สายไฟฟ้าสายทนไฟใช้กับที่ใดบ้าง
“วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต” คือ วงจรไฟฟ้าที่ออกแบบให้สามารถทนต่อความร้อนจากอัคคีภัย มีความแข็งแรงทางกลเป็นพิเศษ คงสภาพความปลอดภัยต่อกระแสไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจร เพื่อให้สามารถช่วยชีวิตผู้คนที่ติดอยู่ในสถานที่เกิดอัคคีภัยหรือภาวะฉุกเฉินอื่นๆ ในอาคารชุด อาคารสูงหรืออาคารใหญ่พิเศษ
ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ เป็นสถานที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัยหรือเข้าใช้งานอาคารเป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดอัคคีภัยหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆจึงไม่สามารถอพยพหนีภัยได้ง่าย นอกจากนี้ วงจรไฟฟ้าปกติจะถูกตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่วเมื่อฉีดน้ำดับเพลิง และเมื่อวงจรไฟฟ้าปกติถูกเพลิงเผาไหม้ หรือถูกกระแทกกดทับต่างๆ จะชำรุดเสียหายไม่สามารถทำงานได้ แต่ในภาวะเช่นนี้ วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต ยังจำเป็นต้องมีไฟฟ้าเพื่อให้สามารถทำงานอยู่ได้ตามที่กำหนดไว้ ดังนั้นสายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตจึงต้องเป็นสายไฟฟ้าทนไฟที่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเพียงพอสำหรับการอพยพหนีภัย และการเข้าช่วยเหลือของทีมผจญเพลิงหรือทีมกู้ภัย
อาคารที่กำหนดให้ต้องมีวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตและต้องติดตั้งด้วยสายทนไฟ ได้แก่
1) อาคารสูง (อาคารที่มีความสูง 23 เมตรขึ้นไป)
2) อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่มีขนาดพื้นที่รวม 10,000 ตร.ม ขึ้นไป)
3) อาคารหรือสถานที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีระบบวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต
4) โรงมหรสพ สถานบริการ โรงแรม
วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตที่ต้องใช้งานได้ดีอย่างต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน มีดังนี้
1.ระบบจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉิน
2.ระบบสัญญานเตือนอัคคีภัย
3.ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
4.ระบบอัดอากาศสำหรับบันไดหนีไฟ
5.ระบบดูดและระบายควันรวมทั้งระบบควบคุมการกระจายไฟและควัน
6.ระบบเครื่องสูบน้ำและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
7.ระบบสื่อสารฉุกเฉินสำหรับแจ้งเหตุเพลิงไหม้
8.ระบบลิฟต์ผจญเพลิง
โดยแบ่งออกเป็นระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง (ข้อ 1 และ 2) และระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงมาก (ข้อ 3 – 8) ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติของสายทนไฟที่ใช้กับระบบทั้งสองดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตที่ต้องใช้สายทนไฟ
ตารางวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต ตู้ MDB,EMDB ชั้นเหนือดิน (ตั้งแต่ ชั้น 1 ขึ้นไป)
สำหรับอาคารเพื่อการสาธารณะใต้ผิวดิน (เช่น ชั้นใต้ดินของอาคารทั่วไป อาคารจอดรถใต้ดิน สถานีรถไฟใต้ดิน อุโมงค์ใต้ดิน เป็นต้น) มีการแบ่งวงจรไฟฟ้าเป็น 3 ประเภทตามโหลดการใช้งานคือ ประเภทที่ 1 ระบบที่ต้องการความปลอดภัยตามปกติ, ประเภทที่ 2 ระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง และ ประเภทที่ 3 ระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงมาก โดยระบบที่ต้องใช้สายทนไฟคือประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 และมีการกำหนดคุณสมบัติของสายทนไฟที่ใช้กับระบบทั้งสองดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ระบบไฟฟ้าอาคารเพื่อการสาธารณะใต้ผิวดินที่ต้องใช้สายทนไฟ
ตารางวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต ตู้ MDB, EMDB ชั้นใต้ดิน ( BASEMENT )
สายทนไฟ PDFireTec ของเฟ้ลปส์ดอด์จ ผ่านมาตรฐานทนไฟ BS 6387 category CWZ ซึ่งเป็นระดับชั้นการทนไฟสูงสุด และมีคุณสมบัติครบตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯกำหนด สามารถใช้กับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตตามที่กำหนดในมาตรฐานการติดตั้งฯได้ทั้งหมด
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง สายทนไฟ สายไฟคุณสมบัติพิเศษ จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ คลิกเลย
อ่านข้อมูลเพิ่ม Low Smoke & Halogen Free คลิกเลย
สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ
Line : @phelspdodge_th
เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด