Tel : 0-2680-5800

#อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านที่ต้องต่อลงดิน

1.อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ยึดติดกับที่และต่ออยู่กับสายไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวร ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งซึ่งปกติไม่มีไฟฟ้า แต่อาจมีไฟฟ้ารั่วถึงได้ต้องต่อลงดิน เช่น เครื่องปรับอากาศที่มีส่วนโลหะสามารถสัมผัสได้ และอยู่ในสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ต้องต่อลงดิน

พื้นฐานการต่อลงดิน
  • อยู่ห่างจากพื้นหรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 2.4 เมตร ในแนวตั้ง หรือ 1.5 เมตร ในแนวนอน ซึ่งเป็นระยะห่างที่บุคคลเอื้อมถึงและอาจสัมผัสได้ ยกเว้นมีวิธีการติดตั้ง หรือการป้องกันอย่างอื่นที่ป้องกันบุคคลสัมผัสโดยไม่ตั้งใจได้ ก็ไม่ต้องต่อลงดิน
  • สัมผัสทางไฟฟ้ากับโลหะอื่นที่บุคคลอาจสัมผัสได้เช่น โครงสร้างโลหะของอาคาร อยู่ในสถานที่เปียก หรือชื้น และไม่ได้มีการแยกให้อยู่ต่างหาก
  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปลั๊กเต้าเสียบในบ้านพักอาศัย ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งปกติไม่มีไฟฟ้าไหลผ่านแต่จำเป็นต้องต่อลงดิน เช่น ตู้เย็น ,เครื่องซักผ้า ,กระติกน้ำร้อน เป็นต้น ยกเว้นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นชนิดฉนวน 2 ชั้น (Double Insulation) ซึ่งสังเกตได้จากสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน ที่ไม่จำเป็นต้องต่อลงดิน  ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดมีการเดินสายดินมาให้พร้อมเต้าเสียบแบบ 3 ขา ซึ่งสามารถใช้กับเต้ารับ 3 รูที่มีการเดินสายดินไว้ได้เลย แต่ก็มีเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกหลายชนิดที่ต้องติดตั้งสายดินแยกออกมาต่างหาก ซึ่งผู้ใช้อาจต้องซื้อสายไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อใช้สำหรับเป็นสายดิน

#ตัวอย่างการต่อลงดินที่ไม่ถูกต้อง

  1. การปักหลักดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้าโดยไม่เดินสายดินกลับมาที่แผงเมนสวิตช์ การต่อลงดินลักษณะนี้มักเป็นที่เข้าใจผิดว่าเป็นวิธีการต่อลงดินที่สามารถทำได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแม้ว่าจะสามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดได้ แต่อาจทำให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินไม่ทำงานหรือทำงานช้า เพราะในกรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดลัดวงจรมีไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลลงหลักดินที่ปักไว้ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าและไหลผ่านทางดินกลับไปต้นทาง แต่ความต้านทานของดินจะมีความต้านทานสูงกว่าการใช้สายไฟฟ้าเป็นสายดินมาก กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านได้น้อย เครื่องป้องกันกระแสเกินจึงอาจไม่ทำงานปลดวงจร หรืออาจใช้เวลานานมากกว่าจะปลดวงจร
  2. การใช้สายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อฝากกับตะปูที่ตอกอยู่กับผนัง หรือต่อกับโครงสร้างโลหะของอาคาร ให้ผลเช่นเดียวกับข้อ 1 แต่ความต้านทานของการต่อลงดินอาจยิ่งสูงกว่าการต่อกับหลักดินที่อุปกรณ์โดยตรง ซึ่งจะยิ่งทำให้การทำงานของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินไม่สมบูรณ์มากขึ้นกว่าการต่อแบบในข้อ 1.
  3. การใช้ท่อโลหะหรือส่วนของรางเคเบิลแทนสายดิน โดยทั่วไปแล้วท่อโลหะหรือรางเคเบิลมักทำจากเหล็ก ซึ่งเป็นโลหะที่มีค่าความต้านทานสูงกว่าทองแดงที่เป็นตัวนำไฟฟ้าของสายดิน จึงอาจทำให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินทำงานไม่สมบูรณ์เช่นกัน ดังนั้นมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าจึงไม่อนุญาตให้ใช้ท่อโลหะหรือรางเคเบิลแทนสายดิน
  4. การเลือกใช้สายดินขนาดเล็กเกินไป สายดินขนาดเล็กเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดอาจมีความต้านทานสูงเกินไปทำให้ไม่สามารถนำกระแสไฟรั่วปริมาณมากได้เต็มที่ อาจทำให้ยังคงมีอันตรายจากไฟรั่วอยู่

We use cookies to improve performance. and good experience in using your website You can study the details at Privacy Policy and you can manage your own privacy by clicking Setting

Privacy Preferences

You can set your cookies preferences on our website except the necessity cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessity Cookies
    Always Active

    These cookies are necessary for website to operate. To ensure that you can use and visit the website normally, you cannot turn off these cookies on our website.

  • Functionality Cookies

    Allow Functionality Cookies to remember your setting on the platform e.g. username, language, fonts, and platform.

  • Performance Cookies

    Allow Performance Cookies to analyse the performance of each part of our website for improvement purpose.

  • Advertising Cookies

    Allow the website to use Advertising Cookies for increasing the product or service presentation be more accurate

Save your setting