที่จุดต่อลงดินภายในตู้เมนสวิตช์ ห้ามต่อร่วมกันในที่อื่น ๆ อีก เช่น ในตู้ไฟฟ้าย่อยจะต้องมีขั้วต่อสายดินแยกจากขั้วต่อสายนิวทรัล ห้ามต่อถึงกัน และมีฉนวนคั่นระหว่างขั้วต่อสายนิวทรัลกับตัวตู้ซึ่งต่ออยู่กับขั้วต่อสายดิน
    • สายต่อหลักดินต้องเป็นตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน เป็นเส้นเดียวยาวตลอดโดยไม่มีการต่อ
    • ขนาดสายต่อหลักดินพิจารณาจากขนาดสายเมน (ตัวนำทองแดง) ตามตาราง
  •  

ขนาดสายต่อหลักดิน

 

  1. การต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า คือการนำส่วนที่เป็นโลหะที่อาจมีไฟรั่วของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อลงดินเพื่อความปลอดภัยต่อบุคคล โดยหลักแล้วจะเป็นการต่อจากส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งซึ่งปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น โครงโลหะหรือเปลือกห่อหุ้มโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านสายดินที่เดินกลับไปยังจุดต่อลงดินที่ตู้เมนสวิตช์ ดังนั้นระบบไฟฟ้าของบ้านจึงจำเป็นต้องมีการต่อลงดินที่ถูกต้อง (ตามข้อ 1) และมีการเดินสายดินมาที่อุปกรณ์ไฟฟ้าด้วย การต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าจึงจะสมบูรณ์และปลอดภัย

                 สิ่งสำคัญในการต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า

    • ไม่ควรต่อสายดินของอุปกรณ์หรือโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรง แต่ถ้าได้ดำเนินการไปแล้วให้แก้ไขโดยทำการต่อลงดินที่ตู้เมนสวิตช์อย่างถูกต้อง แล้วจึงเดินสายดินจากตู้เมนสวิตช์มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิม
    • ดวงโคมแสงสว่างและอุปกรณ์ติดตั้งที่เป็นโลหะควรต่อลงดิน ยกเว้นติดตั้งอยู่ห่างเกินระยะที่บุคคลทั่วไปสัมผัสถึง (สูงจากพื้น 2.40 เมตร หรือห่าง 1.50 เมตร ในแนวราบ)
    • การต่อสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าฝากไว้กับโครงสร้างของอาคาร เช่น การต่อสายดินเข้ากับโครงสร้างเหล็กของอาคาร หรือต่อสายดินกับตะปูที่ตอกอยู่กับผนัง เป็นวิธีการต่อลงดินที่ไม่ถูกต้อง
    • สายดินต้องเป็นตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนสีเขียวแถบเหลือง หรือสีเขียว หรือตัวนำเทองแดงเปลือยก็ได้ แต่ไม่สามารถใช้ท่อร้อยสายหรือรางเดินสายที่เป็นโลหะแทนสายดินได้
    • สายดินต้องเดินร่วมไปกับสายเส้นไฟ (สายเฟส) และสายนิวทรัลของวงจรในท่อเดียวกัน
    • ขนาดสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าพิจารณาจากขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ของวงจรนั้น ตามตาราง

 

ขนาดสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า

 

 

 

 

📞 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ‭02-680-5800‬

📲 Line OA : @phelpsdodge_th

FB : PhelpsDodgeThailand

📧 Email : marketing@pdcable.com, export@pdcable.com

🔎 Website: www.pdcable.com

 

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้🔌

โดยเฉพาะเรื่องของกระแสไฟรั่ว..เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า..

พื้นฐานการต่อลงดิน
พื้นฐานการต่อลงดิน

#การติดตั้งสายดินและการต่อลงดิน เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับชีวิตเราและคนในครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะหากบ้านเราไม่มีการต่อลงดิน หากเกิดกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟรั่ว แล้วเราไปสัมผัสส่วนที่มีไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลจากอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านตัวเราลงสู่พื้นดิน ทำให้เราถูกไฟดูดได้และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากมีกระแสไฟรั่วปริมาณมาก แต่ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการติดตั้งสายดินอย่างถูกต้อง #กระแสไฟฟ้าที่รั่วก็จะไหลผ่านสายดินแทน จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตค่ะ

วันนี้ เฟ้ลป์ส ดอดจ์ | Phelps Dodge นำความรู้เรื่องสายดินและการต่อลงดินที่ถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับบ้านพักอาศัยมาแนะนำกัน ตามไปชมกันเลยค่ะ

 

👨‍🔧ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการต่อลงดินกันก่อน การต่อลงดินเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าอย่างมาก การต่อลงดินสำหรับระบบสายไฟฟ้าภายในอาคารประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

🔌การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า คือการต่อระบบไฟฟ้าลงดินที่แผงเมนสวิตช์ (ตู้เมนไฟฟ้า) ซึ่งมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้ากำหนดให้ต่อสายเส้นนิวทรัลลงดินโดยใช้สายต่อหลักดินผ่านลงไปที่หลักดินซึ่งฝังลงไปในดิน โดยให้ทำที่แผงเมนสวิตช์เพียงจุดเดียวและไม่ให้มีการต่อสายนิวทรัลเข้ากับสายดินที่จุดอื่นใดอีก

🔌การต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า คือการเดินสายดินจากอุปกรณ์ไฟฟ้าไปต่อลงดินที่แผงเมนสวิตช์ โดยใช้หลักดินเดียวกันกับการต่อลงดินของระบบไฟฟ้าในข้อ1 สายดินเป็นสายที่เดินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้นจากสายเส้นไฟและสายนิวทรัล โดยต่อจากโครงหรือส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ด้านหลังของตู้เย็น , เครื่องปรับอากาศ , ไมโครเวฟ เป็นต้น ผ่านสายดินกลับไปที่แผงเมนสวิตช์และต่อลงดินที่หลักดิน ซึ่งในภาวะปกติสายดินจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เว้นแต่กรณีที่มีไฟรั่วที่อุปกรณ์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสายดินไปลงดิน ทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อตัวบุคคลที่ไปสัมผัสบริเวณที่มีไฟรั่ว

ความสำคัญของการต่อลงดินอย่างถูกต้อง
เพื่อความปลอดภัยของบุคคล กรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้ามีไฟรั่ว หากไม่มีการต่อลงดิน เมื่อบุคคลไปสัมผัสจุดที่มีไฟรั่วกระแสไฟจะไหลผ่านร่างกายลงดิน ทำให้ถูกไฟดูดและเป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ แม้กระแสไฟรั่วไม่ถึง 1 แอมแปร์

แต่หากมีการต่อลงดิน กระแสไฟที่รั่วจะไหลผ่านสายดินแทนเพราะสายดินมีความต้านทานทางไฟฟ้าต่ำกว่าความต้านทานของร่างกายคนอย่างมาก การต่อลงดินจึงสามารถป้องกันอันตรายจากการถูกไฟดูดได้

เพื่อให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (เซอร์กิตเบรกเกอร์) ทำงานได้อย่างสมบูณ์ กรณีที่เกิดการลัดวงจรและมีไฟรั่วปริมาณมากที่อุปกรณ์ไฟฟ้า หากมีการต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกต้องจะทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านสายดินที่มีความต้านทานต่ำกลับไปครบวงจรที่แผงเมนสวิตช์ได้อย่างสะดวก เมื่อกระแสไฟลัดวงจรปริมาณมาก อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินจึงทำงานตัดวงจรได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว

 

 

 

เลือกใช้สายไฟฟ้าคุณภาพสูงมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก
https://www.pdcable.com/product-household/

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย #ระดับโลก
#Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

 

 

วงจรไฟฟ้าในภายในบ้านที่มีหลายวงจร

วงจรไฟฟ้าในบ้าน

สายไฟในบ้าน ประกอบด้วย สายวงจรย่อย

สายวงจรย่อย คือสายไฟฟ้าที่เดินจากอุปกรณป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้าย (เซอร์กิตเบรคเกอร์ตัวลูกย่อย) ไปยังจุดจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า เต้ารับ หรือดวงโคม ข้อมูลที่สำคัญ สำหรับวงจรย่อย มีดังต่อไปนี้

1. สายวงจรย่อยต้องใช้สายตัวนำทองแดงมีฉนวนหุ้ม เช่นสาย 60227 IEC 01 (THW) หรือ VAF เป็นต้น
คลิกดูสายไฟชนิดต่างๆ

2. ต้องคำนวณโหลดของวงจรย่อยแต่ละวงจรเพื่อหาขนาดตัวนำสายวงจรย่อย แต่ทั้งนี้ขนาดต้องไม่เล็กกว่า 2.5 ตร.มม.

3. ขนาดตัวนำสายวงจรย่อยที่แนะนำสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปเป็นดังนี้     

3.1 วงจรย่อยสำหรับเต้ารับ ที่จ่ายให้เต้ารับหลายจุด ควรใช้ขนาดตัวนำ 4 ตร.มม. ขึ้นไป
3.2 วงจรย่อยสำหรับดวงโคม ขนาดตัวนำ 2.5 ตร.มม. ขึ้นไป ควรกำหนดวงจรย่อยแยกสำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำอุ่นแต่ละเครื่อง

4.สีฉนวนของสายวงจรย่อยกรณีใช้สาย 60227 IEC 01 (THW)
4.1 สายเส้นไฟ : ไม่บังคับ สามารถใช้สีแตกต่างกันสำหรับแต่ละวงจรย่อยเพื่อความสะดวกในการแยกวงจร แต่ห้ามใช้สีฟ้า สีเขียว และสีเขียวแถบเหลือง
4.2 สายนิวทรัล : สีฟ้า
4.3สายดิน : สีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง

5. กรณีบ้านสองชั้นขึ้นไป ต้องแยกวงจรย่อย อย่างน้อยชั้นละ 1 วงจร

6. สำหรับวงจรย่อยของชั้นล่าง แนะนำให้แบ่งวงจรย่อยอย่างน้อยดังนี้ 6.1 ไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร 6.2 เต้ารับภายในอาคาร 6.3 เต้ารับภายนอกอาคาร

7. สายที่แยกจากจุดต่อสายวงจรย่อยเข้าดวงโคมแสงสว่างแต่ละดวง ควรใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.มม.

8. สายที่แยกจากจุดต่อสายวงจรย่อยเข้าเต้ารับแต่ละจุด  ควรใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 2.5 ตร.มม.

9. สายนิวทรัลใช้สีฟ้า และเลือกขนาดเท่ากับสายเฟส (สายเส้นไฟ)

10. ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดินพิจารณาจากขนาดของสายเมนตามที่กำหนดตาราง

11. ขนาดต่ำสุดของสายดินของวงจรย่อยพิจารณาจากขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ตามที่กำหนดในตาราง

ตางรางขนาดสายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับวงจรภายในบ้าน

วงจรไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม การเลือกขนาดสายไฟฟ้าสำหรับแต่ละวงจรต้องเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดพิกัดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ด้วย โดยต้องคำนึงเสมอว่า พิกัดกระแสไฟฟ้าของสายที่เลือกต้องไม่ต่ำกว่าขนาดพิกัดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ เพราะเมื่อเกิดภาวะโหลดเกินเซอร์กิตเบรคเกอร์ต้องตัดวงจรก่อนที่กระแสจะเกินกว่าพิกัดที่สายไฟฟ้าจะรับได้   เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟฟ้าเสียหายได้

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
E-mail : Marketing@pdcable.com

ความรู้ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้

เคยทราบกันไหมคะ ว่าบ้านที่เราอยู่ทุกวันนั้น
มีการเดินสายไฟอย่างไร?

ระบบสายไฟภายในบ้าน

ความรู้ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ค่ะ เนื่องจากปัจจุบันจะนิยมติดตั้งสายไฟฟ้าโดยเดิน ซ่อนสายไว้ในผนังหรือฝ้าเพดาน ทำให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านแทบไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าตาของสายไฟฟ้า และ ขนาดของสายไฟฟ้าที่ติดตั้งในบ้านได้เลย นอกจากพี่ๆช่างไฟฟ้าที่เป็นผู้ติดตั้ง หรือเมื่อเจ้าของบ้านต้องทำการแก้ไขต่อเติมระบบไฟฟ้าในบ้าน ดังนั้นหากมีโอกาสที่ต้องเดินสายไฟฟ้าในบ้านเมื่อใด ควรต้องแน่ใจว่าได้เลือกใช้สายไฟฟ้าอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยต่อการติดตั้ง 

เฟ้ลปส์ ดอด์จ จะขอแบ่งปันความรู้ เรื่องการเลือกใช้สายไฟฟ้าและการติดตั้งสายไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย ที่ถูกต้องและปลอดภัยตามมาตรฐาน โดยสามารถดูได้จากภาพประกอบด้านล่าง

สายไฟในบ้าน

1. สายเมน (สายประธาน) คือสายไฟฟ้าที่เดินจากมิเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาที่แผงเมนสวิตช์ (ตู้เมนไฟฟ้าหรือตู้คอนซูเมอร์) ของบ้านนั่นเอง

  1. สายเมนต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับโหลดรวมของทุกวงจรย่อยได้
  2. ตัวนำสายเมนต้องรับกระแสได้ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของโหลดสูงสุดของมิเตอร์ไฟฟ้า และต้องไม่เล็กกว่าขนาดตามที่ระบุในตาราง
  3. สายเมนควรเลือกใช้สายตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน เช่น สาย 60227 IEC 01 (THW)   https://www.pdcable.com/product-household/
  4. สายเมนชนิดตัวนำอลูมิเนียมหุ้มฉนวน เช่นสาย THW-A อนุญาตให้ใช้ได้สำหรับการเดินสายลอยในอากาศภายนอกอาคารในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น และขนาดต้องไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม. แต่สายเมนส่วนที่เดินในอาคารต้องใช้สายตัวนำทองแดง
  5. สีของสายเมน อยู่ในข้อยกเว้น ไม่จำเป็นต้องใช้สีน้ำตาลและฟ้า อาจใช้สายสีดำแล้วทำเครื่องหมายสำหรับสายเส้นไฟและนิวทรัลได้  https://goo.gl/oZoNZQ

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
E-mail : Marketing@pdcable.com

Phelps Dodge ผู้ผลิตสายไฟคุณภาพสูง สนับสนุนสายไฟ

พร้อมให้การอบรมเชิงทฤษฏี ทดสอบข้อเขียน เพื่อใช้ในการแข่งขันทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐาน ระดับ “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

 

 

เก็บภาพบรรยากาศ น้องๆ กลุ่มอาชีวศึกษา ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐาน ระดับ “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้ากำลัง #ทักษะการติดตั้งไฟฟ้าด้วยท่อร้อยสาย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 30 พ.ย. 2561 ค่ะ

สำหรับงานนี้ Phelps Dodge ได้ให้การอบรมเชิงทฤษฏี ทำการทดสอบข้อเขียน และได้ร่วมเป็นผู้สนับสนุนสายไฟฟ้าเพื่อใช้ในการแข่งขันตลอดงานนี้ค่ะ

Phelps Dodge หวังเป็นอย่างยิ่งว่า น้องๆ ทุกคน 
จะสามารถนำความรู้ และ ทักษะด้านไฟฟ้าไปใช้เพื่อเป็น #ช่างไฟฟ้าระดับมืออาชีพ ในอนาคตต่อไป

ติดตามข่าวสารดีๆ ได้ที่  https://www.facebook.com/PhelpsDodgeThailand/

 

 

สัมมนาฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่าย ต่อยอดความเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องไฟฟ้า

แบบมืออาชีพ

ผู้ผลิตสายไฟอันดับหนึ่ง เปิดฟรีสัมมนา
ผู้ผลิตสายไฟอันดับหนึ่ง เปิดฟรีสัมมนา

เฟ้ลป์ส ดอดจ์ จัดฟรีสัมมนานเพื่อเพิ่มศักยภาพวิศวกรรมไฟฟ้าแบบมืออาชีพ เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านระบบไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับ

วิศวกรระบบไฟฟ้า ผู้รับเหมางานไฟฟ้า และ  ผู้สนใจทั่วไป ณ ศูนย์ประชุมฯ KICE จังหวัดขอนแก่น  โดยทุกท่านที่ลงทะเบียนสามารถเข้าร่วม สัมมนาฟรี!! หัวข้อ

🔌มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า

🔌การติดตั้งสายทนไฟ และ PV Cable

🔌รับเหมาอย่างไร..ให้กำไรงอกเงย และการบริหารต้นทุน จาก BUILK

📜พร้อมรับประกาศนียบัตร หลังจบสัมมนา 📜

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนา >> https://www.pdcable.com/register-seminar/

สอบถามเพิ่มเติม Line@ : @phelpsdodge_th

ความรู้ทั้งหมดจะสามารถนำไปเสริมกลยุทธ์ ในวิชาชีพของทุกท่านได้แบบมืออาชีพ #เน้นความปลอดภัย เป็นอันดับหนึ่ง และการเลือกใช้สายไฟฟ้าให้ตรงตามวัตถุประสงค์

บรรยายโดย อ.ลือชัย ทองนิล และ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญ จาก Phelps Dodge

พิเศษ!! โปรแกรมการใช้งานแบบ online สำหรับผู้ประกอบการ เพื่อก้าวสู่การเป็น#เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน จาก BUILK

  • วันและเวลา : วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน 2561 8.30 – 16.00 น.
  • สถานที่: ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ KICE Center จ.ขอนแก่น
    ณ ห้องสัมมนา M1

สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว รอรับการตอบกลับ และ รับรหัสเพื่อเข้าสัมมนาจากทางเรานะคะ

**สัมมนาฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด**
**พร้อมอาหารรับรองสำหรับทุกท่านที่มาร่วมงาน **

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย #ระดับโลก

 ไขข้อสงสัย สายไฟชนิด NYY และ 60227 IEC 10 แตกต่างกันอย่างไร ?

สายไฟชนิด NYY และ 60227 IEC 10 แตกต่างกันอย่างไร

สายไฟฟ้าชนิด NYY แบบหลายแกน และชนิด 60227 IEC 10  ต่างก็มีโครงสร้างสายที่เหมือนกัน คือเป็นสายตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน PVC และมีเปลือก PVC หุ้มอีก 2 ชั้น คือเปลือกชั้นในและเปลือกชั้นนอก ซึ่งถ้ามองด้วยสายตาจากภายนอกก็แทบจะแยกความแตกต่างกันไม่ออกเลยทีเดียว

ถึงแม้สายไฟทั้ง 2 ชนิดนี้ จะมีโครงสร้างสายที่เหมือนกัน แต่ความจริงแล้ว เป็นสายคนละชนิดกัน และมีข้อกำหนดในการติดตั้งใช้งานแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ใช้งานและติดตั้งสายไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องตรงตามมาตรฐานกำหนด 

ความแตกต่างของสายไฟฟ้าชนิด NYY แบบหลายแกน และสายชนิด 60227 IEC 10 ที่สำคัญคือ

  1.       อ้างอิงมาตรฐาน มอก. คนละฉบับกัน
  2.       พิกัดแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เท่ากัน
  3.       มีขนาดตัวนำให้เลือกใช้งานไม่เท่ากัน
  4.       มีข้อกำหนดวิธีการติดตั้งสายแตกต่างกัน

 

เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเลือกใช้งาน สายไฟชนิด NYY และ 60227 IEC 10  เฟ้ลปส์ ดอด์จได้สรุปข้อแตกต่างของสายไฟทั้ง 2 ชนิดไว้ในตาราง ดังนี้

ความแตกต่างของสายไฟฟ้าชนิด NYY และชนิด 60227 IEC 10

สายไฟชนิด NYY และ 60227 IEC 10 แตกต่างกันอย่างไร

จากข้อมูลในตาราง สายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 10 หรือที่นิยมเรียกว่าสาย IEC 10 มีความแตกต่างจากสาย NYY อย่างชัดเจน เพราะแม้ว่าจะอ้างอิงมาตรฐาน มอก.11 เหมือนกัน แต่เป็นมาตรฐานคนละฉบับกัน คือสาย NYY อ้างอิงมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101 – 2559 ส่วนสาย 60227 IEC 10 อ้างอิงมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 4 – 2553 โดยมีข้อกำหนดสำหรับสายไฟฟ้าทั้งสองชนิดแยกออกจากกันอย่างชัดเจน

มาตรฐาน มอก.11 ถูกร่างขึ้นโดยรับเอาสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน IEC 60227 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลมาใช้ โดยสายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 10 เป็นหนึ่งในสายที่รับมาจากมาตรฐาน IEC 60227 ดังนั้นจึงเป็นสายไฟฟ้าที่เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานกันโดยทั่วไปในต่างประเทศด้วย

ส่วนสายชนิด NYY ไม่มีอยู่ในมาตรฐาน IEC 60227  (สังเกตจากชื่อสายไม่ได้เป็นรหัสชนิด 60227 IEC XX) แต่เป็นสายที่เพิ่มเข้าไปในมาตรฐาน มอก.11 เพื่อให้มีชนิดสายไฟฟ้าครอบคลุมลักษณะการใช้งานสำหรับประเทศไทย ดังนั้น สายไฟชนิด NYY ตามมาตรฐาน มอก.11-2559 จึงไม่ใช่สายชนิดที่เป็นสากลตามมาตรฐาน IEC 60227

จุดสังเกตในการแยกความแตกต่างของสายไฟฟ้าทั้งสองชนิดนี้คือ พิกัดแรงดันไฟฟ้าที่แตกต่างกัน โดยสาย NYY มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 450/750V ส่วนสาย 60227 IEC 10 มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 300/500V ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากข้อความที่พิมพ์ระบุอยู่บนสายไฟฟ้า บนฉลาก หรือบนล้อบรรจุสายไฟ

ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย สายไฟฟ้าชนิด NYY และ 60227 IEC 10 สามารถใช้ในงานทั่วไป โดยใช้วิธีการติดตั้งสายไฟฟ้าได้หลายรูปแบบ แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ สายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 10 ไม่สามารถใช้ติดตั้งร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง และไม่ใช้ในการเดินลอยในอากาศเหมือนสาย NYY ดังแสดงในตาราง

วิธีการติดตั้งสายไฟฟ้าชนิด NYY และ 60227 IEC 10

สายไฟชนิด NYY และ 60227 IEC 10 แตกต่างกันอย่างไร

นอกจากนี้ ในต่างประเทศ ยังมีการใช้งานสายไฟฟ้าที่ใช้ชื่อ NYY เหมือนกัน ซึ่งมักจะอ้างอิงมาตรฐาน VDE และมีพิกัดแรงดัน 0.6/1 kV ซึ่งสาย NYY มาตรฐาน VDE นี้ แม้จะมีชื่อสาย NYY เหมือนกัน แต่มีคุณสมบัติไม่เหมือนกันกับสาย NYY มาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101-2559 ของประเทศไทย เนื่องจากอ้างอิงมาตรฐานคนละฉบับ จึงมีข้อกำหนดในรายละเอียดของวัสดุ โครงสร้าง และการทดสอบสายแตกต่างกัน ดังนั้นสาย NYY มาตรฐาน VDE ที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101-2559 นี้ จึงเป็นสายคนละชนิดกันและไม่ได้อยู่ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย

อย่าลืมติดตามว่าเฟ้ลปส์ ดอด์จ จะนำบทความดี ๆ อะไรมาฝากกันอีกนะคะ

อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่


ติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม


More Catalog

Price List

Extra high – high voltage Power cables

Medium voltage power cables

Low Voltage Power and Control Cables

Fire Resistant and Low Smoke Halogen Free cables 

Telecommunication Cables

Building Wire and Bare Conductor

ชื่อสาย : NYY, NYY-G

โครงสร้างสาย : สายไฟ NYY , NYY-G ตัวนำทองแดงเส้นเดี่ยวแข็งหรือตีเกลียว, ฉนวนพีวีซี, มีทั้งแกนเดียวและหลายแกน
แรงดัน :  450/750 V
ขนาด : แกนเดียว : 1-500 sq.mm. หลายแกน : 50-300 sq.mm.
มาตรฐาน : มอก. 11-2559
การใช้งาน : สายไฟ NYY, NYY-G ที่ใช้เดินภายในและภายนอกอาคาร นิยมใช้เดินร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรงในสวน
หรือก่อนเข้าอาคาร, สายไฟ NYY, NYY-G สามารถร้อยท่อฝังผนังคอนกรีต, ร้อยท่อเดินใต้ฝ้า,เดินในช่องเดินสาย
และต้องป้องกันน้ำเข้าช่องเดินสาย, สาย NYY , NYY-G สามารถวางบนรางเคเบิล, เดินลอยในอากาศ, เดินบนฉนวนลูกถ้วย
Continue reading “NYY, NYY-G”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตั้งค่าทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่เกี่ยวกับดำเนินการฟังก์ชัน

    ยินยอมให้ใช้ Functionality Cookies ที่ทำหน้าที่จดจำการตั้งค่าบนแพลตฟอร์ม เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ ภาษา ฟ้อนต์ และรูปแบบแพลตฟอร์ม

  • คุกกี้ประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์

    ยินยอมให้ใช้ Performance Cookies เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละส่วนของเว็บไซต์เพื่อการปรับปรุง

  • คุกกี้วิเคราะห์สำหรับการโฆษณา

    ยินยอมให้ใช้ Advertising Cookies เพื่อการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจได้มากขึ้น

บันทึก