Tel : 0-2680-5800

สุดยอดห้องปฏิบัติการทดสอบสายไฟฟ้า จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ

เฟ้ลปส์ ดอด์จ รวมสุดยอดห้องปฏิบัติการทดสอบสายไฟฟ้า  ที่สามารถวิเคราะห์ ทดสอบ และวัดผลประสิทธิภาพสายไฟฟ้าเพื่อให้สายไฟมีประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการทดสอบตามมาตรฐานกำหนด ซึ่งมีหน่วยงานและบริษัทชั้นนำภาคเอกชนไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่มีห้องปฏิบัติการทดสอบสำหรับสายไฟคุณสมบัติพิเศษนี้ได้ครบขั้นตอน ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับโลก  โดยห้องปฏิบัติการทดสอบสายไฟฟ้าคุณสมบัติพิเศษของ เฟ้ลปส์ ดอด์จ ได้แก่

  1. ห้องปฏิบัติการทดสอบแรงดันฟ้าผ่าแรงดันสูงที่สุดถึง 1800 kV Lightning Impulse Test up to 1800 kV  : ห้องทดสอบสายไฟฟ้าแรงดันสูงโดยเฉพาะ สำหรับการประเมินความคงทนต่อแรงดันระดับฟ้าผ่าของฉนวนสายไฟฟ้าแรงดันสูง
Content01-1

  2. ห้องปฏิบัติการทดสอบสายไฟฟ้าในสภาวะเพลิงไหม้ : ห้องทดสอบสำหรับกลุ่มสายไฟฟ้า Fire Performance cable ได้แก่สายทนไฟ (FRC) และสายควันน้อยไร้ฮาโลเจน (LSHF cable) เพื่อประเมินคุณสมบัติความปลอดภัยของสายไฟภายใต้สภาวะเพลิงไหม้ ประกอบด้วยการทดสอบคุณสมบัติดัง

          2.1 การทดสอบต้านเปลวเพลิง (Flame Retardant) Vertical Flame Propagation Test  : การทดสอบคุณสมบัติการต้านเปลวเพลิงของสายไฟฟ้า (Flame Retardant) ตามมาตรฐาน IEC 60332-1  และ IEC 60332-3 สายไฟที่ผ่านมาตรฐานการทดสอบนี้จะมีคุณสมบัติไม่ลุกลามไฟ หรือหน่วงไฟ ซึ่งจะช่วยให้เปลวไฟไม่ลุกลามขยายวงไปตามสายไฟฟ้าได้โดยง่าย

Content01-2

           2.2 การทดสอบการทนไฟ (Fire Resistance) Circuit Integrity Test under fire conditions : การทดสอบความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องในขณะที่สายถูกเพลิงไหม้โดยไม่เกิดการลัดวงจร ทดสอบตามมาตรฐาน BS 6387  หรือ IEC 60331

Content01-3

            2.3 การทดสอบการปล่อยก๊าซกรด (Acid gases emission)  Acid Gases Emission Test  : การทดสอบวัดปริมาณการปล่อยก๊าซพิษที่เป็นกรดที่เกิดจากสารฮาโลเจน และวัดค่าความเป็นกรดของก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้สายไฟฟ้า  โดยอ้างอิงมาตรฐานการทดสอบ IEC 60754-1 และ IEC 60754-2

            2.4 การทดสอบความหนาแน่นควันไฟ (Smoke Density) Smoke Density Test :  การทดสอบเพื่อวัดปริมาณควันที่ปล่อยออกมาเมื่อสายไฟถูกเพลิงไหม้ อ้างอิงมาตรฐาน IEC 61034-2  คุณสมบัติควันน้อย (Low smoke) จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในขณะเกิดเพลิงไหม้ ช่วยให้การอพยพหนีไฟและการเข้าช่วยเหลือทำได้สะดวก เนื่องจากส่วนใหญ่สาเหตุการเสียชีวิตในเหตุการณ์เพลิงไหม้คือ การสำลักควันไฟและสูดดมก๊าซพิษ 

Content01-4

นอกจากนี้ เฟ้ลปส์ ดอด์จ ยังมีห้องปฏิบัติการทดสอบอื่นๆอีก อาทิเช่น ห้องปฏิบัติการทดสอบไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage Laboratory) ห้องปฏิบัติการทดสอบทางกายภาพ (Physical Laboratory) เป็นต้น  และยังมี รถทดสอบ Mobile Engineering SolutionAC Resonance On-site Test ระบบทดสอบด้วยระบบไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันสูงของเฟ้ลปส์ ดอด์จ ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และประหยัดเวลาด้วยการทดสอบ 1 ชั่วโมง/วงจร แต่ให้ผลลัพท์เทียบเท่าการใช้งานจริง 40 ปี

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

Fire Performance Cable 

FRC Cables

มาตรฐานสายทนไฟ

LSHF Cables

Technical Consultant: 02-680-5885

K. Kritsana Marksap (084-1959246)

E-mail: Kritsana.Marksap@pdcable.com   , marketing@pdcable.com

Line@: @phelpsdodge_th 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Tel. ‭02 680 5800‬

เฟ้ลปส์ ดอด์จ สายไฟฟ้า

สำหรับระบบโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ

โซล่าเซล
PdsolarTec สายไฟฟ้าสำหรับระบบโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ จากเฟ้ลปส์ ดอด์จ
มาตรฐานยุโรปล่าสุด EN 50618 รายแรกในประเทศไทย
  • สาย PdsolarTec สายสำหรับระบบโซลาร์เซลล์สามารถใช้งานที่แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงสูงสุด 1.8 kV
  • ทนน้ำ ติดตั้งในที่น้ำท่วมขัง
  • อุณหภูมิตัวนำสูงสุด 120°C*
  • ทนอุณหภูมิแวดล้อม -40°C ถึง 90°C
  • ปราศจากฮาโลเจน (Halogen Free) ควันไฟน้อย และไม่ปล่อยก๊าซพิษที่เป็นกรด
  • อายุการใช้งานของสาย PdsoarTec สายสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ สามารถใช้งานได้ยาวนานไม่ต่ำกว่า 25 ปี**
*สูงสุด 20,000 ชั่วโมงตลอดอายุการใช้งานของสาย
**ภายใต้สภาวะใช้งานปกติตามมาตรฐานการติดตั้ง

สาย PD SolarTec สายไฟสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ ของ เฟ้ลปส์  ดอด์จ ยังมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมจากคุณสมบัติพื้นฐานของสาย PV ทั่วไป ได้แก่

  1. PdsolarTec สายสำหรับระบบโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ มีคุณสมบัติทนน้ำ และป้องกันน้ำ (Water resistant) เหมาะสำหรับใช้ในงาน Floating solar farm ที่สายไฟฟ้ามีโอกาสติดตั้งในที่เปียกชื้น
  2. PdsolarTec สายสำหรับระบบโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ มีคุณสมบัติทนต่อการกระแทกกดทับ (Impact and crushing resistant) มีความทนทานสูง เหมาะสำหรับติดตั้งฝังดิน
  3. PdsolarTec สายสำหรับระบบโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ มีคุณสมบัติไม่มีหยดเปลวไฟเมื่อสายถูกไฟไหม้ ตามมาตรฐาน IEC 60332-1-3 และข้อกำหนดมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของ วสท. ทำให้มีความปลอดภัยสูง ป้องกันการลุกลามไฟและช่วยจำกัดการขยายตัวของเหตุเพลิงไหม้

ข้อมูลเพิ่มเติม : Line@ : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

สามารถส่งข้อมูลสอบถามสาย PdsolarTec

สายไฟสำหรับระบบโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะได้ที่

Price List ดาวน์โหลด สายไฟฟ้า เฟ้ลปส์ ดอด์จ

Price List-ข้อมูลราคา

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ที่สุดของความปลอดภัย Fire Performance Cable

ได้รับความไว้วางใจติดตั้งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ไปแล้วกว่า 2 ล้านเมตร

รถไฟฟ้า สายไฟ

สายไฟฟ้า เฟ้ลปส์ ดอด์จ สายไฟคุณภาพสูง ที่ได้รับความไว้วางใจใช้ติดตั้งในโครงการรถไฟฟ้าของประเทศไทยไปแล้วกว่า 2 ล้านเมตร เพื่อขยายโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

สายไฟฟ้าที่ใช้ในงานก่อสร้างระบบขนส่งรถไฟฟ้ามีหลายประเภทด้วยกัน ตั้งแต่สายไฟสำหรับสถานีไฟฟ้าย่อยเพื่อส่งจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบรถไฟฟ้า สายไฟสำหรับระบบทางวิ่ง สายไฟสำหรับอาคารผู้โดยสารหรือชานชาลา เป็นต้น

สายไฟฟ้าที่ใช้ในงานโครงการรถไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยเสริมความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ โดยเฉพาะส่วนของระบบใต้ดินและอาคารสถานีซึ่งถือเป็นอาคารสาธารณะที่มีประชาชนเข้ามาใช้บริการพร้อมกันเป็นจำนวนมาก สายไฟฟ้าที่ใช้ในพื้นที่เหล่านี้เป็นสายกลุ่ม Fire Performance Cables ซึ่งได้แก่สายทนไฟ ( Fire Resistant Cables,) และสายไฟฟ้าชนิดควันน้อย ไร้ฮาโลเจน (Low Smoke Halogen Free Cables) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต และลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ลงได้

สายไฟฟ้าที่ใช้ในงานโครงการรถไฟฟ้าแต่ละโครงการมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในส่วนของโครงสร้างและคุณสมบัติ อาทิเช่น บางโครงการมีการใช้สายไฟฟ้าที่มีเกราะอาร์เมอร์ หรือมีการกำหนดคุณสมบัติต้านเปลวเพลิงในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่ง Phelps Dodge ก็มีความสามารถในการผลิตสายตามความต้องการเฉพาะงานเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

รถไฟฟ้า สายไฟ
รถไฟฟ้า สายไฟ

ด้วยคุณภาพผลิตภัณฑ์และศักยภาพในการผลิตสายไฟฟ้าและสายเคเบิลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและความเชี่ยวชาญในการผลิตสายไฟฟ้าคุณภาพสูง เฟ้ลปส์ ดอด์จ ได้ผลิตสายไฟฟ้าให้กับระบบขนส่งรถไฟฟ้าของประเทศไทยไปแล้ว เป็นจำนวนรวมกว่า 2 ล้านเมตร และได้ส่งมอบสายไฟฟ้าเพื่อใช้สำหรับติดตั้งสำหรับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ดังนี้ 

  1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ  
  2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี
  3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง  
  4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย– มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 
รถไฟฟ้า สายไฟ

อีกทั้ง เฟ้ลปส์ ดอด์จ ยังมีทีมงานวิศวกรไฟฟ้าที่มีความรู้ความชำนาญที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการเลือกใช้สายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการติดตั้งใช้งานแต่ละรูปแบบอีกด้วย

บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์ดนเชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด มีเครือข่ายธุรกิจเชื่อมโยงกับฐานการผลิตและสำนักงานต่างๆ ในทวีปอเมริกา เอเชียและแอฟริกา เพื่อผลิตสินค้าให้แก่ลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ พลังงาน การก่อสร้าง น้ำมันและก๊าซ เหมืองแร่  ตลอดจนอุปกรณ์สำหรับภาคการสื่อสารและโทรคมนาคม โดยเฟ้ลปส์ ดอด์จ เป็นผู้ผลิตสายไฟฟ้าแบรนด์เดียวในประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับเพื่อใช้ติดตั้งมากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

E-mail : marketing@pdcable.com

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Price List-ข้อมูลราคา

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ สายไฟฟ้า NYY , NYY-G

สายไฟร้อยท่อฝังดิน

และ สายไฟฝังดินโดยตรง

สายฝังดิน nyy
คุณสมบัติของ สายไฟฟ้า NYY,NYY-G 450/750V จากเฟ้ลปส์ ดอด์จ เนื่องจากสายไฟฟ้า NYY , NYY-G นั้น โครงสร้างมีฉนวนและเปลือก สามารถรองรับพิกัดแรงดัน 450/750V ได้ การติดตั้งของสายไฟชนิด NYY , NYY-G จึงสามารถติดตั้งแบบฝังดินได้โดยตรง

โครงสร้างของสายไฟฟ้า NYY , NYY -G  มีด้วยกันดังนี้

  1.  ตัวนำ : ทองแดงบริสุทธิ์ 99.99 % สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม
  2. แรงดัน :  สามารถรองรับพิกัดแรงดันไฟฟ้าได้ที่ 450/750V
  3. ฉนวนและเปลือก : สามารถทนอุณหภูมิสูงสุด 70 องศาเซลเซียส
  4. มาตรฐาน : มอก. 11-2553

ทั้งนี้ชนิดสายไฟฟ้าชนิด NYY,NYY-G มอก. 11 เล่ม 101 -2559 เป็นกลุ่มชนิดสายไฟฟ้าที่ผู้ใช้มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกว่าสายไฟชนิดอื่นๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มชนิดสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งภายในบ้าน อาคาร และ ที่อยู่อาศัยโดยทั่วไป เฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงคัดเลือกวัตถุดิบเม็ดพลาสติกพีวีซี ที่ไร้สารตะกั่ว ไร้สารอันตราย และ โลหะหนัก เพื่อผลิตสายไฟฟ้า มอก.11-2553 ทุกชนิด ให้ผ่านการรับรองว่าเป็นสายไฟฟ้าที่ปลอดภัยไร้สารตะกั่วและไร้สารอันตรายตามข้อกำหนด RoHS ของสหภาพยุโรป สายไฟฟ้ามอก.11 เล่ม 101-2559 ของเฟ้ลปส์ ดอด์จ
จึงเป็นสายไฟปลอดภัยไร้สารตะกั่ว

คุณสมบัติพิเศษของสายไฟ NYY, NYY-G ของเฟ้ลปส์ ดอด์จ

  1. กันน้ำ และ กันความชื้น
  2. เปลือกหน้าเป็นพิเศษ สามารถกันกระแทกได้ดี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Line OA: @phelpsdodge_th
สอบถามและสั่งซื้อสินค้า
Tel. ‭02 680 5800‬ ติดต่อฝ่ายขาย

การทดสอบการทนต่อความร้อนของฉนวน PVC ของสายไฟฟ้าคุณภาพ

ฉนวนสายไฟ

3 ขั้นตอนการทดสอบคุณสมบัติการทนต่อความร้อนของฉนวน PVC สำหรับผลิตสายไฟฟ้าคุณภาพสูงของ เฟ้ลปส์ ดอด์จ ต้องผ่านการทดสอบดังต่อไปนี้เพื่อประเมินคุณสมบัติการทนต่อความร้อน

1.Heat shock test (ความทนต่อการช็อกด้วยความร้อน) ตัวอย่างสายไฟจะถูกนำมาขดม้วนรอบแกนเหล็กแล้วนำไปเข้าตู้อบความร้อน ฉนวนสายไฟฟ้าต้องทนต่อความร้อน 150 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมงได้โดยที่ฉนวนสายไฟไม่ปริแตก

2.Tensile strength and elongation test after aging(ความต้านแรงดึงและความยืดหลังเร่งอายุการใช้งานด้วยความร้อน) ฉนวนสายไฟฟ้าที่ตัดเป็นชิ้น จะถูกนำไปเข้าตู้อบความร้อน 80 องศาเซลเซียส นาน 168 ชั่วโมง เพื่อเร่งอายุการใช้งาน แล้วจึงนำมาทดสอบโดยดึงให้ยืดจนขาดแล้ววัดค่าความต้านแรงดึง (Tensile strength) และความยืด ณ จุดที่ขาด (Elongation) ต้องไม่ต่ำกว่าค่าที่มาตรฐานกำหนด

3.Pressure test at high temperature (การเปลี่ยนรูปจากแรงกดที่อุณหภูมิสูง) ตัวอย่างชิ้นฉนวนสายไฟฟ้าจะถูกกดด้วยใบมีดภายใต้อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส รอยกดที่เกิดขึ้นบนฉนวนสายไฟภายใต้ความร้อนต้องไม่ลึกเกินกว่าค่าที่มาตรฐานกำหนด

การทดสอบฉนวน PVC ดังกล่าวสำหรับสายไฟฟ้า มาตรฐาน มอก.11-2553 เพื่อให้ได้ฉนวน PVC ที่มีคุณสมบัติทนต่อความร้อนได้ดีเยี่ยม สามารถนำไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ฉนวนของสายไฟฟ้าทำหน้าที่ป้องกันกระแสไฟฟ้าให้ไหลอยู่เฉพาะในตัวนำไฟฟ้าโดยไม่รั่วไหลไปยังส่วนอื่น ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตราย เช่นไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจร ฉนวนสายไฟฟ้าส่วนใหญ่ทำจากพลาสติกโพลีเมอร์หรือยางที่มีค่าความต้านทานทางไฟฟ้าสูง นำมาหุ้มลงบนตัวนำด้วยความหนาที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าได้ตามพิกัดแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้า

วัสดุที่ใช้ทำฉนวนสายไฟฟ้ามีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติ รวมทั้งจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้ทำสายไฟฟ้ามากที่สุดคือ โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride: PVC) และ ครอสลิงกด์พอลิเอทิลีน (Cross-Linked Polyethylene: XLPE) ดังนี้

  1. ฉนวนสายไฟฟ้า PVC
  2. ฉนวนสายไฟฟ้า XLPE

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ความรู้เรื่องฉนวนสายไฟฟ้าคลิกเลย

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

สอบถามตัวแทนจำหน่ายหรือข้อมูลเพิ่มเติม
Line OA: @phelpsdodge_th

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

สายไฟเฟ้ลปส์ ดอด์จ

450/750V 60227 IEC 01 (THW)

สายthw

สายไฟที่ดีที่สุดสำหรับการติดตั้งภายในบ้าน อาคาร ที่อยู่อาศัยทั่วไป และ อาคารเขียว (Green Building) เหมาะสำหรับเดินลอยในอากาศ ร้อยท่อฝังผนังหรือบนฝ้าเพดาน ร้อยท่อเกาะผนัง เดินในราง wire way 

สอบถามตัวแทนจำหน่ายหรือข้อมูลเพิ่มเติม
Line OA: @phelpsdodge_th
สอบถามและสั่งซื้อสินค้า
Tel. ‭02 680 5800‬

สาย SAC

สายไฟสำหรับระบบสายอากาศแรงดันสูง

สาย sac สายไฟ

สายไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งบนเสาไฟฟ้าที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปก็คือสาย Spaced Aerail Cable หรือสาย SAC วันนี้เรามาทำความรู้จักกับสายชนิดนี้กันค่ะ

สายไฟ Spaced Aerial Cable หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่าสาย SAC เป็นสายไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้าแรงดันปานกลาง ประเภทระบบสายอากาศ (Overhead Aerial Cable) เป็นสายไฟฟ้าแกนเดียว มีตัวนำเป็นอะลูมิเนียมตีเกลียวแบบอัดแน่น หุ้มด้วยฉนวนและเปลือก XLPE  ผลิตตามมาตรฐาน มอก.2341-2555 หรือมาตรฐานของการไฟฟ้าฯ มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 25 kV และ 35 kV

โดยสาย 25 kV สำหรับระบบไฟฟ้า 22 kV (กฟภ.) หรือ 24 kV (กฟน.) และสาย 35 kV สำหรับระบบไฟฟ้า 33 kV (กฟภ.)  

สาย SAC ถูกออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศและรังสี UV เหมาะสำหรับติดตั้งเดินลอยในอากาศบนเสาไฟฟ้าภายนอกอาคารโดยเฉพาะ นิยมใช้ในระบบจำหน่ายแรงสูงของการไฟฟ้าฯ และใช้ต่อรับไฟจากระบบแรงสูงของการไฟฟ้าฯ เข้าหม้อแปลง

สาย SAC จัดเป็นสายประเภทหุ้มฉนวนไม่เต็มพิกัด (Partial Insulated Cable) ถึงแม้จะมีฉนวนและเปลือกหุ้ม แต่ฉนวนมีความหนาเพียงพอสำหรับป้องกันการลัดวงจรได้เป็นระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น สามารถป้องกันการลัดวงจรจากกิ่งก้านของต้นไม้ที่ถูกลมพัดมาแตะถูกสายชั่วคราวได้ แต่หากต้นไม้เติบโตจนกิ่งไม้ยื่นมาแตะถูกสายตลอดเวลา ฉนวนจะไม่สามารถทนได้และเกิดการลัดวงจรในที่สุด นอกจากนี้โครงสร้างของสาย SAC ยังไม่มีสกรีนโลหะ (Metal screen) ที่่จะใช้ต่อลงกราวด์เพื่อลดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำบนสาย ดังนั้น สาย SAC จึงไม่สามารถจับหรือสัมผัสสายด้วยมือเปล่าโดยตรงได้ 

การติดตั้งสาย SAC จำเป็นต้องติดตั้งบนวัสดุฉนวน เช่น ฉนวนลูกถ้วย หรือ Spacer และไม่สามารถติดตั้งให้สัมผัสกับสิ่งปลูกสร้างหรือเดินบนรางเคเบิลได้ รวมทั้งไม่สามารถติดตั้งให้สายแต่ละเฟสสัมผัสกันได้อีกด้วย

สอบถามหรือสั่งซื้อสายไฟฟ้า

Line OA: @phelpsdodge_th

สอบถามและสั่งซื้อสินค้า

Tel. ‭02 680 5800‬

เฟ้ลปส์ ดอด์จ Electrical Engineering Expert

ที่สุดของรถทดสอบ Mobile Engineering Solution

AC Resonance On-site Test 

รถทดสอบสายไฟ

ทำไมถึงต้องทดสอบระบบสายไฟฟ้าแรงดันสูงหน้างาน

ก่อนที่ระบบสายไฟฟ้าจะเปิดใช้งานสายไฟฟ้า รวมถึง Terminations และ Splices ที่ผ่านกระบวนการติดตั้งและกระบวนการต่างๆ อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบสายไฟฟ้า ส่งผลให้ไฟฟ้าไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นมาตรฐาน IEC จึงกำหนดให้มีการทดสอบระบบสายไฟฟ้าก่อนใช้งาน เพื่อให้ระบบสายไฟฟ้าทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่เกิดปัญหาเมื่อเปิดใช้งานแล้ว

รถทดสอบสายไฟ
ตัวอย่างบางส่วนของสายไฟฟ้าแรงดันสูงที่เกิดการเสียหายจากการติดตั้ง และความเสียหายที่เกิดจากการระเบิดของระบบสายไฟฟ้า เนื่องจากการติดตั้งที่ไม่สมบูรณ์ 

ทำไมถึงต้องเลือกใช้บริการ High Voltage Mobile Engineering Solution กับเฟ้ลปส์ ดอด์จ

  1. ระบบทดสอบด้วยระบบไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันสูงของเฟ้ลปส์ ดอด์จ ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และประหยัดเวลาด้วยการทดสอบ 1 ชั่วโมง/วงจร แต่ให้ผลลัพท์เทียบเท่าการใช้งานจริง 40 ปี
  2. สามารถทดสอบไฟฟ้าแรงดันสูง ได้สูงถึง 260 kV ตรงตามมาตรฐาน IEC และมาตรฐานการไฟฟ้า
  3. ให้ผลการทดสอบที่แม่นยำเชื่อถือได้
  4. สามารถทดสอบระบบสายไฟฟ้าความยาวสูงสุดเป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร
  5. ไม่ทำอันตรายกับเนื้อฉนวน ที่จะส่งผลต่ออายุการใช้งานสาย
  6. ระบบทดสอบมาในรูปแบบของรถบรรทุกเคลื่อนที่ สามารถให้บริการลูกค้าได้ทุกที่ทั่วไทย เสมือนยกห้องแล็บแรงดันไฟฟ้าสูงขนาดใหญ่มาไว้ที่หน้าไซต์งาน
  7. บริการทดสอบแบบครบวงจร โดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในงานทดสอบสายไฟฟ้าแรงดันสูง
รถทดสอบสายไฟ

High Voltage Mobile Engineering Solution ทำอะไรได้บ้าง

High Voltage Test เพื่อตรวจสอบว่าระบบสายไฟฟ้าแรงดัน สูงที่ติดตั้งเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ติดตั้งได้สมบูรณ์หรือไม่ หรือไม่ โดยการจ่ายแรงดันให้ระบบสายไฟฟ้าด้วยเทคโนลียี AC resonance ซึ่งเป็นเทคโนลียีที่ปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสายไฟ หากพบว่ามีสิ่งผิดปกติที่ทำให้เกิด Breakdown ในระหว่างการทดสอบ สามารถใช้ Fault Locator เพื่อระบุตำแหน่งที่เกิด Breakdown ได้อย่างแม่นยำ

หาตำแหน่งที่เกิด Fault (Fault locating) ใช้วิธี transient analysis โดยหลังจากที่พบ breakdown จะป้อนสัญญาณ travelling wave ให้เดินทางไปที่ปลายสายทั้ง 2 ด้าน (ด้านหนึ่ง จะมีตัว detector คอย record สัญญาณเพื่อนำไปวิเคราะห์ ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งที่เกิด Breakdown ได้อย่างแม่นยำ

Partial Discharge Test สามารถทดสอบความเสื่อมสภาพบางส่วนของฉนวนสายไฟฟ้า ในระบบสายไฟฟ้า ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่เกิดการผิดพร่อง(Fault) ในระบบไฟฟ้าในอนาคต และยังสามารถใช้ตรวจเช็คเพื่อทำ Preventive Maintenance (แบบรายปี) เพื่อดูแนวโน้มและโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติในระบบไฟฟ้า

รถทดสอบสายไฟ

Project Reference ที่ผ่านการทดสอบด้วยเทคโนโลยีรถทดสอบ Mobile Engineering Solution AC Resonance On-Site Test

1.สถานีไฟฟ้าย่อยเพชรเกษม

2.สถานีไฟฟ้าย่อยประชาชื่น

3.สถานีไฟฟ้าย่อยเชียงใหม่ 2

4.สถานีไฟฟ้าย่อยจตุจักร

5.สถานีไฟฟ้าย่อยแหลมฉบัง

6.สถานีไฟฟ้าย่อยห้วยบง

7.สถานีไฟฟ้าย่อย PTTLNG

8.สถานีไฟฟ้าย่อย PTTGC

9.สถานีไฟฟ้าย่อย Thai Glass Industries

10.โรงไฟฟ้าพระนครใต้

11.โรงไฟฟ้า GPSC CUP 4

12.โรงไฟฟ้า GPSC CUP 3

13.โรงไฟฟ้า GLOW SPP 1

14.โรงไฟฟ้า BGRIMM ABPR5

15.โรงไฟฟ้าบัวใหญ่พาวเวอร์

16.โรงงานน้ำตาลระยอง

17.โครงการสายไฟฟ้าใต้ดินจรัญสนิทวงศ์

18.สายส่งไฟฟ้าเหนือดินรถไฟฟ้าสายสีแดง

19.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

20.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

เฟ้ลปส์ ดอด์จ  ผู้ผลิตสายไฟฟ้าและสายเคเบิล หนึ่งเดียวที่มาพร้อมทีมงานวิศวกรคุณภาพ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสายไฟฟ้า และ ระบบทดสอบสายไฟฟ้าแรงดันสูง พร้อมให้คำปรึกษา Mobile Engineering Solution  สามารถติดต่อได้ที่

Technical Consultant: 02-680-5885  

Sales Contact : Kritsana Marksap (084-1959246)

E-mail: Kritsana.Marksap@pdcable.com  , marketing@pdcable.com

Line@: @phelpsdodge_th  

สอบถามและสั่งซื้อสินค้า

Tel. ‭02 680 5800‬

เฟ้ลปส์ ดอด์จ สายโทรศัพท์ ที่ดีที่สุด 

บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด  ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกและผู้นำในการผลิตสายโทรศัพท์ตัวนำทองแดงรายแรกของประเทศไทย “สายโทรศัพท์เฟ้ลปส์ ดอด์จ” เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพจากผู้ใช้งานมาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าสายโทรศัพท์ของ เฟ้ลปส์ ดอด์จ เป็นส่วนหนึ่งในการวางรากฐานของระบบการสื่อสารของประเทศไทยตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา

บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ มีองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะในการออกแบบและผลิตสายโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพสูง มีความสูญเสียของสัญญาณต่ำ และด้วยการออกแบบโครงสร้างการบิดเกลียวของคู่สายตัวนำอย่างเหมาะสม ทำให้มีการรบกวนของสัญญาณระหว่างคู่สายต่ำ (Low Cross talk) ประกอบกับการคัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพสูงในการผลิต ทำให้สายโทรศัพท์ของ เฟ้ลปส์ ดอด์จ ได้รับการยอมรับจากองค์กรและหน่วยงานชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชนของไทย และยังส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศอีกด้วย

วันนี้เฟ้ลปส์ ดอด์จ นำสายโทรศัพท์ชนิดที่สำคัญๆมาเป็นข้อมูลให้ทราบกันค่ะ โดยจะแบ่งเป็นสายโทรศัพท์สำหรับการติดตั้งภายในอาคาร และภายนอกอาคารดังนี้

สายโทรศัพท์ telephone

สายโทรศัพท์สำหรับติดตั้งภายในอาคาร 

1.สาย AP : มีตัวนำเป็นทองแดง หุ้มฉนวน Polyethylene (PE) และหุ้มเปลือกนอก Polyethylene (PE) เป็นสายโทรศัพท์ชนิดหลายคู่สาย ใช้เดินภายนอกอาคารโดยเดินร้อยท่อ วางบนรางเคเบิล หรือแขวนบนเสาไฟฟ้า

2. สาย AP(8) หรือ AP Figure 8 : สาย AP แบบ ฟิกเกอร์เอท (Figure 8) มีโครงสร้างเหมือนสาย AP แต่มีลวดสลิงในตัว เพื่อช่วยรับน้ำหนักสายสำหรับใช้ติดตั้งแขวนบนเสาไฟฟ้า หน้าตัดสายจะมีรูปร่างคล้ายเลขแปด จึงเรียกชื่อสาย AP(8)

3.สาย AP-FSF : สาย AP แบบ โฟมสกินฟิลด์ (Foam Skin Filled) มีโครงสร้างเหมือนสาย AP แต่ฉนวนเป็นชนิด Foam-skin PE insulation และมีการใส่ Filling compound และ Flooding compound ภายในสายเพื่อป้องกันน้ำ จึงทำให้สายเหมาะกับการติดตั้งแบบฝังดิน

สอบถามหรือสั่งซื้อสายโทรศัพท์

Line OA: @phelpsdodge_th

สอบถามและสั่งซื้อสินค้า

Tel. ‭02 680 5800‬

สายไฟฟ้าสำหรับวงจรควบคุม

CVV และ CVV-S

วงจรควบคุม (Control Circuit) เป็นวงจรไฟฟ้าที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของวงจรไฟฟ้ากำลัง (Power circuit) เช่น การทำงานของมอเตอร์ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ วงจรควบคุมมักจะใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำ เช่น 230Vac หรือ 24Vdc และใช้กระแสไฟฟ้าต่ำ เนื่องจากวงจรควบคุมไม่ได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โหลดโดยตรงเหมือนวงจรกำลัง ดังนั้นสายไฟฟ้าที่ใช้กับวงจรควบคุมโดยทั่วไปจึงมีขนาดตัวนำเล็ก (ประมาณ 0.5 – 10 ตร.มม.) แต่อาจมีหลายตัวนำในสายไฟเส้นเดียวเพื่อใช้ต่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ได้หลายตัว สายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับบวงจรควบคุมนิยมเรียกว่าสายคอนโทรล หรือ Control cable

สายไฟ สายไฟฟ้า CVV CVVS

1.สายคอนโทรลชนิด CVV (600V PVC/PVC) 

มาตรฐาน IEC 60502-1 หรือ JIS C 3401 หรือ มอก.838-2531

โครงสร้างสายไฟ : มีตัวนำเป็นทองแดงตีเกลียวหรือตัวนำทองแดงเส้นฝอย (อ่อนตัวได้) หุ้มด้วยฉนวนและเปลือก Polyvinyl Chloride (PVC)  พิกัดแรงดันไฟฟ้าที่กำหนด 0.6/1 กิโลโวลต์ อุณหภูมิตัวนำขณะใช้งานสูงสุด 70 องศาเซลเซียส มีขนาดมาตรฐานตั้งแต่ 1 – 6 ตร.มม. จำนวนแกนตั้งแต่ 2 แกนขึ้นไป

โครงสร้างสายไฟ : มีตัวนำเป็นทองแดงตีเกลียวหรือตัวนำทองแดงเส้นฝอย (อ่อนตัวได้) หุ้มด้วยฉนวนและเปลือก Polyvinyl Chloride (PVC)  พิกัดแรงดันไฟฟ้าที่กำหนด 0.6/1 กิโลโวลต์ อุณหภูมิตัวนำขณะใช้งานสูงสุด 70 องศาเซลเซียส มีขนาดมาตรฐานตั้งแต่ 1 – 6 ตร.มม. จำนวนแกนตั้งแต่ 2 แกนขึ้นไป

สาย CVV-S มีโครงสร้างที่แตกต่างจากสาย CVV คือมีชีลด์ที่ทำจากเทปทองแดง จึงเหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่ที่สายมีโอกาสถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น การติดตั้งสายใกล้กับวงจรกำลังที่อาจเกิดการเหนี่ยวนำและทำให้ระบบควบคุมทำงานบกพร่องได้

สายคอนโทรลทั้งสองชนิด สามารถผลิตได้ทั้งชนิดตัวนำตีเกลียวธรรมดา และชนิดตัวนำเส้นฝอยที่อ่อนตัวได้ดี เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่คับแคบ เช่นในตู้ควบคุม หรือเครื่องจักร เป็นต้น

สอบถามและสั่งซื้อสินค้า
Tel. ‭02 680 5800‬ ติดต่อฝ่ายขาย

สายไฟฟ้าชนิดใดบ้างที่สามารถติดตั้งบน รางเคเบิล (Cable Tray) ได้

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยของ วสท. มีข้อกำหนดสำหรับสายไฟฟ้าที่อนุญาตให้ติดตั้งบนรางเคเบิล (Cable Tray) ซึ่งครอบคลุมรางเคเบิลแบบบันได แบบระบายอากาศ และแบบด้านล่างทึบ ประกอบด้วยสายไฟฟ้าดังต่อไปนี้

1. สายเคเบิลชนิด MI (mineral insulated cable) ชนิด MC (metal-clad cable) และชนิด AC (armored cable)

2. สายเคเบิลแกนเดียว ชนิดมีเปลือกนอก ทั้งในระบบแรงดันสูงและแรงดันต่ำ ขนาดไม่เล็กกว่า 25 ตร.มม.

3. สายดินทุกขนาด

4. สายไฟฟ้าชนิดหลายแกนในระบบแรงดันสูงและระบบแรงดันต่ำทุกขนาด

5. สายไฟฟ้าชนิดหลายแกนสำหรับควบคุมสัญญานและไฟฟ้ากำลัง
วันนี้ เฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงสรุปชนิดของสายไฟฟ้าที่ใช้วางบนรางเคเบิลได้ ดังตารางในภาพค่ะ

สายไฟฟ้า สายไฟ รางเคเบิล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Line OA: @phelpsdodge_th

ขนาดสายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์กระแสสลับ 1 เฟส และ 3 เฟส 

สายไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า

การออกแบบและเลือกใช้สายไฟฟ้าสำหรับวงจรมอเตอร์ไฟฟ้านั้น มีปัจจัยหลายประการที่ต้องพิจารณาเพื่อให้การออกแบบเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ของ วสท. และเพื่อความปลอดภัย อาทิเช่น ชนิดของมอเตอร์ จำนวนมอเตอร์ในวงจรย่อย ความต่อเนื่องของการใช้งานมอเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจัยต่างๆเหล่านี้ล้วนมีผลต่อขนาดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านสายไฟฟ้า ซึ่งผู้ออกแบบต้องพิจารณาเลือกขนาดสายไฟฟ้าที่เหมาะสม

วันนี้เฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงนำตารางการเลือกขนาดสายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปมาฝาก เพื่อความสะดวกในการเลือกใช้สายไฟฟ้าค่ะ โดยเป็นตารางแนะนำขนาดสายไฟฟ้าสำหรับวงจรย่อยของมอเตอร์กระแสสลับตัวเดียว ทั้งแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส ที่ใช้งานประเภทต่อเนื่อง โดยใช้สายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 01 (THW), NYY และ CV ค่ะ 

นอกจากการแนะนำขนาดของสายไฟฟ้าที่เหมาะสมแล้ว ในตารางยังมีการแนะนำขนาดของท่อร้อยสาย และความยาวสายสูงสุดที่ให้ค่าแรงดันตก (Voltage drop) ไม่เกิน 3% และ 5% อีกด้วยค่ะ 

อย่างไรก็ตาม ขนาดสายไฟฟ้าในตารางเป็นค่าแนะนำที่ได้จากการคำนวณด้วยค่ากระแสโดยประมาณของมอเตอร์ทั่วไป ในการเลือกขนาดสายจริงควรยืนยันโดยการคำนวณด้วยค่ากระแสของมอเตอร์ที่จะใช้งานจริงอีกครั้ง

ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ของ วสท. กรณีวงจรมอเตอร์ทั่วไป สายของวงจรย่อยที่จ่ายไฟให้มอเตอร์ตัวเดียว ต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่าร้อยละ 125 ของพิกัดกระแสโหลดสูงสุดของมอเตอร์ และสายของวงจรย่อยมอเตอร์ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 1.5 ตร.มม.

รายละเอียดตารางแสดงขนาดสายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์กระแสสลับ

1 เฟส และ 3 เฟส 400V

โดยใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) NYY 1 แกน

สายไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า
สายไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า

รายละเอียดตารางแสดงขนาดสายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์กระแสสลับ

1 เฟส และ 3 เฟส 400V

โดยใช้สาย 0.6/1 kV CV 1 แกน

สายไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า
สายไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า

การพันเทปสายไฟ

สำหรับจุดต่อสายไฟหรืองานซ่อมบำรุงสายไฟฟ้า

เทป PVC พันสายไฟ หรือ Insulated Tape ตัวช่วยสำคัญสำหรับช่างไฟฟ้าและผู้ชำนาญการสายไฟฟ้า ใช้พันรอบรอยจุดต่อสายไฟหรืองานซ่อมบำรุงสายไฟฟ้า สำหรับสายไฟแรงดันต่ำที่ติดตั้งภายในบ้านและอาคารทั่วไป

เนื่องจากตัวเทปพันสายไฟทำหน้าที่เป็นฉนวนบริเวณจุดต่อสายไฟ หรือ บริเวณที่ต้องการซ่อมแซม เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ดังนั้นคุณสมบัติของเทปพันสายไฟ จึงต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้อย่างน้อย 600 โวลต์
2. สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงสุดที่ 80 องศาเซลเซียส
3. ต้องได้รับรองมาตรฐาน มอก. 386-2531 มาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์เทปใช้ในงานไฟฟ้า : พลาสติไซซ์โพลิไวนิลคลอไรด์ (Plasticized Polyvinyl Chloride)

การใช้เทปพันบริเวณจุดต่อสายไฟ หรือ บริเวณที่ต้องการซ่อมบำรุง ต้องทำอย่างระมัดระวัง ดังนั้นการพันเทปต้องพันอย่างแน่นหนา เพื่อให้มั่นใจว่ากระแสไฟฟ้าจะไม่เกิดการรั่วไหล เพื่อป้องกันอันตรายหากมีการสัมผัส

ทั้งนี้ เฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงรวมวิธีการพันเทปสายไฟรอบรอยต่อสำหรับสายไฟฟ้าแบบต่างๆ มาฝาก และแนะนำเทคนิคการพันเทปกับสายไฟฟ้าให้แน่นโดยไม่เคลื่อน หรือ คลายตัวหลวมออกจากสายไฟ ดังนี้

1.พันเทปให้ครอบคลุมส่วนตัวนำไฟฟ้าทั้งหมด และควรพันให้เทปทับเลยขึ้นไปบนส่วนฉนวนสายไฟฟ้าประมาณ 1-2 เซนติเมตร

2. กรณีพันเทปรอบจุดต่อสายสายไฟแบบที่ 1 และ 3 ควรเริ่มพันเทปบนฉนวนสายไฟเส้นเดียวก่อน 2 ถึง 3 รอบ จากนั้นจึงรวบสายไฟทั้งสองเส้นเข้าด้วยกันแล้วพันเทปต่อเนื่องทับลงบนสายไฟที่รวบเข้าด้วยกันแล้วพันเทปไปจนจบ วิธีนี้จะช่วยป้องกันเทปรูดหลวม และคลายตัวได้ดีกว่าการเริ่มพันเทปบนสายไฟที่รวบเข้าด้วยกันตั้งแต่แรก

3.ระหว่างพันเทปบนสายไฟฟ้า ต้องออกแรงดึงเทปให้ยืดตัวเล็กน้อย และพันให้เทปแนบสนิทโดยเทปไม่ยับ จะทำให้เทปยึดติดแน่นกับสายไฟฟ้าและไม่คลายตัวหลวมได้ง่าย การพันเทปโดยดึงเทปจากม้วนโดยตรงจะออกแรงดึงได้ถนัดกว่าการตัดเทปออกจากม้วนแล้วนำมาพันรอบสายไฟ

4. ควรพันเทปโดยให้ขอบเทปแต่ละรอบที่พันเกยซ้อนทับกันประมาณครึ่งหนึ่งของหน้ากว้างเทปบนสายไฟฟ้า

5. ควรพันเทปทับซ้อนกัน 2-3 รอบ บนเส้นสายไฟฟ้า เพื่อให้มีความหนาเพียงพอต่อการป้องกันทางไฟฟ้า และป้องกันการฉีกขาดชำรุดในภายหลัง

6.ควรพันเทปที่บริเวณปลายลวดตัวนำที่มีความแหลมคมบนเส้นสายไฟฟ้าให้มีความหนาเพิ่มมากกว่าปกติอีก 2 – 3 ชั้น เพื่อเสริมความแข็งแรง

PD Insulated Tape เทปพันสายไฟคุณภาพสูง มั่นใจทุกการใช้งาน ด้วยคุณสมบัติดังนี้

1. ติดทนนานไม่เยิ้มไม่เป็นเชื้อไฟ
2.ทนอุณหภูมิสูงถึง 80 องศาเซลเซียส
3. ทนแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 1000 โวลต์
4.ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก.386-2531

960x1200

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

สายไฟเฟ้ลปส์ ดอด์จ

ปลอดภัยห่างไกลสารตะกั่ว

สายไฟปลอดภัยไร้สารตะกั่ว

อันตรายจากสารตะกั่ว

พิษจากสารตะกั่วเกิดขึ้นเมื่อสารตะกั่วสะสมในร่างกายมากเกินไป ตะกั่วเป็นธาตุโลหะที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้โดยผ่านทางปอดและกระเพาะอาหาร พิษจากสารตะกั่วจะส่งผลอย่างช้าๆ โดยสะสมในร่างกายแล้วก่อให้เกิดโรคภัยที่เป็นอันตรายได้

แล้วสารตะกั่วในสายไฟฟ้า พบได้จากที่ใด?

สารตะกั่วในสายไฟฟ้า จะพบได้ใน ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกพีวีซี (PVC Compound ) ที่ใช้ในการผลิตฉนวนและเปลือกของสายไฟฟ้า

ทั้งนี้ชนิดสายไฟฟ้า มอก. 11-2553 เป็นกลุ่มชนิดสายไฟฟ้าที่ผู้ใช้มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกว่าสายไฟชนิดอื่นๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มชนิดสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งภายในบ้าน อาคาร และ ที่อยู่อาศัยโดยทั่วไป เฟ้ลปส์ ดอด์จ จึงคัดเลือกวัตถุดิบเม็ดพลาสติกพีวีซี ที่ไร้สารตะกั่ว ไร้สารอันตราย และ โลหะหนัก เพื่อผลิตสายไฟฟ้า มอก.11-2553 ทุกชนิด ให้ผ่านการรับรองว่าเป็นสายไฟฟ้าที่ปลอดภัยไร้สารตะกั่วและไร้สารอันตรายตามข้อกำหนด RoHS ของสหภาพยุโรป

ผู้บริโภคที่เลือกใช้สายไฟฟ้าเฟ้ลปส์ ดอด์จ มอก.11-2553 ในการติดตั้ง นอกจากมีความปลอดภัยสูงสุดแล้ว ยังมั่นใจได้อีกว่าสายไฟที่เลือกใช้มีความปลอดภัยไร้สารตะกั่วและสารอันตรายจากโลหะหนักที่จะมากับสายไฟอีกด้วยค่ะ

ทั้งนี้ เฟ้ลปส์ ดอด์จ ได้รวมชนิดสายไฟฟ้า กลุ่ม มอก. 11-2553 ของเฟ้ลปส์ ดอด์จ มาให้ตามภาพดังนี้

สาย มอก.11 เล่ม 3 – 2553

และ สาย มอก.11 เล่ม 4 – 2553

สายไฟปลอดภัยไร้สารตะกั่ว

สายมอก. 11 เล่ม 5 – 2553

สายไฟปลอดภัยไร้สารตะกั่ว

สายมอก. 11 เล่ม 101 – 2553

สายไฟปลอดภัยไร้สารตะกั่ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Line OA: @phelpsdodge_th
สอบถามและสั่งซื้อสินค้า
Tel. ‭02 680 5800‬ ติดต่อฝ่ายขาย

เฟ้ลปส์ ดอด์จ รวมแคตตาล็อกสายไฟฟ้า ดาวน์โหลด ฟรี

สายไฟฟ้า สายไฟ
สายไฟฟ้า
สายทนไฟ
สายไฟ สายไฟฟ้า
สายไฟฟ้า สายไฟ
สายไฟฟ้า สายไฟ
สายโทรศัพท์
สายไฟ สายไฟฟ้า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Line OA: @phelpsdodge_th
สอบถามและสั่งซื้อสินค้า
Tel. ‭02 680 5800‬ ติดต่อฝ่ายขาย

สายไฟฟ้าสายทนไฟใช้กับที่ใดบ้าง

สายทนไฟ สายไฟฟ้า

“วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต” คือ วงจรไฟฟ้าที่ออกแบบให้สามารถทนต่อความร้อนจากอัคคีภัย มีความแข็งแรงทางกลเป็นพิเศษ คงสภาพความปลอดภัยต่อกระแสไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจร เพื่อให้สามารถช่วยชีวิตผู้คนที่ติดอยู่ในสถานที่เกิดอัคคีภัยหรือภาวะฉุกเฉินอื่นๆ ในอาคารชุด อาคารสูงหรืออาคารใหญ่พิเศษ

ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ เป็นสถานที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัยหรือเข้าใช้งานอาคารเป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดอัคคีภัยหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆจึงไม่สามารถอพยพหนีภัยได้ง่าย นอกจากนี้ วงจรไฟฟ้าปกติจะถูกตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่วเมื่อฉีดน้ำดับเพลิง  และเมื่อวงจรไฟฟ้าปกติถูกเพลิงเผาไหม้ หรือถูกกระแทกกดทับต่างๆ จะชำรุดเสียหายไม่สามารถทำงานได้ แต่ในภาวะเช่นนี้ วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต ยังจำเป็นต้องมีไฟฟ้าเพื่อให้สามารถทำงานอยู่ได้ตามที่กำหนดไว้ ดังนั้นสายไฟฟ้าที่ใช้สำหรับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตจึงต้องเป็นสายไฟฟ้าทนไฟที่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเพียงพอสำหรับการอพยพหนีภัย และการเข้าช่วยเหลือของทีมผจญเพลิงหรือทีมกู้ภัย

อาคารที่กำหนดให้ต้องมีวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตและต้องติดตั้งด้วยสายทนไฟ ได้แก่ 

1) อาคารสูง (อาคารที่มีความสูง 23 เมตรขึ้นไป)

2) อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่มีขนาดพื้นที่รวม 10,000 ตร.ม ขึ้นไป)

3) อาคารหรือสถานที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีระบบวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต

4) โรงมหรสพ สถานบริการ โรงแรม อาคารเพื่อการสาธารณะใต้ดิน

(เช่น ชั้นใต้ดินของอาคารทั่วไป อาคารจอดรถใต้ผิวดิน สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน อุโมงค์ใต้ดิน เป็นต้น )

วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตที่ต้องใช้งานได้ดีอย่างต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน มีดังนี้ 

1.ระบบจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉิน 

2.ระบบสัญญานเตือนอัคคีภัย

3.ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน

4.ระบบอัดอากาศสำหรับบันไดหนีไฟ

5.ระบบดูดและระบายควันรวมทั้งระบบควบคุมการกระจายไฟและควัน

6.ระบบเครื่องสูบน้ำและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

7.ระบบสื่อสารฉุกเฉินสำหรับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 

8.ระบบลิฟต์ผจญเพลิง

โดยแบ่งออกเป็นระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง (ข้อ 1 และ 2) และระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงมาก (ข้อ 3 – 8) ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติของสายทนไฟที่ใช้กับระบบทั้งสองดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตที่ต้องใช้สายทนไฟ

สายทนไฟ

ตารางวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต ตู้ MDB,EMDB ชั้นเหนือดิน (ตั้งแต่ ชั้น 1 ขึ้นไป)

สายทนไฟ

สำหรับอาคารเพื่อการสาธารณะใต้ผิวดิน (เช่น ชั้นใต้ดินของอาคารทั่วไป อาคารจอดรถใต้ดิน สถานีรถไฟใต้ดิน อุโมงค์ใต้ดิน เป็นต้น) มีการแบ่งวงจรไฟฟ้าเป็น 3 ประเภทตามโหลดการใช้งานคือ ประเภทที่ 1 ระบบที่ต้องการความปลอดภัยตามปกติ, ประเภทที่ 2 ระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง และ ประเภทที่ 3 ระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงมาก โดยระบบที่ต้องใช้สายทนไฟคือประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 และมีการกำหนดคุณสมบัติของสายทนไฟที่ใช้กับระบบทั้งสองดังตารางที่ 2

สายทนไฟ สายไฟ

ตารางวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต ตู้ MDB, EMDB ชั้นใต้ดิน ( BASEMENT )

สายทนไฟ

สายทนไฟ PDFireTec ของเฟ้ลปส์ดอด์จ ผ่านมาตรฐานทนไฟ BS 6387 category CWZ ซึ่งเป็นระดับชั้นการทนไฟสูงสุด และมีคุณสมบัติครบตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯกำหนด สามารถใช้กับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตตามที่กำหนดในมาตรฐานการติดตั้งฯได้ทั้งหมด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง สายทนไฟ สายไฟคุณสมบัติพิเศษ จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ คลิกเลย

อ่านข้อมูลเพิ่ม Low Smoke & Halogen Free คลิกเลย

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Price List-ข้อมูลราคา

เฟ้ลปส์ ดอด์จ สายไฟฟ้า

Low Smoke & Halogen Free

เป็นที่ทราบกันดีว่าสาเเหตุของการสูญเสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้มาจากการสำลักควัน และการสูดหายใจเอาก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของวัสดุต่างในขณะที่ไฟไหม้อาคาร นอกจากนี้ควันไฟที่หนาทึบขณะเกิดเพลิงไหม้ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการอพยพหนีไฟและการปฏิบัติงานของทีมผจญเพลิงหรือหน่วยกู้ภัยอีกด้วย สายไฟฟ้าที่ติดตั้งในอาคารก็เป็นส่วนหนึ่่่งที่ทำให้เกิดควันและก๊าซพิษขึ้นในขณะที่เกิดเพลิงไหม้เช่นกัน เนื่องจากสายไฟฟ้าทั่วไปที่มีฉนวนหรือเปลือกที่ทำจากวัสดุ PVC จะปล่อยก็าซที่เป็นกรด และมีควันไฟสีดำหนาทึบปริมาณมาก

ดังนั้นจึงเกิดการพัฒนาสายไฟฟ้าที่ปล่อยควันน้อยและไม่ปล่อยก๊าซกรดเมื่อสายถูกเผาไหม้ขึ้นมาทดแทนสายไฟฟ้าทั่วไปที่มีส่วนประกอบของ PVC สำหรับใช้ติดตั้งในอาคารสาธารณะที่มีผู้คนเข้าไปใช้งานอาคารเป็นจำนวนมาก เช่น สถานีรถไฟฟ้า, สนามบิน, ศูนย์การประชุม, ห้างสรรพสินค้า หรืออาคารชั้นใต้ดิน หรือพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัยมากเป็นพิเศษเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ โดยสายไฟฟ้าชนิดนี้รู้จักกันในชื่อสาย LSHF (Low Smoke Halogen Free) หรือ LSZH หรือ LSOH (Low Smoke Zero Halogen)

สาย LSHF สามารถผลิตให้มีโครงสร้างได้หลากหลายเหมือนกับสายไฟฟ้าชนิดอื่นทั่วไปเพื่อให้สามารถใช้ติดตั้งทดแทนกันได้ ซึ่งมีทั้งสายไฟฟ้าชนิดแกนเดี่ยวและหลายแกน รวมทั้งสาย Control Cable

สายไฟฟ้าชนิด LSHF มีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้

  1. Low Smoke (ควันน้อย)

คือคุณสมบัติที่สายไฟฟ้าจะปล่อยควันออกมาในปริมาณน้อยเมื่อสายถูกเพลิงไหม้ สายที่ปล่อยควันน้อยจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในขณะเกิดเพลิงไหม้ ช่วยให้การอพยพหนีไฟและการเข้าช่วยเหลือของทีมดับเพลิง หรือกู้ภัยสามารถทำได้สะดวก การทดสอบอ้างอิงมาตรฐาน IEC 61034-2

  1. Halogen Free (ไร้สารฮาโลเจน)

คือสายไฟฟ้าปราศจากสารประกอบของธาตุหมู่ฮาโลเจน ซึ่งได้แก่ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน ซึ่งสารประกอบของธาตุเหล่านี้จะทำปฏิกิริยาเคมีและก่อให้เกิดก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดกัดกร่อนเมื่อถูกเพลิงไหม้ ยกตัวอย่างเช่นสายไฟฟ้าที่มีฉนวนหรือเปลือกเป็นพีวีซี จะมีสารประกอบของธาตุคลอรีน ซึ่งเมื่อถูกเพลิงไหม้จะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) หรือกรดเกลือออกมา การทดสอบจะอ้างอิงมาตรฐาน IEC 60754-1 และ IEC 60754-2

  1. Flame Retardant (ต้านเปลวเพลิง หรือ หน่วงไฟ)

คือคุณสมบัติต้านทานการลุกลามไฟของสายไฟฟ้า เมื่อสายถูกเพลิงไหม้ เปลวไฟจะไม่ลุกลามไปตามสายไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว จึงช่วยจำกัดพื้นที่เพลิงไหม้ไม่ให้ขยายไปยังพื้นที่ส่วนอื่นๆได้ อ้างอิงมาตรฐานการทดสอบ IEC 60332-3 ซึ่งมีระดับของการทดสอบความต้านทานการลุกลามไฟแบ่งออกเป็นหลาย Category ซึ่งระดับที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปคือ Category C ส่วนระดับที่มีความต้านทานการลุกลามไฟสูงสุดคือ Category A

 

อย่างไรก็ตาม สาย LSHF ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในขณะที่สายถูกไฟไหม้ ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้กับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตที่ต้องทำงานได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งในกรณีนี้ต้องใช้สายทนไฟ (FRC: Fire Resistance Cable) 

ตัวอย่างโครงสร้างสาย LSHF ที่นิยมใช้ จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ มีดังนี้

สายไฟ Lowsmoke

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง สายทนไฟ สายไฟคุณสมบัติพิเศษ จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ คลิกเลย

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Price List-ข้อมูลราคา

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

สายทนไฟ เฟ้ลปส์ ดอด์จ

มาตรฐานการทนไฟ ระดับสูงสุด

สายทนไฟ

Fire Resistance หรือ Circuit Integrity สำหรับสายทนไฟ คือความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่งในขณะที่สายถูกเพลิงไหม้โดยไม่เกิดการลัดวงจร 

ซึ่งสายทนไฟมีความจำเป็นสำหรับใช้กับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตหรือวงจรไฟฟ้าฉุกเฉินที่มีผลต่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ในณะที่สายไฟฟ้าธรรมดาทั่วไปไม่สามารถใช้แทนสายทนไฟได้ เพราะฉนวนไม่สามารถทนต่อเปลวไฟที่อุณหภูมิสูงได้นานเพียงพอและไม่สามารถจ่ายไฟได้เมื่อถูกเพลิงไหม้

การประเมินคุณสมบัติการทนไฟนี้มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยกำหนดให้ใช้วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน BS 6387 หรือ IEC 60331 แต่โดยทั่วไปแล้ว จะนิยมอ้างอิงมาตรฐาน BS 6387 มากกว่า IEC 60331 เนื่องจากประกอบด้วยการทดสอบย่อยที่ใช้ประเมินความสามารถในการทนไฟภายใต้สภาพการทดสอบที่ครอบคลุมมากกว่า

การทดสอบการทนไฟตามมาตรฐาน BS 6387 จะถูกแบ่งเป็น 3 การทดสอบย่อยดังนี้

  1. ทดสอบการทนไฟ (Resistance to Fire Alone) แบ่งตามระดับของอุณหภูมิเปลวไฟและเวลาที่ใช้ทดสอบได้เป็น   

 

       1.1   650°C  เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร 

       1.2   750 °C เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร  B 

       1.3   950 °C เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร  C

       1.4  950°C  เป็นเวลา 20 นาที ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร    S 

   2. ทดสอบการทนไฟและน้ำ (Resistance to Fire with Water) มีระดับของอุณหภูมิเปลวไฟและเวลาที่ใช้ทดสอบแบบเดียวคือ

        2.1  650 °C  เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นพ่นสเปรย์น้ำพร้อมเผาไฟ 650°C ต่อเป็นเวลา 15 นาที ใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร W

ในระหว่างการทดสอบทั้ง 3 การทดสอบย่อย สายไฟฟ้าจะถูกต่อวงจรเข้ากับหลอดไฟและฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของวงจรไฟฟ้า และจ่ายแรงดันไฟฟ้าเท่ากับพิกัดแรงดันของสาย จากนั้นจึงเผาสายไฟฟ้าด้วยเปลวไฟตามอุณหภูมิและเวลาทดสอบที่กำหนด ซึ่งสายไฟฟ้าต้องสามารถรักษาสภาพวงจรไฟฟ้าไว้ได้โดยไม่เกิดการลัดวงจร โดยหลอดไฟที่ต่ออยู่ต้องไม่ดับ และฟิวส์ต้องไม่ขาดหรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ต้องไม่ตัดวงจรตลอดระยะเวลาการทดสอบที่กำหนด

สายไฟฟ้าที่ผ่านการทดสอบตามข้อ 1.1 และ 2.1 และ 3.1 จะเรียกว่า Category AWX

สายไฟฟ้าที่ผ่านการทดสอบตามข้อ 1.3 และ 2.1 และ 3.3 จะเรียกว่า Category CWZ

ซึ่ง สายทนไฟ เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผ่านตามมาตรฐาน BS 6387 Category CWZ ซึ่งเป็นระดับการทนไฟที่สูงที่สุด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง สายทนไฟ สายไฟคุณสมบัติพิเศษ จาก เฟ้ลปส์ ดอด์จ คลิกเลย

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Price List-ข้อมูลราคา

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

รวมคำถามและข้อสงสัยมาตรฐานใหม่สาย NYY และ VCT

สายไฟฟ้า NYY VCT

Q1: สาย NYY และ VCT ตามมาตรฐานใหม่ มอก.11 เล่ม 101-2559 มีขายหรือยัง

A1: ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตสายตามมาตรฐานใหม่ออกมา เนื่องจาก Phelps Dodge และผู้ผลิตรายอื่นๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการยื่นขอรับใบอนุญาตผลิตสาย NYY และ VCT ตามมาตรฐานใหม่จาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) แต่เนื่องจากมีขั้นตอนการดำเนินงานหลายขั้นตอนและมีผู้ประกอบการหลายรายยื่นขอรับใบอนุญาตฯพร้อมๆกัน จึงอาจทำให้ได้รับใบอนุญาตล่าช้าออกไปถึงช่วงไตรมาสที่ 1 หรือ 2 ของปี 2564

Q2: หลังจากประกาศมาตรฐานใหม่มีผลบังคับใช้เมื่อ 25 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา สาย NYY และ VCT ตามมาตรฐานเดิมหยุดการผลิตไปแล้วหรือไม่ และจะใช้สายอะไรระหว่างที่ยังไม่มีสายมาตรฐานใหม่ออกมา

A2: ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตผลิตสายตามมาตรฐานใหม่ Phelps Dodge ได้ยื่นขออนุญาตผลิตสายตามมาตรฐานเดิม มอก.11 เล่ม 101-2553 จาก สมอ. ซึ่งสามารถผลิตสาย NYY และ VCT ตามมาตรฐานเดิมต่อไปได้ ไม่เกินเดือน กันยายน 2564 ดังนั้นจึงยังคงมีสายตามมาตรฐานเดิมจำหน่ายอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตผลิตสายตามมาตรฐานใหม่

Q3: สาย 60227 IEC 10 ที่มีโครงสร้างเหมือนสาย NYY ชนิดหลายแกนจะถูกยกเลิกไปหรือไม่

A3: สายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 10 ซึ่งผลิตตามมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 4-2553 จะยังคงมีอยู่ตามเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง

Q4: สายไฟชนิด VAF และ VAF-G มีการเปลี่ยนแปลงด้วยหรือไม่

A4: สายไฟฟ้าชนิด VAF และ VAF-G ที่อยู่ในมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101-2559 เล่มเดียวกันกับสาย NYY และ VCT จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับตัวสาย แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขมาตรฐานที่อ้างอิงจาก มอก.11 เล่ม 101-2553 เป็น มอก.11 เล่ม 101-2559

Q5: สายไฟฟ้าที่อ้างอิง มอก.11 เล่มอื่นๆมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

A5: สายไฟฟ้าที่อ้างอิงมาตรฐาน มอก.11 เล่มอื่นๆ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยยังคงใช้มาตรฐานอ้างอิงเดิมดังนี้

1. มอก.11 เล่ม 3-2553 ได้แก่ สาย 60227IEC01,60227IEC02,

60227IEC05, 60227IEC06, 60227IEC07 และ 60227IEC08

2.  มอก.11 เล่ม 4-2553 ได้แก่ สาย 60227IEC10

3.  มอก.11 เล่ม 5-2553 ได้แก่ สาย 60227IEC43, 60227IEC52,

60227IEC53, 60227IEC56 และ 60227IEC57

สายไฟ NYY
สายไฟ VCT

อ่านข้อมูลสายไฟฟ้าชนิด NYY และ VCT มีการแก้ไขมาตรฐานใหม่ เป็น มอก.11 เล่ม 101-2559  คลิก

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Price List-ข้อมูลราคา

Extra high – high voltage Power cablesMedium voltage power cables
Fire Resistant and Low Smoke Halogen Free cables 
Building Wire and Bare Conductor
Telecommunication Cables
Low Voltage Power and Control Cables

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

รู้หรือไม่ สายไฟฟ้าชนิด NYY และ VCT มีการแก้ไขมาตรฐานใหม่ 

เป็น มอก.11 เล่ม 101-2559 

มาตรฐาน มอก.11 ส่วนที่มีการแก้ไข 

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับมาตรฐาน มอก.11 กันก่อน มาตรฐาน มอก.11 เป็นมาตรฐานที่อ้างอิงมาจากมาตรฐานสากล IEC 60227 โดยรับเอา IEC 60227 Part 1 ถึง Part 5 มาปรับใช้กับประเทศไทยเป็น มอก.11 เล่ม 1 ถึง เล่ม 5 และเพิ่มเติม มอก.11 เล่ม 101 สำหรับสายไฟฟ้าชนิดที่เป็นที่นิยมใช้งานในประเทศไทย แต่ไม่มีอยู่ใน IEC 60227 เพื่อให้มาตรฐานครอบคลุมสายไฟฟ้าชนิดที่มีการใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย  มาตรฐาน มอก.11 ทั้ง 6 เล่มประกอบด้วย

สรุปมาตรฐานทั้ง 6 เล่ม

สำหรับการแก้ไขมาตรฐานในครั้งนี้ จะเป็นการแก้ไขเฉพาะ มอก.11 เล่ม 101 เท่านั้น โดยเปลี่ยนจากเดิม มอก.11 เล่ม 101-2553 เป็น มอก.11 เล่ม 101-2559 ส่วน มอก.11 เล่มอื่นๆยังคงใช้ฉบับเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ซึ่งมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101 นี้เป็นข้อกำหนดสำหรับสายไฟฟ้าสำหรับงานทั่วไปได้แก่สายไฟฟ้าชนิด VAF, VAF-G, NYY, NYY-G, VCT, และ VCT-G 

มาตรฐานใหม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

มอก.11 เล่ม 101-2559 มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเรื่องเดียวคือ มีการเพิ่มขนาดตัวนำขนาดเล็กของสายไฟฟ้าชนิด NYY, NYY-G, VCT และ VCT-G ให้เริ่มตั้งแต่ขนาด 1 ตร.มม. ขึ้นไป เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานที่กว้างมากขึ้น ส่วนสายไฟฟ้าชนิด VAF และ VAF-G ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด  รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้

มาตรฐานสายไฟฟ้า

ทำไมจึงต้องมีการแก้ไขมาตรฐานใหม่

เนื่องจากมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101 เดิม กำหนดให้สายไฟฟ้าชนิด NYY, NYY-G, VCT และ VCT-G มีขนาดตัวนำที่ต่อเนื่องกันกับขนาดตัวนำของสายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 10 และ 60227 IEC 53 ซึ่งเป็นสายไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเหมือนกันกับสาย NYY และ VCT ตามลำดับ 

แต่เนื่องจากมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย กำหนดให้สายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 10 และ 60227 IEC 53 ไม่สามารถใช้ติดตั้งฝังดินได้เหมือนสาย NYY และ VCT จึงเกิดปัญหากับผู้ใช้งานจำนวนมากที่มีความจำเป็นต้องใช้สายไฟฟ้าหลายแกนที่มีตัวนำขนาดเล็กสำหรับงานติดตั้งแบบเดินร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง 

ดังนั้นจึงมีการแก้ไขมาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101 เพิ่มขนาดตัวนำสายไฟฟ้าชนิด NYY, NYY-G, VCT และ VCT-G ให้ครอบคลุมตัวนำขนาดตั้งแต่ 1 ตร.มม. เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้

ทั้งนี้สามารถคลิกอ่านข้อมูลเพิ่มได้ดังนี้

  1. ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้งานสาย NYY กับ 60227 IEC 10 
  2. ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้งานสาย VCT กับ 60227 IEC 53 

มาตรฐานใหม่เริ่มใช้เมื่อใด

มาตรฐาน มอก.11 เล่ม 101-2559 จะมีผลใช้บังคับวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 นี้ อย่างไรก็ตามอาจมีการอนุญาตให้ผู้ผลิตสายไฟฟ้ายื่นขอผ่อนผันการบังคับใช้ออกไปได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นสายไฟฟ้าตามมาตรฐานใหม่จึงน่าจะเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาดในปี 2564 เป็นต้นไป

เปรียบเทียบสาย NYY & NYY-G

มาตรฐานใหม่ มอก.11 เล่ม 101-2559

600x600

เปรียบเทียบสาย VCT & VCT-G
มาตรฐานใหม่ มอก.11 เล่ม 101-2559

600x600

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Price List-ข้อมูลราคา

Extra high – high voltage Power cablesMedium voltage power cables
Fire Resistant and Low Smoke Halogen Free cables 
Building Wire and Bare Conductor
Telecommunication Cables
Low Voltage Power and Control Cables

Tel. ‭02 680 5800‬
www.pdcable.com
Line@: @phelpsdodge_th

We use cookies to improve performance. and good experience in using your website You can study the details at Privacy Policy and you can manage your own privacy by clicking Setting

Privacy Preferences

You can set your cookies preferences on our website except the necessity cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessity Cookies
    Always Active

    These cookies are necessary for website to operate. To ensure that you can use and visit the website normally, you cannot turn off these cookies on our website.

  • Functionality Cookies

    Allow Functionality Cookies to remember your setting on the platform e.g. username, language, fonts, and platform.

  • Performance Cookies

    Allow Performance Cookies to analyse the performance of each part of our website for improvement purpose.

  • Advertising Cookies

    Allow the website to use Advertising Cookies for increasing the product or service presentation be more accurate

Save your setting