Tel : 0-2680-5800

เหตุผลที่ควรเลือกซื้อสายไฟฟ้าจาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ 

ทองแดงคุณภาพสูงสุดเกรดA

เหตุผลที่ควรเลือกซื้อสายไฟจากเฟ้ลป์ส ดอดจ์ เพราะว่าเราเลือกใช้วัตถุดิบทองแดงคุณภาพสูงเกรด A ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.99% จากผู้ผลิตที่ขึ้นทะเบียนในตลาดซื้อขายโลหะ London Metal Exchange (LME) ของประเทศอังกฤษ

ทำไมจึงควรเลือกใช้ตัวนำ ทองแดง ความบริสุทธิ์ 99.99% ?
เพราะ ทองแดง บริสุทธิ์ 99.99% คือ ทองแดงเกรดที่มีความบริสุทธิ์ของทองแดงสูง
สำหรับใช้ผลิตเป็นตัวนำไฟฟ้าโดยเฉพาะ (Electrical conductor grade) โดยการหลอมแผ่นทองแดง (Copper cathode) ที่มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 99.99% โดยไม่มีส่วนผสมอื่นเจือปน เพื่อให้ได้แท่งทองแดง (Copper r rod) ที่มีค่าการนำไฟฟ้าสูงมากกว่า 101% ตามมาตรฐาน IACS สามารถรีดเป็นเส้นลวดตัวนำขนาดเล็กมาก และดัดโค้งงอได้โดยไม่เปราะหักและขาดง่าย

สายไฟฟ้าที่ตัวนำทองแดงมีความบริสุทธิ์ต่ำ จะมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำ เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเต็มพิกัด จะทำให้เกิดความร้อนสูง ทำให้ฉนวนและส่วนประกอบอื่นเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วและสายไฟจะมีอายุการใช้งานสั้นลง อีกทั้งความร้อนที่เกิดขึ้นอาจสูงจนทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์ หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นได้ อย่างเช่น ฉนวนไหม้ หลอมละลาย และเกิด ไฟฟ้าลัดวงจร

ดังนั้น จึงควรคำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตไว้ก่อนอันดับหนึ่งด้วยการเลือกใช้สายไฟฟ้าที่มีคุณภาพดีค่ะ

VDO ดีๆ จาก Phelps Dodge

https://goo.gl/Bvg7dS

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย
#ระดับโลก #Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

สายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับสายดิน🔌

สายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับสายดิน มีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. สายดินต้องเป็นสายตัวนำทองแดง ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า
  2. สายดินอาจเป็นสายตัวนำทองแดงมีฉนวนหุ้มหรือไม่มีฉนวนหุ้ม (สายเปลือย) ก็ได้
  3. ตัวนำอาจเป็นตัวนำเส้นเดี่ยวหรือตีเกลียวก็ได้
  4. สีของฉนวนหรือเปลือกของสายดินต้องเป็นสีเขียวหรือสีเขียวแถบเหลือง
  5. โดยทั่วไปนิยมใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) สีเขียวหรือเขียวแถบเหลืองเป็นสายดิน
  6. หรืออาจใช้สายไฟฟ้าชนิดหลายแกนที่มีสายดินรวมอยู่ด้วยก็ได้ เช่นสาย VAF-G, 60227 IEC 10, VCT-G หรือ NYY-G เป็นต้น

 

สายไฟฟ้าสำหรับสายดิน

สำหรับขนาดของสายดินตามมาตรฐานกำหนดของ วสท. มีดังต่อไปนี้

1.มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้ากำหนดขนาดตัวนำต่ำสุดโดยพิจารณาจากขนาดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ตามตารางที่ 4-2 ของ วสท.

 

ขนาดของสายดินบริภัณฑ์ไฟฟ้า

ยกเว้น สายอ่อนพร้อมปลั๊กเต้าเสียบของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีสายดินเป็นแกนหนึ่งของสาย ซึ่งใช้ไฟจากวงจรที่มีเครื่องป้องกันกระแสเกินขนาดไม่เกิน 20 แอมแปร์ อาจมีขนาดสายดินเล็กกว่าที่กำหนดในตารางได้แต่ต้องไม่เล็กกว่าขนาดตัวนำของแกนสายเส้นไฟและไม่เล็กกว่า 1.0 ตร.มม.

2.ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน พิจารณาจากขนานตัวนำสายเมน (ตัวนำทองแดง)

เพราะเรื่องของสายไฟ..ไม่ใช่อะไรก็ได้🔌

โดยเฉพาะเรื่องของกระแสไฟรั่ว..เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า..

พื้นฐานการต่อลงดิน
พื้นฐานการต่อลงดิน

#การติดตั้งสายดินและการต่อลงดิน เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับชีวิตเราและคนในครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะหากบ้านเราไม่มีการต่อลงดิน หากเกิดกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟรั่ว แล้วเราไปสัมผัสส่วนที่มีไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลจากอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านตัวเราลงสู่พื้นดิน ทำให้เราถูกไฟดูดได้และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากมีกระแสไฟรั่วปริมาณมาก แต่ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการติดตั้งสายดินอย่างถูกต้อง #กระแสไฟฟ้าที่รั่วก็จะไหลผ่านสายดินแทน จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตค่ะ

วันนี้ เฟ้ลป์ส ดอดจ์ | Phelps Dodge นำความรู้เรื่องสายดินและการต่อลงดินที่ถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับบ้านพักอาศัยมาแนะนำกัน ตามไปชมกันเลยค่ะ

 

👨‍🔧ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการต่อลงดินกันก่อน การต่อลงดินเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าอย่างมาก การต่อลงดินสำหรับระบบสายไฟฟ้าภายในอาคารประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

🔌การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า คือการต่อระบบไฟฟ้าลงดินที่แผงเมนสวิตช์ (ตู้เมนไฟฟ้า) ซึ่งมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้ากำหนดให้ต่อสายเส้นนิวทรัลลงดินโดยใช้สายต่อหลักดินผ่านลงไปที่หลักดินซึ่งฝังลงไปในดิน โดยให้ทำที่แผงเมนสวิตช์เพียงจุดเดียวและไม่ให้มีการต่อสายนิวทรัลเข้ากับสายดินที่จุดอื่นใดอีก

🔌การต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า คือการเดินสายดินจากอุปกรณ์ไฟฟ้าไปต่อลงดินที่แผงเมนสวิตช์ โดยใช้หลักดินเดียวกันกับการต่อลงดินของระบบไฟฟ้าในข้อ1 สายดินเป็นสายที่เดินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้นจากสายเส้นไฟและสายนิวทรัล โดยต่อจากโครงหรือส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ด้านหลังของตู้เย็น , เครื่องปรับอากาศ , ไมโครเวฟ เป็นต้น ผ่านสายดินกลับไปที่แผงเมนสวิตช์และต่อลงดินที่หลักดิน ซึ่งในภาวะปกติสายดินจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เว้นแต่กรณีที่มีไฟรั่วที่อุปกรณ์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสายดินไปลงดิน ทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อตัวบุคคลที่ไปสัมผัสบริเวณที่มีไฟรั่ว

ความสำคัญของการต่อลงดินอย่างถูกต้อง
เพื่อความปลอดภัยของบุคคล กรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้ามีไฟรั่ว หากไม่มีการต่อลงดิน เมื่อบุคคลไปสัมผัสจุดที่มีไฟรั่วกระแสไฟจะไหลผ่านร่างกายลงดิน ทำให้ถูกไฟดูดและเป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ แม้กระแสไฟรั่วไม่ถึง 1 แอมแปร์

แต่หากมีการต่อลงดิน กระแสไฟที่รั่วจะไหลผ่านสายดินแทนเพราะสายดินมีความต้านทานทางไฟฟ้าต่ำกว่าความต้านทานของร่างกายคนอย่างมาก การต่อลงดินจึงสามารถป้องกันอันตรายจากการถูกไฟดูดได้

เพื่อให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (เซอร์กิตเบรกเกอร์) ทำงานได้อย่างสมบูณ์ กรณีที่เกิดการลัดวงจรและมีไฟรั่วปริมาณมากที่อุปกรณ์ไฟฟ้า หากมีการต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกต้องจะทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านสายดินที่มีความต้านทานต่ำกลับไปครบวงจรที่แผงเมนสวิตช์ได้อย่างสะดวก เมื่อกระแสไฟลัดวงจรปริมาณมาก อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินจึงทำงานตัดวงจรได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว

 

 

 

เลือกใช้สายไฟฟ้าคุณภาพสูงมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก
https://www.pdcable.com/product-household/

#PhelpsDodge #สายไฟคุณภาพสูง
#มาตรฐานความปลอดภัย #ระดับโลก
#Safety #Lifeline #ทุกสายคือชีวิต

📞Tel. ‭02 680 5800‬
🌏www.pdcable.com
📱Line@: @phelpsdodge_th

 

 

วงจรไฟฟ้าในภายในบ้านที่มีหลายวงจร

วงจรไฟฟ้าในบ้าน

สายไฟในบ้าน ประกอบด้วย สายวงจรย่อย

สายวงจรย่อย คือสายไฟฟ้าที่เดินจากอุปกรณป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้าย (เซอร์กิตเบรคเกอร์ตัวลูกย่อย) ไปยังจุดจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า เต้ารับ หรือดวงโคม ข้อมูลที่สำคัญ สำหรับวงจรย่อย มีดังต่อไปนี้

1. สายวงจรย่อยต้องใช้สายตัวนำทองแดงมีฉนวนหุ้ม เช่นสาย 60227 IEC 01 (THW) หรือ VAF เป็นต้น
คลิกดูสายไฟชนิดต่างๆ

2. ต้องคำนวณโหลดของวงจรย่อยแต่ละวงจรเพื่อหาขนาดตัวนำสายวงจรย่อย แต่ทั้งนี้ขนาดต้องไม่เล็กกว่า 2.5 ตร.มม.

3. ขนาดตัวนำสายวงจรย่อยที่แนะนำสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปเป็นดังนี้     

3.1 วงจรย่อยสำหรับเต้ารับ ที่จ่ายให้เต้ารับหลายจุด ควรใช้ขนาดตัวนำ 4 ตร.มม. ขึ้นไป
3.2 วงจรย่อยสำหรับดวงโคม ขนาดตัวนำ 2.5 ตร.มม. ขึ้นไป ควรกำหนดวงจรย่อยแยกสำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำอุ่นแต่ละเครื่อง

4.สีฉนวนของสายวงจรย่อยกรณีใช้สาย 60227 IEC 01 (THW)
4.1 สายเส้นไฟ : ไม่บังคับ สามารถใช้สีแตกต่างกันสำหรับแต่ละวงจรย่อยเพื่อความสะดวกในการแยกวงจร แต่ห้ามใช้สีฟ้า สีเขียว และสีเขียวแถบเหลือง
4.2 สายนิวทรัล : สีฟ้า
4.3สายดิน : สีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง

5. กรณีบ้านสองชั้นขึ้นไป ต้องแยกวงจรย่อย อย่างน้อยชั้นละ 1 วงจร

6. สำหรับวงจรย่อยของชั้นล่าง แนะนำให้แบ่งวงจรย่อยอย่างน้อยดังนี้ 6.1 ไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร 6.2 เต้ารับภายในอาคาร 6.3 เต้ารับภายนอกอาคาร

7. สายที่แยกจากจุดต่อสายวงจรย่อยเข้าดวงโคมแสงสว่างแต่ละดวง ควรใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.มม.

8. สายที่แยกจากจุดต่อสายวงจรย่อยเข้าเต้ารับแต่ละจุด  ควรใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 2.5 ตร.มม.

9. สายนิวทรัลใช้สีฟ้า และเลือกขนาดเท่ากับสายเฟส (สายเส้นไฟ)

10. ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดินพิจารณาจากขนาดของสายเมนตามที่กำหนดตาราง

11. ขนาดต่ำสุดของสายดินของวงจรย่อยพิจารณาจากขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ตามที่กำหนดในตาราง

ตางรางขนาดสายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับวงจรภายในบ้าน

วงจรไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม การเลือกขนาดสายไฟฟ้าสำหรับแต่ละวงจรต้องเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดพิกัดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ด้วย โดยต้องคำนึงเสมอว่า พิกัดกระแสไฟฟ้าของสายที่เลือกต้องไม่ต่ำกว่าขนาดพิกัดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ เพราะเมื่อเกิดภาวะโหลดเกินเซอร์กิตเบรคเกอร์ต้องตัดวงจรก่อนที่กระแสจะเกินกว่าพิกัดที่สายไฟฟ้าจะรับได้   เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟฟ้าเสียหายได้

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
E-mail : Marketing@pdcable.com

ความรู้ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้

เคยทราบกันไหมคะ ว่าบ้านที่เราอยู่ทุกวันนั้น
มีการเดินสายไฟอย่างไร?

ระบบสายไฟภายในบ้าน

ความรู้ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ค่ะ เนื่องจากปัจจุบันจะนิยมติดตั้งสายไฟฟ้าโดยเดิน ซ่อนสายไว้ในผนังหรือฝ้าเพดาน ทำให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านแทบไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าตาของสายไฟฟ้า และ ขนาดของสายไฟฟ้าที่ติดตั้งในบ้านได้เลย นอกจากพี่ๆช่างไฟฟ้าที่เป็นผู้ติดตั้ง หรือเมื่อเจ้าของบ้านต้องทำการแก้ไขต่อเติมระบบไฟฟ้าในบ้าน ดังนั้นหากมีโอกาสที่ต้องเดินสายไฟฟ้าในบ้านเมื่อใด ควรต้องแน่ใจว่าได้เลือกใช้สายไฟฟ้าอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยต่อการติดตั้ง 

เฟ้ลปส์ ดอด์จ จะขอแบ่งปันความรู้ เรื่องการเลือกใช้สายไฟฟ้าและการติดตั้งสายไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย ที่ถูกต้องและปลอดภัยตามมาตรฐาน โดยสามารถดูได้จากภาพประกอบด้านล่าง

สายไฟในบ้าน

1. สายเมน (สายประธาน) คือสายไฟฟ้าที่เดินจากมิเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาที่แผงเมนสวิตช์ (ตู้เมนไฟฟ้าหรือตู้คอนซูเมอร์) ของบ้านนั่นเอง

  1. สายเมนต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับโหลดรวมของทุกวงจรย่อยได้
  2. ตัวนำสายเมนต้องรับกระแสได้ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของโหลดสูงสุดของมิเตอร์ไฟฟ้า และต้องไม่เล็กกว่าขนาดตามที่ระบุในตาราง
  3. สายเมนควรเลือกใช้สายตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน เช่น สาย 60227 IEC 01 (THW)   https://www.pdcable.com/product-household/
  4. สายเมนชนิดตัวนำอลูมิเนียมหุ้มฉนวน เช่นสาย THW-A อนุญาตให้ใช้ได้สำหรับการเดินสายลอยในอากาศภายนอกอาคารในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น และขนาดต้องไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม. แต่สายเมนส่วนที่เดินในอาคารต้องใช้สายตัวนำทองแดง
  5. สีของสายเมน อยู่ในข้อยกเว้น ไม่จำเป็นต้องใช้สีน้ำตาลและฟ้า อาจใช้สายสีดำแล้วทำเครื่องหมายสำหรับสายเส้นไฟและนิวทรัลได้  https://goo.gl/oZoNZQ

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
E-mail : Marketing@pdcable.com

ทำไมจึงควรเลือกใช้ตัวนำ ทองแดง ความบริสุทธิ์ 99.99%

เพราะ ทองแดง บริสุทธิ์ 99.99% คือ ทองแดงเกรดที่มีความบริสุทธิ์ของทองแดงสูงที่สุดสำหรับผลิตตัวนำไฟฟ้า (Electric-conductor grade) สำหรับใช้ในงานวิศวกรรมไฟฟ้าโดยทั่วไป ซึ่งได้จากการหลอมแผ่นทองแดง (Copper cathode) ที่มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 99.99% โดยไม่มีส่วนผสมอื่นเจือปน เพื่อให้ได้เส้นตัวนำทองแดงที่มีค่าการนำไฟฟ้าสูงที่สุด สามารถรีดเป็นเส้นลวดตัวนำขนาดเล็กมาก และดัดงอได้โดย ไม่เปราะหัก และขาดง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับตัวนำที่ทำจากทองแดงรีไซเคิล และทองแดงเกรดอื่นๆ สายไฟฟ้าที่ตัวนำทองแดงที่มีค่าการนำไฟฟ้าต่ำ เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเต็มพิกัด จะทำให้เกิดความร้อนสูง ทำให้ฉนวนและส่วนประกอบอื่นเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว และสายไฟจะมีอายุการใช้งานสั้นลง อีกทั้งความร้อนที่เกิดขึ้นอาจสูงจนทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์ หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นได้

ทองแดง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตั้งค่าทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่เกี่ยวกับดำเนินการฟังก์ชัน

    ยินยอมให้ใช้ Functionality Cookies ที่ทำหน้าที่จดจำการตั้งค่าบนแพลตฟอร์ม เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ ภาษา ฟ้อนต์ และรูปแบบแพลตฟอร์ม

  • คุกกี้ประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์

    ยินยอมให้ใช้ Performance Cookies เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละส่วนของเว็บไซต์เพื่อการปรับปรุง

  • คุกกี้วิเคราะห์สำหรับการโฆษณา

    ยินยอมให้ใช้ Advertising Cookies เพื่อการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจได้มากขึ้น

บันทึก